คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
10 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจ่าย: ตัวการตัวแทนใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ลูกค้าผู้สั่งซื้อหุ้น กับจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ เป็นลักษณะของตัวการตัวแทน การที่จำเลยเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปแทนโจทก์ในกิจการที่โจทก์มอบหมายให้ปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี อันเป็นลักษณะทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 164หาใช่อายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(1) หรือ (7) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อกรณีรถหาย: ใช้ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ5กำหนดว่าในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่366/2521) ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามป.พ.พ.มาตรา164มิใช่อายุความ2ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ: ฟ้องเรียกราคาทรัพย์สิน ไม่ใช่ค่าเช่าค้างชำระ ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ5กำหนดว่าในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สิ้นที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่366/2521) ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164มิใช่อายุความ2ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อผู้คัดค้านยอมรับการครอบครองครบ 10 ปี และกรรมสิทธิ์ที่ได้มาไม่เป็นบุคคลภายนอก
เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่พิพาทมาโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของครบ 10 ปีแล้ว จึงต้องฟังว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ผู้ร้องไม่จำต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้อีก
ผู้คัดค้านได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทมาโดยการรับมรดก จึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมยกกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนขึ้นต่อสู้ผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดี: การดำเนินการตามขั้นตอนครบถ้วนภายใน 10 ปี มิได้เพียงแค่การร้องขอ
การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในกำหนด10ปีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้วจากนั้นเจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำแถลงการที่ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอย่างเดียวเท่านั้นโดยมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอีกจนพ้นกำหนดเวลา10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพราะขาดอายุการบังคับคดีและผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของจำเลยเพราะการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายใน 10 ปี: การยึดทรัพย์เกินกำหนดเวลา และประเด็นการชำระหนี้ที่ศาลสั่งงดสืบพยาน
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอน ขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว และจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามขั้นตอนดังกล่าวส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปยึดทรัพย์เมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 4 เกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว สำหรับประเด็นที่ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่นั้น ในวันนัดพร้อมตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 16มิถุนายน 2526 โจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 4 แถลงร่วมกัน ว่า "กรณีนี้ฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์กรณีพิพาทเมื่อวันที่17 มกราคม 2526 แต่เจ้าพนักงานได้ทำการยึดทรัพย์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 และคู่กรณีขอให้ศาลวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าว" ศาลมีคำสั่งว่า "ศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้นัดฟังคำสั่งกรณีนี้ ในวันที่ 27 มิถุนายน 2526 เวลา 10 นาฬิกา" แม้คำแถลงของจำเลย ที่ 2 และที่ 4 จะยังไม่ชัดแจ้งว่า จำเลยที่2 และที่ 4 ได้สละประเด็นดังกล่าว แต่คำสั่งศาลที่ว่าคดีพอวินิจฉัยได้ และนัดฟังคำสั่งเป็นการสั่งงดสืบพยาน อันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 จำเลยที่ 2และที่ 4 มีโอกาสโต้แย้งคำสั่งแต่ไม่ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฎีกา เพราะถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีการแย่งการครอบครอง อายุความ 10 ปีตาม ปพพ. มาตรา 168
การฟ้องคดีของโจทก์โดยอาศัยสิทธิอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 แม้จำเลยจะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์ไปเกินกว่า 1 ปี แต่นับถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: อายุความ 10 ปี เริ่มนับจากวันทำสัญญา ไม่ใช่ตามมูลหนี้เดิม
การที่จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ป. เนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย เป็นการตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้เรียกร้องนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของ ป.ในมูลหนี้ละเมิดจึงระงับสิ้นไป และได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานโดยการประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168 มิใช่ถืออายุความตามมูลหนี้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: อายุความ 10 ปี เริ่มนับจากวันทำสัญญา ไม่ใช่ตามมูลหนี้เดิม
การที่จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ป. เนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย เป็นการตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้เรียกร้องนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของ ป.ในมูลหนี้ละเมิดจึงระงับสิ้นไป และได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
สิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานโดยการประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา168 มิใช่ถืออายุความตามมูลหนี้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน: 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 แม้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความโดยเฉพาะ
การฟ้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
of 17