พบผลลัพธ์ทั้งหมด 823 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และการบังคับคดี: อำนาจฟ้อง, การริบของกลาง, และการแบ่งค่าปรับให้เจ้าของลิขสิทธิ์
ของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยการขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ที่ไม่ปรากฏผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมไม่มีผู้เสียหายรายใดที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และมาตรา 121 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับยังไม่มีการพิจารณาความผิดของจำเลยส่วนนี้ และรับฟังเป็นยุติยังไม่ได้ว่าของกลางเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จึงต้องคืนให้แก่เจ้าของ
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิได้รับค่าปรับกึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเท่านั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้ เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่กลับพิพากษาให้จ่ายค่าปรับให้แก่ผู้เสียหายกึ่งหนึ่งโดยมิได้ระบุว่าให้จ่ายจากค่าปรับที่จำเลยชำระตามความผิดฐานใด จึงไม่ถูกต้อง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิได้รับค่าปรับกึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเท่านั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้ เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่กลับพิพากษาให้จ่ายค่าปรับให้แก่ผู้เสียหายกึ่งหนึ่งโดยมิได้ระบุว่าให้จ่ายจากค่าปรับที่จำเลยชำระตามความผิดฐานใด จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหมิ่นประมาทที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย และอำนาจศาลแขวงในการพิจารณาคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองทำคำแถลงต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์โดยเปิดเผย มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อบุคคลที่สาม เพื่อให้ศาล เจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องเมื่อได้เห็นเอกสารเชื่อว่าโจทก์มีอาชีพหากินกับศาลโดยไม่สุจริต เป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่จะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326, 328, 83 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวมิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณา จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 328 และศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงประทับฟ้องในข้อหาดังกล่าว ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพราะเป็นการพิพากษาในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อปรากฏว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 มีอัตราโทษอย่างสูงซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาและชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 วรรคหนึ่ง (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอคืนเงินจากความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ แม้คำฟ้องระบุเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งได้ออกให้แก่ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยลักไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสด ถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายโดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายและธนาคาร ซ. ดังนั้น คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการนำเอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งธนาคารออกให้แก่ผู้เสียหาย ที่จำเลยลักไปจากผู้เสียหาย ไปทำการถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวน 100,000 บาท ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายอยู่ด้วย เพียงแต่วิธีการลักเงินดังกล่าวก็โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ทรัพย์แทนผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิที่ดิน: ผู้ซื้อต้องฟ้องภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากนั้นจึงปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน จึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม มาตรา 481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14226/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องยาเสพติด - หน่วยการใช้ - ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 24 เม็ด (หน่วยการใช้) แม้จะเป็นการบรรยายคำว่าหน่วยการใช้ไว้ในวงเล็บหลังคำว่าเม็ด ก็ถือว่าเป็นการบรรยายคำฟ้องว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วยแล้ว กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมีปริมาณสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป ถือว่าเป็นการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันเกินกว่าที่ฟ้อง และการเพิ่มโทษเกินกรอบตามกฎหมาย ศาลฎีกาแก้เป็นไปตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ไม่มีเลขที่ 1 หลัง ขนาดประมาณ 8.08 เมตร x 10.00 เมตร สูง 10.07 เมตร มีพื้นที่ 251 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 29634 จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อพักอยู่อาศัย เมื่อระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารไม่มีเลขที่ตั้งอยู่ที่ซอยซานเมืองแยก 7 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เป็น 4 ชั้น ขนาดกว้าง 8.08 เมตร ยาว 10.00 สูง 10.17 เมตร เพื่อพาณิชยกรรม อันเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่าจำเลยเจตนาก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชย์กรรมผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการที่ได้รับอนุญาต มิใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบโดยขออนุญาตก่อสร้างเพื่อพักอยู่อาศัย แต่มาปรับเพื่อพาณิชยกรรม หรือจำเลยมีเจตนาหรือจงใจที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่ก่อสร้างเพื่อพาณิชยกรรม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร จำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือน ด้วย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 เดือนจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้นๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร จำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือน ด้วย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 เดือนจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้นๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีแข่งรถและการพักใช้ใบอนุญาตที่ไม่ปรากฏในฟ้อง
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกขับรถแข่งขันในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบสี่เป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ศาลล่างทั้งสองให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยทั้งสิบสี่มีกำหนดคนละ 6 เดือน เป็นการพิพากษาที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์และการฟ้องนอกเหนือจากข้อหาที่แจ้ง พยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้เสียหายกับจำเลย
การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนจะถูกสอบสวนในความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ 2 วัน แต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดอีก 2 วัน ซึ่งเป็นความผิดฐานเดียวกันแต่เพิ่มอีก 2 กระทง ก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9811/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยโดยศาลอุทธรณ์ในความผิดที่ไม่ได้ระบุในฟ้องโจทก์ และการที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 และมาตรา 397 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดทั้งสองฐานนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 และมาตรา 397 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด คือ ฐานรังแก ข่มเหง ทำให้เดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตามมาตรา 397 จำคุก 1 เดือน นั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีพนันกำถั่ว: การฟ้อง, กรรมเดียวความผิดหลายบท, โทษฐานเจ้ามือ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบห้าโดยชัดเจนว่าจำเลยทั้งหมดบังอาจร่วมกันเล่นการพนันกำถั่ว อันเป็นการพนันประเภทห้ามขาดตามบัญชี ก. อันดับที่ 4 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ และมิได้มี พ.ร.ฎ.อนุญาตให้จำเลยทั้งยี่สิบห้าเล่นได้ โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และร่วมเล่น ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 25 เป็นผู้เข้าร่วมเล่นการพนัน ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิด ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยทั้งยี่สิบห้ากับพวกที่หลบหนีร่วมกันเล่นการพนันกำถั่ว อันเป็นการพนันตามบัญชี ก. อันดับที่ 4 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และร่วมเล่นด้วยแม้ พ.ร.บ.การพนันฯ มาตรา 12 (1) ได้กำหนดโทษผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันตามบัญชี ก. หมายเลข 4 ซึ่งแยกบทกำหนดโทษสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่ไม่ได้เรียกว่าลูกค้าเป็นบทหนึ่ง และสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้าเป็นอีกบทหนึ่งก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มีเพียงเจตนาเดียวคือ เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันกำถั่ว ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันกำถั่ว จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 คือความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยทั้งยี่สิบห้ากับพวกที่หลบหนีร่วมกันเล่นการพนันกำถั่ว อันเป็นการพนันตามบัญชี ก. อันดับที่ 4 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และร่วมเล่นด้วยแม้ พ.ร.บ.การพนันฯ มาตรา 12 (1) ได้กำหนดโทษผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันตามบัญชี ก. หมายเลข 4 ซึ่งแยกบทกำหนดโทษสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่ไม่ได้เรียกว่าลูกค้าเป็นบทหนึ่ง และสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้าเป็นอีกบทหนึ่งก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มีเพียงเจตนาเดียวคือ เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันกำถั่ว ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันกำถั่ว จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 คือความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้