พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18660-18677/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาให้จ่ายค่าล่วงเวลาโดยคำนวณจากค่าครองชีพด้วย
เงินประเภทใดจะเป็นค่าจ้างหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ผู้ใดจะวางระเบียบหรือตกลงให้ผิดไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เมื่อตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างปรากฏว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างมีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดมาทำนองเดียวกับเงินเดือน ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพเกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะหรือจ่ายเพื่อช่วยเหลืออื่นใด ค่าครองชีพดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 ซึ่งต้องนำไปคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลา แม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ให้นำค่าครองชีพไปรวมคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาก็เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อมาตรา 61 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาโดยคำนวณจากค่าจ้าง ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18591-18632/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างงานขนส่ง แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา ก็ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามชั่วโมง
เมื่อปรากฏว่างานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำเป็นงานขนส่งทางบกและจำเลยไม่ได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสอง แม้โจทก์ทั้งสี่สิบสองจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาก็ตามแต่ก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (9) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 6 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหากโจทก์ทั้งสี่สิบสองได้ทำงานล่วงเวลา หาใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
เมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนเพียงพอที่ศาลฎีกาจะพิพากษาถึงการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้โจทก์แต่ละคนได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนว่าได้ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ ทำงานล่วงเวลาจำนวนกี่ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละเท่าใด กรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีส่วนนี้ใหม่ตามรูปคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม
เมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนเพียงพอที่ศาลฎีกาจะพิพากษาถึงการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้โจทก์แต่ละคนได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนว่าได้ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ ทำงานล่วงเวลาจำนวนกี่ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละเท่าใด กรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีส่วนนี้ใหม่ตามรูปคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17020-17021/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ยังไม่ได้เริ่มงานจริง และการจ่ายค่าจ้าง/สวัสดิการ
หลังจากผู้แทนลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์แล้ว โจทก์ได้ทยอยเรียกให้ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องเข้าทำงานเป็นชุดโดยวิธีโทรศัพท์แจ้งลูกจ้างเป็นรายบุคคล ส่วนลูกจ้างที่ยังไม่ได้เรียกโจทก์ให้รออยู่ที่พัก ไม่ต้องเข้ารายงานตัวหรือลงเวลาที่บริษัท ไม่ได้มอบหมายงานให้ ลูกจ้างมีอิสระที่จะไปไหนได้ แต่ถ้าโจทก์โทรศัพท์แจ้งให้เข้าทำงานลูกจ้างต้องเข้าทำงานตามที่โจทก์กำหนด และโจทก์ยังจ่ายค่าจ้างและให้สวัสดิการตามระเบียบของบริษัท พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์มีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของลูกจ้างในวันทำงานตามปกติ ดังนั้นการที่โจทก์ได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในช่วงที่รอเรียกตัวเข้าทำงานดังกล่าวอันเป็นวันทำงานตามปกติ จึงเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าโจทก์จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างตามมาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15186-15192/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของนายจ้างและผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
สัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวระบุว่า ป. กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานในโครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือที่จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาจากจำเลยที่ 2 แม้สัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวจะไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่กฎหมายมิได้บังคับให้สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อมีการเข้าทำงานก่อสร้างในโครงการดังกล่าวบางส่วนและจำเลยที่ 1 มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าจ้างในส่วนของงานที่ก่อสร้างไปแล้ว หากโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานในส่วนดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เข้ารับเอาผลงานที่โจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงาน พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของ ป. เป็นการทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้ซึ่งตกลงรับโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้อันเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดตามมาตรา 70 และตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วงให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้าง เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงรับจ้างก่อสร้างในโครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรีผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานก่อสร้างดังกล่าวจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซึ่งทำสัญญาจ้างเหมาค่าแรงงานพร้อมแบบหล่อคอนกรีตกับจำเลยที่ 2 โดยรับจะดำเนินงานแต่บางส่วนของงานดังกล่าวอันเป็นงานในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 เพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงตามบทนิยามในมาตรา 5 ดังนั้น หากโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานแล้วจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายด้วยตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง และมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่จ่ายให้โจทก์ทั้งเจ็ดคืนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 12 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15064/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาผู้รับเหมา: 5 ปี หากงานทำเพื่อกิจการลูกหนี้
โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง และงานก่อสร้างทุกชนิด ฟ้องเรียกร้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าจ้างส่วนที่ค้างชำระตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ส่งช่างพ่นสีและช่างพ่นทรายพร้อมอุปกรณ์ไปทำงานให้จำเลยที่ 1 ซึ่งรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าเขื่อนน้ำเทินที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น เป็นค่าแรงงาน ค่าเช่าอุปกรณ์ และค่าทำงานล่วงเวลาของคนงานโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าการงานที่ได้ทำ และงานที่ได้ทำก็เพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 อยู่ด้วย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) หาใช่อายุความ 2 ปีไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 5 ปีนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13522/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและการจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงาน โดยไม่ต้องรอการอุทธรณ์ภายในองค์กร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงในระหว่างพักงานแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง อีกทั้งคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลย คงโต้แย้งกันเฉพาะเนื้อหาของการกระทำความผิดของโจทก์ เนื่องด้วยกรณีของคดีนี้ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามข้อบังคับของจำเลยก่อนจึงจะนำคดีมาสู่ศาลได้ ขั้นตอนอุทธรณ์ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเพียงระเบียบบริหารงานภายในย่อมไม่อาจนำมาใช้เป็นเหตุตัดสิทธิในการนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการกระทำความผิดที่ลงโทษโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการเรียกร้องค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: การใช้สิทธิทางศาลหรือพนักงานตรวจแรงงาน
กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิเรียกร้องให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายได้ 2 ทาง โดยยื่นฟ้องคดีต่อศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่เมื่อเลือกใช้สิทธิทางใดแล้วก็ต้องดำเนินการในทางนั้นจนสิ้นสุดกระบวนการ ไม่สามารถใช้สิทธิ 2 ทาง พร้อมกันได้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้มีคำสั่งภายในระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเช่นเดียวกับที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2548 พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องโดยไม่ได้มีคำสั่ง เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานยังไม่มีคำสั่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในบังคับต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นพนักงานตรวจแรงงานยกเลิกไปทั้งหมด โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกับเรียกร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องศาลแรงงานภาค 6 เปิดทำการแล้วแต่ยังไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานภาค 6 จึงโอนคดีไปยังศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลแรงงานกลางเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 6 มีผู้พิพากษาสมทบพร้อมปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลแรงงานภาค 6 จึงขอให้ศาลแรงงานกลางโอนคดีกลับมาพิจารณาพิพากษา เมื่อโอนคดีกลับมาแล้วผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางย่อมหมดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) มาตรา 236 บัญญัติว่าผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นการที่ ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบของศาลแรงงานภาค 6 ไม่เคยนั่งพิจารณาคดีนี้ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอื่น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 16 ย่อมมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติการแทนได้ตามมาตรา 20 ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบองค์คณะในคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้ ส่วน น. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 6 ซึ่งนั่งพิจารณาคดีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นก็ได้รับคำสั่งให้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแห่นงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานกลางอีกตำแหน่งหนึ่งก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี น. จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้มีคำสั่งภายในระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเช่นเดียวกับที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2548 พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องโดยไม่ได้มีคำสั่ง เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานยังไม่มีคำสั่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในบังคับต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นพนักงานตรวจแรงงานยกเลิกไปทั้งหมด โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกับเรียกร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องศาลแรงงานภาค 6 เปิดทำการแล้วแต่ยังไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานภาค 6 จึงโอนคดีไปยังศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลแรงงานกลางเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 6 มีผู้พิพากษาสมทบพร้อมปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลแรงงานภาค 6 จึงขอให้ศาลแรงงานกลางโอนคดีกลับมาพิจารณาพิพากษา เมื่อโอนคดีกลับมาแล้วผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางย่อมหมดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) มาตรา 236 บัญญัติว่าผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นการที่ ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบของศาลแรงงานภาค 6 ไม่เคยนั่งพิจารณาคดีนี้ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอื่น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 16 ย่อมมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติการแทนได้ตามมาตรา 20 ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบองค์คณะในคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้ ส่วน น. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 6 ซึ่งนั่งพิจารณาคดีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นก็ได้รับคำสั่งให้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแห่นงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานกลางอีกตำแหน่งหนึ่งก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี น. จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12647/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไอไอซีแอล: ค่าเทคนิคพิเศษไม่ใช่ค่าจ้าง และเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาไอไอซีแอลระบุว่าโจทก์ส่งจำเลยเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตรจากสถาบันไอไอซีแอล โดยโจทก์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมในการสอบ หากจำเลยสอบผ่านจะได้รับเงินค่าเทคนิคพิเศษเดือนละ 5,000 บาท ในช่วงอายุของเกียรติบัตรซึ่งมีอายุ 5 ปี จำเลยรับประกันที่จะทำงานกับโจทก์ให้สอดคล้องตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์อย่างน้อย 5 ปี ตามอายุของเกียรติบัตร หากไม่สามารถทำงานได้ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคืนเงินค่าเทคนิคพิเศษแก่โจทก์ การจ่ายเงินค่าเทคนิคพิเศษจึงเป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงดังกล่าว มิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติอันจะถือว่าเป็นค่าจ้าง
สถาบันไอไอซีแอลมีความเชี่ยวชาญด้านตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์ย่อมต้องการให้พนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวทำงานให้โจทก์จนครบอายุของเกียรติบัตร โจทก์จำเลยทราบข้อความในสัญญาและสมัครใจทำสัญญากัน ทั้งสัญญาไอไอซีแอลไม่มีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
สถาบันไอไอซีแอลมีความเชี่ยวชาญด้านตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์ย่อมต้องการให้พนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวทำงานให้โจทก์จนครบอายุของเกียรติบัตร โจทก์จำเลยทราบข้อความในสัญญาและสมัครใจทำสัญญากัน ทั้งสัญญาไอไอซีแอลไม่มีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8032/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างจากการรับเหมาก่อสร้าง: โจทก์ไม่ใช่ช่างฝีมือ อายุความ 2 ปีนับจากวันชำระหนี้
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้รื้อถอนและต่อเติมโครงหลังคาเหล็กโรงสีข้าวของจำเลยที่ 1 โดยจ้างเหมาค่าแรงต่อตารางเมตร โจทก์เป็นฝ่ายจัดหาเครื่องมือสำหรับใช้ในการทำงาน ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายจัดหาสัมภาระ การทำงานของโจทก์จึงเป็นการรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้างทำของชนิดหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 แม้โจทก์ลงมือทำงานด้วยก็หาทำให้โจทก์เป็นช่างฝีมือตามมาตรา 193/34 (1) ไม่ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างจึงไม่อยู่ในอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างจึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น ต้องเรียกร้องเอาภายใน 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/34 (7)
โจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างประมาณเดือนมีนาคม 2545 และจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างครั้งสุดท้ายวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างประมาณเดือนมีนาคม 2545 และจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างครั้งสุดท้ายวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6533-6534/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
เดิมจำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้โจทก์ทั้งสองในอัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า จึงเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างและโจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างตกลงกันให้จ่ายค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้จำเลยอ้างว่ากำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่นี้จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานนั่นเอง ค่านายหน้าตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5