พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันและการใช้สิทธิไล่เบี้ย เมื่อโจทก์ละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 695 ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะอ้างขึ้นเถียงผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ไม่ให้ไล่เบี้ยลูกหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าฤชาธรรมเนียม: ค่าฤชาธรรมเนียมไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากการละเมิด จึงไม่อาจเรียกร้องได้ตามมาตรา 426
ในคดีที่โจทก์ถูกบิดาของผู้ตายฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้าง และโจทก์ผู้ซึ่งเป็นนายจ้างต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมด้วยดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน ให้บิดาของผู้ตายไปแล้ว ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลสั่งให้ใช้แทนนั้น เนื่องจากโจทก์ต่อสู้คดีและเป็นฝ่ายแพ้คดี ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด จึงไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าฤชาธรรมเนียม: ค่าฤชาธรรมเนียมไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากการละเมิด
ในคดีที่โจทก์ถูกบิดาของผู้ตายฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้างและโจทก์ผู้ซึ่งเป็นนายจ้างต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมด้วยดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนให้บิดาของผู้ตายไปแล้วค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลสั่งให้ใช้แทนเนื่องจากโจทก์ต่อสู้คดีและเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด จึงไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเช็คก่อนกำหนดชำระ และสิทธิในการไล่เบี้ยลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายเช็ค
การที่เจ้าหนี้ผู้ทรงเช็ค (โจทก์ ) เป็นแต่เพียงนำเช็คที่จำเลยลูกหนี้เป็นผู้สั่งจ่ายไปเข้าบัญชีของตนที่ธนาคาร ก.ก่อนเช็คถึงกำหนด 1 วัน ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวเรียกเก็บเงินจากธนาคารเจ้าของเช็คเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระตามวิธีการของธนาคารนั่นเอง เมื่อธนาคาร ก.ด่วนเรียกเก็บเงินไปยังธนาคารเจ้าของเช็ค และธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าเงินในบัญชีจำเลยลูกหนี้ไม่พอจ่ายในวันเดียวกันนั้นเองนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติงานในระหว่างธนาคารกับธนาคารจะถือว่าผู้ทรงเช็คใช้สิทธิไล่เบี้ยลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก่อนเช็คถึงกำหนดหาได้ไม่ เมื่อธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้น ทั้งเจ้าหนี้ผู้ทรงเช็คได้ทวงถามให้ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินตามเช็คหลายครั้งแล้ว ลูกหนี้ผู้สั่งจ่ายก็แจ้งว่าไม่มีเงินชำระ ดังนี้ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามเช็ครายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยสำคัญผิด, ฟ้องซ้ำ, อายุความ และสิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คดีก่อนโจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันและได้ใช้หนี้แทนจำเลยไป แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย โดยสำคัญผิดว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระแทน โดยอาศัยหลักลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นการอาศัยเหตุต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เพิ่งจะรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าสัญญาที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยนั้นไม่ผูกพันโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2492)
การชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 นั้น ต้องถือหลักว่ารู้หรือไม่รู้ตามความรู้เห็นของผู้ชำระเป็นประมาณ ไม่ถือเอาผลในกฎหมายว่ามีความผูกพันกันอยู่จริงหรือไม่เป็นเกณฑ์ เพียงแต่ผู้ชำระสำคัญผิดว่าตนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้นั้น แม้ตามกฎหมายผู้ชำระจะไม่ต้องผูกพันก็จะถือว่าผู้ชำระรู้อยู่แล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไปโดยสำคัญผิด โจทก์ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 409
โจทก์เพิ่งจะรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าสัญญาที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยนั้นไม่ผูกพันโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2492)
การชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 นั้น ต้องถือหลักว่ารู้หรือไม่รู้ตามความรู้เห็นของผู้ชำระเป็นประมาณ ไม่ถือเอาผลในกฎหมายว่ามีความผูกพันกันอยู่จริงหรือไม่เป็นเกณฑ์ เพียงแต่ผู้ชำระสำคัญผิดว่าตนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้นั้น แม้ตามกฎหมายผู้ชำระจะไม่ต้องผูกพันก็จะถือว่าผู้ชำระรู้อยู่แล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไปโดยสำคัญผิด โจทก์ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 409
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไล่เบี้ยประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องติดอายุความละเมิด หากถูกเรียกเข้ามาตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) เมื่อเกินกำหนดหนึ่งปีไปแล้วนับแต่วันละเมิด จะยกอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ขึ้นต่อสู้ไม่ได้ เพราะผู้รับประกันต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่ร่วมรับผิดในมูลละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไล่เบี้ยประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องใช้บทบัญญัติอายุความละเมิด
ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) เมื่อเกินกำหนดหนึ่งปีไปแล้วนับแต่วันละเมิด จะยกอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ขึ้นต่อสู้ไม่ได้ เพราะผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่ร่วมรับผิดในมูลละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีเกิดจากอุบัติเหตุทางละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง โดยขับรถยนต์ประมาทชนนายหนูใบถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะนายจ้างของจำเลยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางจวงภรรยานายหนูใบผู้ตายแล้วเป็นเงิน 30,000 บาท โจทก์จึงฟ้องไล่เบี้ยจำเลยให้ชดใช้เงิน โจทก์ได้รับชดใช้คืนบ้างแล้ว โดยได้รับชดใช้เงินคืนจากผู้ค้ำประกันจำเลยในการเข้าทำงานกับโจทก์เป็นเงิน 30,000 บาท กับได้รับชดใช้จากการหักเงินเดือนของจำเลยอีก 287 บาท 94 สตางค์ คงเหลือที่จำเลยจะต้องใช้คืนอีก 26,712 บาท 06 สตางค์ ดังนี้ เห็นได้ชัดว่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้คืนจากผู้ค้ำประกัน น่าจะมีความผิดพลาดในรายละเอียด เพราะนอกจากโจทก์จะได้ยืนยันถึงจำนวนเงินคงเหลือที่โจทก์จะได้รับชดใช้ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยอีกเป็นเงิน 26,712 บาท 06 สตางค์แล้ว ตามคำขอท้ายฟ้องก็ยังระบุให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีก กรณีมิใช่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายครบถ้วนแล้วยังมาฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะได้ทำการชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน: สิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้รับรอง แม้ไม่ได้ไล่เบี้ย
ในกรณีตั๋วแลกเงินมิได้ระบุถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แม้เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ทรงใช้สิทธิเรียกร้องโดยตรงจากจำเลยที่ 1 ผู้จ่ายซึ่งได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว ไม่ใช่เรียกร้องเอาจากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968 โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดชำระและมีการผิดนัดแล้วตามหลักหนี้ทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204,224
เมื่อโจทก์ผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันถึงกำหนดชำระจากบรรดาผู้สลักหลังผู้สั่งจ่าย และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้นได้แล้วก็ย่อมมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยในอัตราร้อยละห้าต่อปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับรองตั๋วแลกเงินซึ่งต้องร่วมกันกับบุคคลดังกล่าวรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงได้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967,968(2)
เมื่อโจทก์ผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันถึงกำหนดชำระจากบรรดาผู้สลักหลังผู้สั่งจ่าย และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้นได้แล้วก็ย่อมมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยในอัตราร้อยละห้าต่อปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับรองตั๋วแลกเงินซึ่งต้องร่วมกันกับบุคคลดังกล่าวรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงได้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967,968(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมที่ดินต้องรับผิดค่าเสียหายจากความผิดของช่างตรี แต่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายจากช่างตรีได้
ช่างตรีเจ้าพนักงานกรมที่ดินโจทก์รายงานไม่ตรงตามความจริงฝ่าฝืนระเบียบ ทำให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งแก้รูปโฉนดที่ดินเจ้าของโฉนดเสียหาย กรมที่ดินต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของโฉนดกรมที่ดินไล่เบี้ยเอาแก่ช่างตรีผู้เป็นต้นเหตุแห่งความเสียหายได้ อายุความการไล่เบี้ยมี 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ใช่ช่างตรีทำละเมิดต่อกรมที่ดิน