คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่มีสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14777/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดทายาทโดยธรรม แม้ผู้คัดค้านเป็นบุตรที่ผู้ตายรับรอง ก็ไม่มีสิทธิในมรดก
พินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้แก่บุตรทั้งสาม คือ เด็กหญิง บ. เด็กชาย ฉ. และเด็กหญิง ก. ดังนั้นแม้จะฟังว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายที่ผู้ตายรับรองแล้วอันถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ซึ่งมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ถูกตัดมิให้รับมรดก ตามมาตรา 1608 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713 และ 1727 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10195/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว แม้จะมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม แต่ต้องยื่นคำขอต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 หนี้ค่าปรับที่ผู้ร้องนำมาขอรับชำระหนี้ศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 3 นายประกันตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 และวันที่ 14 มีนาคม 2549 ภายหลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคสอง กำหนดให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกันนานพอสมควรแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับโอนอำนาจการบังคับคดีแก่นายประกันย่อมสามารถดำเนินการวางระบบงานเพื่อตรวจสอบว่านายประกันสำนวนคดีใดบ้างผิดสัญญาประกันและเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ของตน และเพื่อทราบว่าลูกหนี้ใดศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
การที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแขวงนครราชสีมามีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการบังคับคดีแก่นายประกันไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และเพื่อมิให้หน่วยงานของรัฐต้องสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ กรณียังไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือกฎหมายให้อำนาจที่จะขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน แม้จะรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกพิพาทมาเป็นของตนแต่ผู้เดียว แล้วต่อมาจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2 โดยโจทก์และทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ถือเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตามมาตรา 1720 และมาตรา 823 จำเลยที่ 2 ผู้รับการยกให้ไม่อาจได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ แม้จำเลยที่ 3 ผู้ซื้อทรัพย์มรดกพิพาทจากจำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ไม่มีสิทธิ ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งมีทายาทด้วยกันรวม 6 คน การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมการขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคนตามมาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่ 1 ใน 6 ส่วน จึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการให้และนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13129/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดก: ทายาทถึงแก่ความตายพร้อมกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก
ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 และมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1639 เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายต้องมีกฎหมายเฉพาะรองรับ การซื้อขายโดยไม่มีกฎหมายรองรับไม่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายสิทธิเรียกร้องอันจะมีผลให้ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับชำระหนี้หรือเข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้เดิมบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้นั้น จะต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้กระทำได้ เช่น พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 หรือการขายทรัพย์สินที่เป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ผู้ร้องซื้อสิทธิเรียกร้องจากกองทุนรวม ก. เจ้าหนี้ในสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ในคดีล้มละลายตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กระทำ ผู้ร้องจึงไม่ได้รับมาซึ่งสิทธิในการได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะงานแปลไม่มีลิขสิทธิ์ตั้งแต่แรก เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมไม่ได้อนุญาต
โจทก์ร่วมที่ 2 เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านยอมรับว่า ได้นำข้อความในเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือเรื่อง "อโรคยา" และเรื่อง "ล้างพิษ" ทั้งได้นำความรู้จากหนังสือเรื่อง "น้ำมันปลา น้ำมันลดไขมัน" ของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้ง 3 เล่ม มาลงในหนังสือเรื่อง "เบื่อหมอ เบื่อยา หันหาธรรมชาติบำบัด วิถีสุขภาพแนวใหม่" เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนทราบด้วย ในฐานะที่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงนำมาลงในหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงนำมาลงในหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 2 หนังสือทั้ง 4 เล่มของโจทก์ร่วมทั้งสองดังกล่าวมีเนื้อหาที่ได้แปลมาจากวรรณกรรมภาษาต่างประเทศของเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับควมคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 42 ประกอบ พ.ร.ฎ.เงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 5 ผู้แปลและโจทก์ร่วมทั้งสองผู้รับโอนงานแปลต่างไม่ได้ขออนุญาตในการแปลจากเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเลย จึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่อย่างใด การที่โจทก์อ้างว่าขณะแปลยังไม่มี พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ เพราะหนังสือทั้ง 4 เล่มดังกล่าวได้ตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนปี 2537 ทุกเล่มแล้ว ต่อมาหลัง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับ โจทก์ร่วมทั้งสองได้ติดต่อสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเพื่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ จึงยังไม่ได้รับอนุญาตหรือจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่สำนักพิมพ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ เท่ากับแสดงว่าโจทก์ร่วมทั้งสองทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้แปลหนังสือต่างประเทศที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นภาษาไทยยังไม่ได้รับอนุญาตหรือจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้เจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ โจทก์ร่วมทั้งสองผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิในงานแปลดังกล่าวดีกว่าผู้โอนและไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือทั้ง 4 เล่ม ดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่จำเลยไม่มีสิทธิ ทำให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา เป็นโมฆะและต้องคืนเงิน
จำเลยหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิมาหลอกขายให้โจทก์ ทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองสามารถโอนสิทธิและนำไปออกเอกสารสิทธิได้ เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 และต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยไม่มีสิทธิ ผู้รับซื้อไม่มีสิทธิ แม้จะรับซื้อสุจริตและจดทะเบียน
จำเลยที่ 1 มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองในที่ดินแทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินให้แก่ทายาททุกคนเท่านั้น ไม่มีสิทธินำที่ดินส่วนที่ตกได้แก่ทายาทคนใดไปขาย โดยทายาทผู้นั้นไม่ยินยอม ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจที่จะนำที่ดินส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ไปขายให้แก่ผู้ใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อที่ดินดังกล่าวไว้สุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินในส่วนของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเอาที่ดินส่วนของโจทก์คืนนั้น จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความเรียกคืน กรณีจึงไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพระการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียหายเท่านั้น จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจดังกล่าวมาแล้ว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ในการเพิกถอนการฉ้อฉลมาใช้บังคับไม่ได้และเมื่อคดีนี้ไม่ใช่เรื่องการขอเพิกถอนการฉ้อฉลแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 รับซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถยนต์ยินยอมให้บุตรใช้รถกระทำผิด ย่อมไม่มีสิทธิขอคืนรถ แม้ศาลริบ
คดีอาญา ผู้ร้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตป่าไม้ถาวร: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากไม่มีสิทธิครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรจึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกัน ย่อมยกการยึดถือครอบครองก่อนขึ้นยันผู้อื่นที่เข้ามารบกวนได้ในขณะเวลาที่ตนยังยึดถือครอบครองอยู่เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่นโดยรัฐไม่ยินยอมและมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองให้แก่จำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพาทอีกต่อไป จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทได้
of 9