พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องโดยการให้สัตยาบัน และอำนาจศาลแก้ไขค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยโดยได้แนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและระบุข้อความในสัญญาแต่ละข้อแสดงความรับผิดของจำเลยกรณีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างหายไปโดยการโจรกรรม อันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลย แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกสัญญาเอกสารหมาย จ.4ข้อ 11,13 ขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้แจ้งเหตุให้จำเลยผู้รับจ้างทราบในทันทีและแจ้งจำนวนค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนองต้องแจ้งให้จำเลยทราบ หรือจำเลยยินยอม เพื่อใช้บังคับได้
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาจำนองได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงเรื่องการบอกกล่าวการโอนการรับจำนองหรือจำเลยได้ยินยอมด้วยแล้ว เมื่อจำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานว่าจำเลยไม่รู้เรื่องการโอนดังกล่าว การโอนการรับจำนองนี้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง: จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบหรือได้รับความยินยอมจึงจะมีผลผูกพัน
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาจำนองได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงเรื่องการบอกกล่าวการโอนการรับจำนองหรือจำเลยได้ยินยอมด้วยแล้ว เมื่อจำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานว่าจำเลยไม่รู้เรื่องการโอนดังกล่าว การโอนการรับจำนองนี้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการหักชำระหนี้จากสัญญาจ้างเหมา
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ ๑๔ กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว..." ต่อมาจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมมีหนังสือตอบไปยังผู้ร้องว่า "จำเลยร่วมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ผู้ร้องแจ้งมา แต่ผู้ร้องจะได้เงินค่าจ้างเพียงเท่าที่จำเลยจะพึงได้รับจากจำเลยร่วมตามสัญญาจ้างดังกล่าวเท่านั้น" ย่อมเท่ากับว่าจำเลยร่วมได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตามสัญญาจ้างดังกล่าว รวมทั้งตามสัญญาข้อ ๑๔ ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๐๘แล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามสัญญาจ้าง จำเลยร่วมย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามสัญญาจ้างที่ตนมีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ เมื่อจำเลยค้างจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อมใช้สิทธิตามสัญญาจ้างข้อ ๑๔ หักเงินจำนวนดังกล่าวจากค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิหักไว้นี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้าง ผู้รับโอนสิทธิได้รับสิทธิเท่าผู้โอน
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง... ผู้รับจ้างยอม ให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้ แก่ ผู้รับจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง ของ ผู้รับจ้าง ได้ และให้ ถือ ว่า เงิน จำนวน ที่ จ่าย ไป นี้ เป็น เงิน ค่าจ้าง ที่ผู้รับจ้าง ได้รับ ไป จาก ผู้ว่าจ้าง แล้ว..." ต่อมา จำเลย โอนสิทธิเรียกร้อง ใน การ รับเงิน ค่าจ้าง ตาม สัญญา ดังกล่าว ให้แก่ ผู้ร้อง ผู้ร้อง มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอน ไป ยัง จำเลยร่วมจำเลยร่วม มี หนังสือ ตอบ ไป ยัง ผู้ร้อง ว่า "จำเลยร่วมพิจารณา แล้ว ไม่ขัดข้อง ใน การ โอน สิทธิเรียกร้อง ตาม ที่ผู้ร้อง แจ้ง มา แต่ ผู้ร้อง จะ ได้ เงิน ค่าจ้าง เพียง เท่าที่จำเลย จะ พึง ได้รับ จาก จำเลยร่วม ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวเท่านั้น" ย่อม เท่ากับ ว่า จำเลยร่วม ได้ โต้แย้ง แสดง การสงวนสิทธิ ของ จำเลยร่วม ที่ มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวรวม ทั้ง ตาม สัญญา ข้อ 14 ไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 แล้วสิทธิ ของ ผู้ร้อง ที่ จะ ได้รับ เงิน ดังกล่าว จึง ไม่อาจ เกิน ไปกว่า สิทธิ ที่ จำเลย มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง จำเลยร่วม ย่อม สามารถยก ข้อต่อสู้ ตาม สัญญาจ้าง ที่ ตน มี ต่อ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้โอนขึ้น ต่อสู้ กับ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้รับโอน ได้ เมื่อ จำเลยค้างจ่าย เงิน ค่าจ้าง แก่ โจทก์ ผู้ เป็น ลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อม ใช้สิทธิ ตาม สัญญาจ้าง ข้อ 14 หักเงิน จำนวน ดังกล่าว จากค่าจ้าง ที่ จำเลยร่วม จะ ต้อง จ่าย ให้ แก่ ผู้ร้อง เพื่อ นำ ไปจ่าย ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ได้ ผู้ร้องไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา เงิน ที่ จำเลยร่วม ได้ ใช้สิทธิ หักไว้ นี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ตามสัญญา
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว..." ต่อมาจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมมีหนังสือตอบไปยังผู้ร้องว่า "จำเลยร่วมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ผู้ร้องแจ้งมา แต่ผู้ร้องจะได้เงินค่าจ้างเพียงเท่าที่จำเลยจะพึงได้รับจากจำเลยร่วมตามสัญญาจ้างดังกล่าวเท่านั้น" ย่อมเท่ากับว่าจำเลยร่วมได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตามสัญญาจ้างดังกล่าว รวมทั้งตามสัญญาข้อ 14 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 308แล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามสัญญาจ้าง จำเลยร่วมย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามสัญญาจ้างที่ตนมีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ เมื่อจำเลยค้างจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อมใช้สิทธิตามสัญญาจ้างข้อ 14 หักเงินจำนวนดังกล่าวจากค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิหักไว้นี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ แม้ใช้ถ้อยคำต่างจากที่กฎหมายบัญญัติ และผลของการบอกเลิกการโอนสิทธิโดยผู้โอน
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า 'โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง'โดยมิได้ใช้คำว่า 'โอนสิทธิเรียกร้อง' ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: แม้ใช้คำไม่ตรงตามกฎหมาย แต่หากใจความชัดเจนถือเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องสมบูรณ์
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า "โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง"โดยมิได้ใช้คำว่า "โอนสิทธิเรียกร้อง" ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไปการที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือโอนสิทธิลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์.