พบผลลัพธ์ทั้งหมด 846 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452-2453/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานอั้งยี่ ร่วมกันสะสมกำลังพล มีวัตถุระเบิด และความผิดฐานเป็นซ่องโจร เป็นกรรมเดียว ศาลแก้โทษ
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา และเมื่อผู้กระทำความผิดได้สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย หรือกระทำการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกันเพื่อก่อการร้าย เมื่อจำเลยกับพวกมีเจตนาเดียวในการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย และฐานร่วมกันมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย เป็นความผิดและระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 55 อันเป็นบทมาตราเดียวกัน และมาตรา 4 (2) ให้คำนิยามของคำว่า เครื่องกระสุนปืน หมายความรวมตลอดถึงลูกระเบิด กฎหมายถือว่าวัตถุต้องห้ามทั้งสองชนิดเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ส่วนความผิดฐานร่วมกันมียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งแม้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง มาตรา 42 อันเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน แต่สารเคมีชนิด PENTAERYTHRITOL TETRANITRATE (PETN) ที่สามารถใช้เป็นวัตถุระเบิด และสารเคมีชนิด AMMONIUM NITRATE ที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิด นอกจากเป็นยุทธภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 4 ประกอบประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ข้อ 2 แล้ว ยังเป็นวัตถุระเบิดซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2522 ด้วย ดังนั้น วัตถุระเบิดและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และสารเคมีดังกล่าวจึงเป็นวัตถุต้องห้ามประเภทเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุทั้งสามชนิดในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย
ความผิดฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย และฐานร่วมกันมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย เป็นความผิดและระวางโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 55 อันเป็นบทมาตราเดียวกัน และมาตรา 4 (2) ให้คำนิยามของคำว่า เครื่องกระสุนปืน หมายความรวมตลอดถึงลูกระเบิด กฎหมายถือว่าวัตถุต้องห้ามทั้งสองชนิดเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ส่วนความผิดฐานร่วมกันมียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งแม้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง มาตรา 42 อันเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน แต่สารเคมีชนิด PENTAERYTHRITOL TETRANITRATE (PETN) ที่สามารถใช้เป็นวัตถุระเบิด และสารเคมีชนิด AMMONIUM NITRATE ที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิด นอกจากเป็นยุทธภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 4 ประกอบประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ข้อ 2 แล้ว ยังเป็นวัตถุระเบิดซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2522 ด้วย ดังนั้น วัตถุระเบิดและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และสารเคมีดังกล่าวจึงเป็นวัตถุต้องห้ามประเภทเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุทั้งสามชนิดในขณะเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2148/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – กรรมเดียว vs. หลายกรรม: การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกัน
ข้อความที่จำเลยทำให้ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตโดยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในคดีนี้รวม 3 กระทง และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร รวม 3 กระทง แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียงในรายละเอียดและวันที่กระทำความผิด กล่าวคือ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 24 มกราคม 2556 ส่วนคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 11 มกราคม 2556 วันที่ 23 มกราคม 2556 และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ย่อมต้องพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดเป็นสำคัญว่ามีเจตนาเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยได้พิมพ์หรือทำให้ปรากฏตามสำเนาข้อความแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ซึ่งข้อความคดีนี้และข้อความตามคำฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร ต่อเนื่องกันตลอดมาตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2556 เวลา 8.17 นาฬิกา ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 9.07 นาฬิกา บนเว็บไซต์เฟซบุ๊กในหัวข้อเรื่องทำนองเดียวกัน คือ "ทำไมไอ้ P จึงต้องด่าคนขายพระ ลป.บุญศรี" และข้อความทั้งหมดต่างกล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมเสียหาย หลอกลวงหาผลประโยชน์จากวัด รับซื้อของโจร นอกจากนี้ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับคดีนี้และเวลาเกิดเหตุอยู่ในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้และคดีหมายเลขแดงที่ 1039/2557 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร จึงเป็นกรรมเดียวกัน ดังนั้น เมื่อคดีของศาลจังหวัดสมุทรสาครที่พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ศาลจังหวัดสมุทรสาครและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาแล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว หาใช่ 3 กรรม ดังที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท – การเปลี่ยนแปลงกรรมการและโอนหุ้นโดยมิชอบ – ศาลฎีกายกประเด็นเพื่อวินิจฉัยเอง
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นแล้วลงมติให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 และ ส. เป็นกรรมการใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท แล้วจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกลักเอาหุ้นของโจทก์เพื่อจะโอนให้จำเลยที่ 3 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 นำมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้ถือหุ้นแล้วไปจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงกับนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขกรรมการ จำนวนกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท รวมถึงจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนหุ้นของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นความผิด 2 กรรม ให้ลงโทษทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาต่อเนื่องในการฆ่าหลายราย ศาลฎีกาตัดสินเป็นกรรมเดียว ลดโทษกึ่งหนึ่ง
การยื่นคำร้องขอค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่จะพึงเรียกจากผู้กระทำละเมิดต่อผู้ตาย เมื่อ ศ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะโดยมีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ และพ้นจากภาวะผู้เยาว์แล้วมิได้ยื่นคำร้องขอค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายที่ 3 ซึ่งเป็นบิดาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 และมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ร่วมที่ 3 ซึ่งเป็นมารดายื่นคำร้องขอค่าขาดไร้อุปการะแทนตน โจทก์ร่วมที่ 3 จึงไม่มีอำนาจเรียกค่าเสียหายดังกล่าวแทน ศ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7916/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลฎีกาแก้ไขความผิดฐานเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
สำหรับความผิดฐานนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และความผิดฐานเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (6) นั้น ตามพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสองในการสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จเพื่อนำเข้าสินค้าเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยลงเป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรเป็นหลักเพียงแต่อากรที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระในการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้งนั้น มีทั้งอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอากรทั้งสองประเภทดังกล่าวมีฐานในการคำนวณมาจากราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสองร่วมกันสำแดงเท็จนั่นเอง อีกทั้งสินค้าที่นำเข้าก็เป็นสินค้าจำนวนเดียวกัน การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (6) จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 หาได้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้ความผิดฐานร่วมกันหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 เป็นความผิดอยู่ ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และมาตราดังกล่าวมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงต้องใช้โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 243 มาบังคับ อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดโทษปรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ดังกล่าว ก็ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในค่าปรับในลักษณะรวมกันตามบทบัญญัติ มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนที่เป็นคุณมากกว่าตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, พยายามกรรโชกทรัพย์ และโทษทางอาญา
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เข้าตรวจค้นห้องพักของผู้เสียหายทั้งสี่และรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เมื่อพบเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จึงทำบันทึกการจับกุม แล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายทั้งสี่ไว้ภายในห้องพัก และขู่เข็ญให้แจ้งญาตินำเงินไปมอบให้จำเลยทั้งสามมิฉะนั้นจะส่งตัวไปดำเนินคดี เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสี่ และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7915/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวต่างกรรม: การพิจารณาความผิดฐานครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการนับโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดคดีนี้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อคดีนี้ไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีไม้กันเกราแปรรูป 397 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 8.95 ลูกบาศก์เมตร และมีไม้นนทรีแปรรูป 568 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 19.79 ลูกบาศก์เมตร รวม 965 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 28.74 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยเพียงอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ โดยไม่ได้โต้แย้งว่าไม้ของกลางคดีนี้กับไม้ของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559, 78/2559 และ 79/2559 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเป็นไม้ที่จำเลยมีเจตนาครอบครองในคราวเดียวกันอันจะทำให้เป็นความผิดกรรมเดียว ซึ่งเมื่อไม้ของกลางในคดีนี้เป็นไม้กันเกราแปรรูปและไม้นนทรีแปรรูป รวม 965 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 28.74 ลูกบาศก์เมตร ส่วนไม้ของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559 ของศาลชั้นต้นเป็นไม้กันเกราแปรรูป ไม้นนทรีแปรรูป ไม้ประดู่แปรรูป และไม้มะค่าโมงแปรรูป รวม 1,706 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 59.44 ลูกบาศก์เมตร ไม้ของกลางทั้ง 2 คดี เป็นไม้คนละจำนวนกัน จำเลยมีเจตนาครอบครองไม้ในแต่ละจำนวนคนละคราวต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรม เมื่อศาลมีคำพิพากษาในความผิดกรรมหนึ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับกรรมอื่นหาได้ระงับลงไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ไม้ของกลางในคดีนี้และในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559, 78/2559 และ 79/2559 ของศาลชั้นต้นเป็นไม้แปรรูปที่จำเลยมีเจตนาครอบครองในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยในทั้ง 4 คดี จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559 ของศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7616/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน หากเป็นการกระทำกรรมเดียว หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลมีสิทธิยกฟ้อง
แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่บรรยายระบุว่าได้ทำการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด แต่โจทก์อาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางานได้เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยและเป็นผู้สร้างสรรค์งานภาพถ่ายนั้นเอง โจทก์ก็ย่อมได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวทันทีที่สร้างสรรค์งานเสร็จแม้จะยังมิได้โฆษณางานนั้น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (1) ซึ่งลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายนั้น มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 21 เมื่อขณะฟ้องโจทก์มีอายุเพียง 25 ปี แม้จะฟังว่าโจทก์ได้สร้างสรรค์งานนั้นตั้งแต่เกิด งานภาพถ่ายของโจทก์ก็ยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครอง จึงถือได้ว่าฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นและยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงไม่ขาดองค์ประกอบของความผิดในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายของโจทก์
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องรวมกันมาในข้อเดียวว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำหรือดัดแปลงด้วยการคัดลอกงานภาพถ่ายของโจทก์ อีกทั้งจำเลยยังเจตนาทำให้โจทก์เสียหายด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์บางส่วนของโจทก์โดยมิชอบ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงให้เห็นว่าเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดทั้งสองเป็นเจตนาเดียวกันอันถือเป็นการฟ้องคดีอาญาสำหรับการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ขาดองค์ประกอบของความผิดและพิพากษายกฟ้องความผิดส่วนดังกล่าวไป ก็ยังต้องวินิจฉัยต่อไปด้วยว่าฟ้องโจทก์ในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 9 มีมูลให้ประทับรับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ด้วย การที่ศาลดังกล่าวออกจากสารบบความจึงไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 35
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 9 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุก..." แต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเพียงทำนองว่า จำเลยได้คัดลอกข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์จากเว็บไซต์ของโจทก์ไปไว้ในเว็บไซต์ของจำเลยเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์อย่างไร แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าว ก็ไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 9 ได้ ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องรวมกันมาในข้อเดียวว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำหรือดัดแปลงด้วยการคัดลอกงานภาพถ่ายของโจทก์ อีกทั้งจำเลยยังเจตนาทำให้โจทก์เสียหายด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์บางส่วนของโจทก์โดยมิชอบ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงให้เห็นว่าเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดทั้งสองเป็นเจตนาเดียวกันอันถือเป็นการฟ้องคดีอาญาสำหรับการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ขาดองค์ประกอบของความผิดและพิพากษายกฟ้องความผิดส่วนดังกล่าวไป ก็ยังต้องวินิจฉัยต่อไปด้วยว่าฟ้องโจทก์ในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 9 มีมูลให้ประทับรับฟ้องไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ด้วย การที่ศาลดังกล่าวออกจากสารบบความจึงไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 35
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 9 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุก..." แต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเพียงทำนองว่า จำเลยได้คัดลอกข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์จากเว็บไซต์ของโจทก์ไปไว้ในเว็บไซต์ของจำเลยเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์อย่างไร แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าว ก็ไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 9 ได้ ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขับรถเสพยา-เมาสุราเป็นกรรมเดียว แม้ฟ้องแยกกระทง
การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกายแล้วขับรถยนต์ในขณะเมาสุรา อันเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกัน คือ ขับรถยนต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนและขับรถในขณะเมาสุรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละข้อหาต่างกรรมกัน ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – ยาเสพติดประเภท 5 (กัญชา, กระท่อม) – โทษจำคุกและปรับ
ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีพืชกระท่อมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษตามมาตรา 76 วรรคสอง และยาเสพติดทั้งสองชนิดซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าว กฎหมายถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เช่นเดียวกัน โดยบัญญัติบทความผิดกับบทลงโทษในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 4 มีไว้ในครอบครองในขณะเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 4 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นความผิดแต่ละกรรมโดยชัดแจ้ง และขอให้ลงโทษทุกกรรม ก็ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 4 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน