คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเลยใช้สิทธิไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก และผลกระทบต่อการฟ้องขอไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนด
โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยมีกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี และมีข้อตกลงกันโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ต่อสัญญาขายฝากใหม่และจะเพิ่มเงินให้ด้วย แต่ที่ยังไม่ไปทำสัญญากันใหม่เพราะจำเลยป่วย เช่นนี้ โจทก์จะมาฟ้องขอไถ่เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีโดยถือว่าจำเลย โดยถือว่าจำเลยผิดสัญญาหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนดเนื่องจากวันหยุดราชการ ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้
วันสุดท้ายที่มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเป็นวันหยุดราชการซึ่งหยุดติดต่อกัน 3 วัน เมื่อครบกำหนดวันหยุดผู้ร้องก็ยื่นบัญชีระบุพยานทันทีแล้วนำพยานมาให้สืบในวันนัดด้วยนั้นเห็นได้ว่าผู้ร้องไม่จงใจฝ่าฝืนฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ควรรับบัญชีระบุพยานนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดจะถือเป็นของไม่มีเจ้าของและตกเป็นของแผ่นดิน
การขอคืนทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องแปลว่าเมื่อเจ้าของไม่มาติดตามและร้องขอคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิเพราะกฎหมายให้ถือว่าพ้นกำหนดแล้วเท่ากับเป็นของไม่มีเจ้าของ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไป
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดอุทธรณ์คดีแพ่งปนคดีอาญา: ใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ.
ฟ้องคดีอาญาปนคดีแพ่ง ศาลยกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่ให้โจทก์ชนะในส่วนแพ่ง ดังนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์ คดีส่วนแพ่งได้ในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่กำหนด 15 วัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฎีกาของกรรมการบริษัทหลังเลิกบริษัท: ผู้ชำระบัญชีเท่านั้นที่มีอำนาจ และต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลา
เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งผู้อื่นเป็นผู้ขำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทย่อมหมดไป กรรมการของบริษัท 2 นายซึ่งมิใช่ผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจลงชื่อในฟ้องฎีกาแทนบริษัทจำเลยที่ได้เลิกไปก่อนวันยื่นฎีกานั้นได้และผู้ชำระบัญชีจะให้สัตยาบันแก่ฎีกานั้นภายหลังที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วไม่ได้ ตามนัยแห่งฎีกาที่ 425/2503
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26-27/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ผิดพลาด: ศาลมีอำนาจกำหนดเวลาให้แก้ไขได้ ไม่ถือเป็นการยืดเวลา
ปัญหาว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ผิดพลาดมายื่นใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาซึ่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นจะเห็นสมควร นั้น เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นตำหนิฟ้องอุทธรณ์ขอจำเลยเพราะพิมพ์ตัวเลข ตอนย่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นไขว้เขวไป หาใช่ตัวบรรยายอุทธรณ์แท้ไม่ ศาลชั้นต้นสั่งให้ทำมาใหม่ซึ่งต้องเข้าใจว่า ศาลสั่งโดยอาศัยอำนาจ ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 15 ป.วิ.อ. ซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดระยะเวลา ถ้าศาลไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ก็พึงเข้าใจว่า ภายในระยะเวลาอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยแก้ฟ้องอุทธรณ์หรือยื่นฟ้องอุทธรณ์ใหม่ให้ถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นตำหนิ หาใช่เป็นยืดเวลา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่ หากแต่เป็นเรื่องจะให้ยื่นอุทธรณ์ใหม่ตามที่สั่งไว้เดิมแล้ว หรือไม่เท่านั้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดและการไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตามทางไต่สวนฟังได้ว่า จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ จนกระทั่งสืบพยานโจทก์ไป 2 ปากแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องให้ศาลทราบเมื่อศาลสอบถาม ฝ่ายจำเลยกลับยืนยันว่าได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง เมื่อไม่มีเหตุพิเศษ ก็ไม่สมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยอ้างพยานหลักฐานมาสืบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดและข้อจำกัดในการรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ตามทางไต่สวนฟังได้ว่า จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้จนกระทั่งสืบพยานโจทก์ไป 2 ปากแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องให้ศาลทราบ เมื่อศาลสอบถาม ฝ่ายจำเลยกลับยืนยันว่าได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง เมื่อไม่มีเหตุพิเศษ ก็ไม่สมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยอ้างพยานหลักฐานมาสืบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฎีกา: นับจากวันที่ยื่นฎีกา ไม่ใช่สั่งรับฎีกา
ยื่นฎีกาและคำร้องขอให้รับรองฎีกาใน 1 เดือน แต่ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอนุญาตเมื่อเกิน 1 เดือนไม่ถือเป็นการเกินกำหนดเวลาฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่บริษัทที่ผิดระเบียบ และการถอนผู้ชำระบัญชีต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่ง เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตามป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 142(5),246,247
of 99