คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การแสดงเจตนาทางวาจา และการรับชำระหนี้แทน
ป.พ.พ. มาตรา 350 มิได้บัญญัติว่าต้องทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่เป็นหนังสือระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ การแสดงเจตนาด้วยวาจาโดยมีคำเสนอและคำสนองตรงกันก็ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ต่อกันได้แล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ต้องมีกรณีเป็นที่สงสัย จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่มีกรณีใดๆ ที่จะต้องสงสัยอีกต่อไป เพราะโจทก์ยินยอมรับโอนที่ดินจากบริษัท ธ. แล้ว ซึ่งตามมาตรา 361 สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ การที่โจทก์รับโอนที่ดินจึงเป็นการสนองเจตนาไปถึงบริษัท ธ. ผู้เสนอแล้วย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้น โดยมิจำต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินร่วมก่อนบังคับคดี เจ้าหนี้บังคับคดีได้เฉพาะส่วนของลูกหนี้
ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยและผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินลูกหนี้ให้บุตรโดยเสน่หา เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ดังนั้น จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบหรือไม่ว่าการทำนิติกรรมพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า ได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ทำนองว่าเป็นนิติกรรมที่มีค่าตอบแทนนั้น ก็เป็นการนำสืบที่ขัดกับเอกสารซึ่งระบุชัดเจนว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่อาจรับฟังได้
ขณะที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินตามฟ้องให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก เมื่อจำเลยที่ 1 มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องแต่เพียงอย่างเดียวและเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาสองแสนบาทเศษ และยังไม่ชำระให้โจทก์แต่กลับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีทางบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้เป็นทางที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินเพียงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเท่านั้น ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก และโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จึงเป็นการทำนิติกรรมการโอนทั้ง ๆ รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน & ข้อตกลงไม่ยกข้อต่อสู้ลูกหนี้: ศาลฎีกาตัดสินฟ้องขาดอายุความ
แม้ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 694 แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงอาจทำข้อตกลงแตกต่างกับที่กฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ได้ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความเป็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตกลงกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามข้อ 4 ของสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว และยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงมีประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วยสัญญาค้ำประกันข้อ 4 คงมีผลเพียงว่า จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เท่านั้น ส่วนอายุความตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เองโดยตรงกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้ จึงมีอายุความสิบปีอันเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2531 ซึ่งถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและโจทก์ชอบที่จะเรียกจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน จนถึงวันที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 พ้นเวลาสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้
ตามบทบัญญัติในมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ได้กำหนดไว้โดยแจ้งชัดว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์และยื่นฎีกาเป็นการดำเนินการภายหลังจากที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ยกกระบวนพิจารณาทั้งหมด และยกคำร้องของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10078/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้อง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ และเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีเข้าสู่ศาล ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งห้าในทางแพ่ง สำหรับคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งห้าก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งห้าในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้าหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งห้า เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้าไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้า การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องและอุทธรณ์ฎีกาในเหตุดังกล่าวโดยตรงขึ้นมายังศาลสูง ก็ชอบที่ศาลจะต้องกล่าวในคำพิพากษาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่คู่ความและเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติให้บรรลุผลตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาให้ครบถ้วนตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมติเจ้าหนี้
การรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 117 ถึงมาตรา 123 โดยทรัพย์สินซึ่งรวบรวมได้มานั้นมาตรา 123 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่จะนำออกขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ เมื่อผู้คัดค้านขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อผู้ร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ดังนั้น การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปนั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ และในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขไว้ 9 ข้อ โดยกำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมโดยไม่จำกัดจำนวนและเป็นการค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างตลอดไปตรวจที่ยังคงทำงานกับโจทก์หรือมีหนี้สินค้างชำระ ก็เป็นเงื่อนไขทั่วไปตามสัญญาค้ำประกัน ส่วนในข้อ 6 ระบุให้ผู้ค้ำประกันไม่ยกข้อต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดกรณีที่โจทก์กระทำการอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิในเรื่องจำนอง จำนำ บุริมสิทธิ ดังที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 697 หรือสละสิทธิในการยกอายุความขึ้นต่อสู้ ก็เป็นการทำสัญญายกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันคดีนี้มิได้มีส่วนเกี่ยวกับสัญญาในข้อ 6 ส่วนสัญญาข้ออื่นนอกจากนี้มิได้มีผลให้จำเลยที่ 2 รับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ตามสัญญาข้ออื่นก็เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง การที่ลูกหนี้โต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้โดยอ้างเหตุจากผู้โอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทั้งสองว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำในโครงการหมู่บ้าน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้างและรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างมูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างและเงินยืมทดรองจ่ายที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้โอนย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองโดยตรง การที่จำเลยทั้งสองบอกปัดความับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้โดยตรงจากลูกหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองว่าจ้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้าง และรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรวมเป็นเงิน 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 1 มูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ จำเลยทั้งสองไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 83