พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9052/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนทรัพย์เช่าซื้อ: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อและการบอกเลิกสัญญา
ที่ผู้ร้องฎีกาว่าการที่ผู้ร้องติดตามรถจักรยานยนต์คืนเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายนั้นผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195ประกอบด้วยมาตรา225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่าหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่เช่าซื้อผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังคงค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นหากปรากฏว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายหรือบุบสลายผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้นถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่างวดใดงวดหนึ่งผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อต่อไปผู้ร้องเพิ่งได้มอบอำนาจให้จ. ติดตามยึดรถจักรยานยนต์คืนหลังจากรถจักรยานยนต์ถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้แล้วถึง4เดือนเศษและหลังจากผู้เช่าซื้อขาดส่งค่าเช่าซื้อเป็นเวลา8เดือนเศษโดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนนอกจากนี้หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระครบถ้วนผู้ร้องก็ยินยอมให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวต่อไปจึงแสดงว่าผู้ร้องไม่มีความประสงค์จะยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อแต่ประการใดพฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าผู้ร้องร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8513/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าตราอูฐโดยไม่สุจริต ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าเดิม ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปอูฐประดิษฐ์ตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและเป็นรูปอูฐตัวเดียวกับอักษรโรมันคำว่าCAMELBRANDส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปอูฐ2ตัวกับมีอักษรโรมันคำว่าOASISสิ่งที่มองเห็นได้เด่นชัดคือรูปอูฐรูปลักษณะของอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ในท่ายืนและหันหน้าไปทางซ้ายเช่นเดียวกันกับรูปอูฐของโจทก์อักษรโรมันคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDของโจทก์กับคำว่าOASISของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยสาธารณชนซึ่งส่วนมากไม่สันทัดในภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมันย่อมยากที่จะจำแนกถึงความแตกต่างของตัวอักษรคำว่าCAMELPAINTและCAMELBRANDกับคำว่าOASISนอกจากจะยึดถือเอาเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐเป็นสำคัญส่วนรูปชาวอาหรับจูงอูฐและภาพภูเขากับต้นไม้2ต้นหลังตัวอูฐในเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของตัวอูฐสาธารณชนเรียกสินค้าของโจทก์และจำเลยว่าสินค้าตราอูฐเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการ ลวงสาธารณชนให้สับสนในความเป็นเจ้าของของสินค้าการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้ารูปตราอูฐของโจทก์ไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในการจำหน่ายสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ทั้งๆที่จำเลยก็เคยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราอูฐมาก่อนย่อมชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยมุ่งหมายที่จะลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนตราอูฐของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐ2ตัวกับคำว่าOASISของจำเลยดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนทะเบียน และห้ามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ปัญหาในเรื่องการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ว่าจำเลยนำเอาชื่อของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อของจำเลยหรือไม่ ก่อนจำเลยจะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สีตราอูฐ(แอล.ที.ซี.) จำกัดจำเลยทราบดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนรูปอูฐและคำว่าCAMELPAINTซึ่งแปลว่า สีตราอูฐ ใช้กับสินค้าจำพวกสีและผลิตสีชนิดต่างๆออกจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวมาหลายปีจนสาธารณชนเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่า สีตราอูฐ การที่จำเลยนำคำว่าCAMELPAINTซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และคำว่าสีตราอูฐ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่าCAMELPAINTมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยกับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปอูฐ2ตัวเพื่อใช้กับสินค้าสีซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะลวงสาธารณชนผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าสีตราอูฐของจำเลยเป็นสินค้าตราอูฐที่โจทก์ผลิตการใช้ชื่อดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมมีสิทธิขัดขวางจำเลยมิให้นำส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อและดวงตราของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท กรณีจำเลยรับโอนโดยไม่สุจริต และเป็นการเสียเปรียบต่อผู้มีสิทธิก่อน
โจทก์ที่2มีชื่อในโฉนดที่ดินผู้เดียวแต่เป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่1ซึ่งโจทก์ที่1ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ที่1ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ที่1ได้อยู่ก่อนแล้วแม้จำเลยได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์ที่1ย่อมเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้นได้ คำฟ้องระบุเลขที่ของโฉนดผิดพลาดไปไม่ตรงกับเลขที่โฉนดในภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นโฉนดเลขที่39533จำเลยมิได้หลงต่อสู้ทั้งยังแนบภาพถ่ายโฉนดเลขที่39533มาท้ายคำให้การการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ระบุเลขที่โฉนดที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนเป็นโฉนดเลขที่35933ทั้งที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ในส่วนอื่นๆก็ระบุเป็นที่ดินโฉนดเลขที่39533ดังนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตทำให้เสียสิทธิ และการฟ้องเพื่อเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกัน การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้ากระดาษทรายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของสินค้าด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ.2499 ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย
แม้จำเลยจะครอบครองเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วเป็นเวลานานประมาณ 28 ปีแล้ว ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนกับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยไม่สุจริตแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 187955 ดีกว่าจำเลยและห้ามจำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 41940ทะเบียนเลขที่ 25117 นั้น เป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมาย-การค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง
แม้จำเลยจะครอบครองเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วเป็นเวลานานประมาณ 28 ปีแล้ว ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนกับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยไม่สุจริตแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 187955 ดีกว่าจำเลยและห้ามจำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 41940ทะเบียนเลขที่ 25117 นั้น เป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมาย-การค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกันการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้ากระดาษทรายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของสินค้าด้วยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศมาตั้งแต่พ.ศ.2499ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะครอบครองเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วเป็นเวลานานประมาณ28ปีแล้วก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและจำเลยได้จดทะเบียนกับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยไม่สุจริตแล้วจำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่187955ดีกว่าจำเลยและห้ามจำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่41940ทะเบียนเลขที่25117นั้นเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา16วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 19629 ,19630, 19631 แขวงลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) เขตบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จำเลยทั้งสองและบริวารอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ยอมออก โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างและใช้ค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดถึงการได้มาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความเสียหายที่ไม่อาจหาประโยชน์เดือนละ30,000 บาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วเป็นฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่า ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส.ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้ว จึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท
ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้น เมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 19629 19630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใด จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่า ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส.ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้ว จึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท
ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้น เมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 19629 19630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใด จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6290/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่มีการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ผู้ร้องขอจัดการมรดกโดยไม่สุจริต
พินัยกรรมมีข้อความว่าผู้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมและที่จะมีขึ้นภายหน้าให้เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิแก่ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวและผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยานทั้งหมด3คนแม้ลายมือชื่อของพยานดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยก็ตามพยานผู้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมด้วยและย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสน และการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "THE BEACH BOYS"ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ แต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า "BEACH BOYS" เป็นรูปสามเหลี่ยม3 รูป วางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอก มีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่น ด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า "BEACH" อยู่ในแถบโค้งสีทึบ และด้านล่างมีคำว่า "BOYS" อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตา ส่วนรูปดอกไม้ คน และกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไร ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า "BEACH BOYS" แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า "THE" แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำบีช บอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน และเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 38เช่นเดียวกับของโจทก์ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีช บอยส์ เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "BEACH BOYS" กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "THE BEACH BOYS" ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยไม่สุจริตของกรรมการบริษัทที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและเพิกถอนสัญญาเช่าได้
จำเลยที่ 1 ขณะเป็นกรรมการของบริษัท ส. ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานที่พิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. โดยมีข้อตกลงว่าระหว่างอายุสัญญาจำนอง จำเลยที่ 1จะไม่นำทรัพย์จำนองไปทำให้เสื่อมสิทธิใด ๆ รวมทั้งให้บุคคลอื่นเช่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังให้บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการอยู่ด้วยเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยทำสัญญาเช่ากันเพียงอาคารโรงงานเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน แต่ความจริงเป็นการเช่าทั้งที่ดินและอาคารโรงงานที่พิพาทการทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาท จึงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจำนองและเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยจดทะเบียนการเช่าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอไว้มีกำหนด 20 ปี ย่อมทำให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์จำนองอันไม่อาจนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ และทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าดังกล่าวทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โดยขณะที่ทำนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้นได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สุจริต
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 419 ว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน 1 ปี แล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น หรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน 1 ปี แต่ก็พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกัน โจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3 ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรก การกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญา-ซื้อขาย คือวันที่ 15 มกราคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535จึงพ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว