พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบและถอดถอนผู้ชำระบัญชีต้องยื่นภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีมีข้อพิพาท
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ
ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าและค่ารื้อปลูกเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า การผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด
นอกจากค่าเช่าเดือนละ 30 บาทแล้วจำเลยยังทำสัญญาช่วยค่ารื้อปลูกเรือนที่เช่าเดือนละ 200 บาททุกเดือนในระหว่างที่เช่าถือว่าเงิน200 บาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าด้วย
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเช่าจำเลยโดยไม่ต้องบอกกล่าวจำเลยได้ทีเดียวในเมื่อมีกำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าต้องชำระค่าเช่าเดือนละครั้งภายในวันที่ 1 ของทุกๆ เดือนและเมื่อถึงเวลาแล้วจำเลยไม่ชำระถือว่าจำเลยได้ผิดเวลาในการชำระหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเช่าจำเลยโดยไม่ต้องบอกกล่าวจำเลยได้ทีเดียวในเมื่อมีกำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าต้องชำระค่าเช่าเดือนละครั้งภายในวันที่ 1 ของทุกๆ เดือนและเมื่อถึงเวลาแล้วจำเลยไม่ชำระถือว่าจำเลยได้ผิดเวลาในการชำระหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังปิดหมาย: การนับเวลาผัดยื่นและการถือว่าพ้นกำหนด
การส่งหมายเรียกให้แก้คดีโดยวิธีปิดหมายนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง ม.179 กำหนดให้เวลาล่วงแล้ว 15 วันจึงจะมีผล พนักงานส่งจดหมายในวันที่ 4 ก.ย.98 เรื่องการนับระยะเวลาล่วงพ้น 15 วัน จะต้องเริ่มนับแต่วันที่ 5 แล้วเริ่มนับกำหนดยื่นคำให้การภายใน 8 วันตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.98 ครบในวันที่ 28 ก.ย.98 แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยผัดยื่นคำให้การได้ 3 วันโดยได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิม คือ เริ่มนับหนึ่งแต่วันที่ 28 ก.ย.98 จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 1 ต.ค.98 จึงพ้นกำหนดไป 1 วัน แล้วจึงไม่รับเป็นคำให้การได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีมรดกโดยผู้เยาว์ผ่านผู้แทนโดยชอบธรรมมีกำหนดเวลาฟ้อง หากพ้นกำหนดสิทธิขาดสิ้น
เมื่อเจ้ามรดกตายทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมมารดาของทายาทผู้เยาว์มิได้ฟ้องคดีมรดกเสียภายในกำหนด1 ปีนับแต่วันเจ้ามรดกตายต่อมาเมื่อผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้วจะมาฟ้องคดีมรดกเองหาได้ไม่เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา183
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องกำหนดเวลาชัดเจน การส่งสำเนาอุทธรณ์ต่างจากหมายเรียก
โจทก์แพ้คดีศาลชั้นต้นโจทก์จึงอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งแต่เพียงว่า'รับอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้จำเลย' ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าจะให้โจทก์มารับสำเนาไปส่งแก่จำเลยภายในเวลาเท่าใดเมื่อโจทก์มาขอรับสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่จำเลยหลังจากฟ้องอุทธรณ์แล้วเป็นเวลา 27 วันเช่นนี้ก็ตามก็ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา174(2) เพราะศาลชั้นต้นยังไม่ได้กำหนดวันให้โจทก์มานำสำเนาอุทธรณ์ส่งให้แก่จำเลยไว้
การส่งหมายเรียกไม่เหมือนกับการส่งสำเนาอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา174(1) กำหนดระยะเวลา 15 วันไว้ตายตัวว่าโจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งหมายเรียกให้จำเลยมาแก้คดีไม่เหมือนมาตรา174(2) ซึ่งให้ศาลเป็นผู้กำหนดเวลาตามสมควร(ฎีกาที่ 798/2498)
การส่งหมายเรียกไม่เหมือนกับการส่งสำเนาอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา174(1) กำหนดระยะเวลา 15 วันไว้ตายตัวว่าโจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งหมายเรียกให้จำเลยมาแก้คดีไม่เหมือนมาตรา174(2) ซึ่งให้ศาลเป็นผู้กำหนดเวลาตามสมควร(ฎีกาที่ 798/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก หากเกินกำหนดฟ้องขาดอายุความ
คดีมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามมาตรา1754
โจทก์เป็นสามีผู้ตายเจ้ามรดก. เวลาเจ้ามรดกตายโจทก์ก็รู้และนับแต่วันตายมาถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วทั้งมรดกที่พิพาทกันโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองร่วมกับจำเลย(มารดาผู้ตาย)เช่นนี้ โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกปิดบังทรัพย์โจทก์เพียงทราบว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอยู่เมื่อระยะภายใน 1 ปีนี้เองอายุความตาม มาตรา 1754 ไม่บังคับถึงนั้นไม่ได้
โจทก์เป็นสามีผู้ตายเจ้ามรดก. เวลาเจ้ามรดกตายโจทก์ก็รู้และนับแต่วันตายมาถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 1 ปีแล้วทั้งมรดกที่พิพาทกันโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองร่วมกับจำเลย(มารดาผู้ตาย)เช่นนี้ โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ถูกปิดบังทรัพย์โจทก์เพียงทราบว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอยู่เมื่อระยะภายใน 1 ปีนี้เองอายุความตาม มาตรา 1754 ไม่บังคับถึงนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสาหัสของบาดแผลและการฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัสถึงแก่ทุพพลภาพไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้เพราะความทุพพลภาพเกินกว่า 20 วัน
แต่ในขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นเองนับทั้งวันเกิดเหตุได้เพียง 16 วันเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ฟังได้ว่าเมื่อเกินกว่า 20 วันไปแล้วผู้เสียหายก็ยังคงทุพพลภาพด้วยทุกขเวทนากล้าหรือไม่สามารถประกอบการเลี้ยงชีพตามปกติได้กลับได้ความว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นเองผู้เสียหายก็ได้มายื่นคำร้องต่อศาลได้ฉะนั้นผู้เสียหายอาจจะหายก่อนกำหนดเวลาที่กฎหมาย กำหนดไว้ก็ได้ ดังนี้แม้จำเลยจะรับตามฟ้องของโจทก์ก็ตามแต่ขณะโจทก์ฟ้องข้อเท็จจริงเท่าที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องก็รับฟังเช่นนั้นไม่ได้(จึงลงโทษจำเลยตาม ม.256ไม่ได้จำเลยควรมีความผิดตามมาตรา 254 เท่านั้น)
แต่ในขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นเองนับทั้งวันเกิดเหตุได้เพียง 16 วันเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ฟังได้ว่าเมื่อเกินกว่า 20 วันไปแล้วผู้เสียหายก็ยังคงทุพพลภาพด้วยทุกขเวทนากล้าหรือไม่สามารถประกอบการเลี้ยงชีพตามปกติได้กลับได้ความว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นเองผู้เสียหายก็ได้มายื่นคำร้องต่อศาลได้ฉะนั้นผู้เสียหายอาจจะหายก่อนกำหนดเวลาที่กฎหมาย กำหนดไว้ก็ได้ ดังนี้แม้จำเลยจะรับตามฟ้องของโจทก์ก็ตามแต่ขณะโจทก์ฟ้องข้อเท็จจริงเท่าที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องก็รับฟังเช่นนั้นไม่ได้(จึงลงโทษจำเลยตาม ม.256ไม่ได้จำเลยควรมีความผิดตามมาตรา 254 เท่านั้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิในการฟ้องร้องเมื่อยังมิได้จดทะเบียน และผลของการไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลา
คดีที่ฟ้องขอแสดงสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าผู้อื่นตามความใน ม.17 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 นั้น เป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาจริงได้ตาม ม.189 (3) แม้ในฟ้องจะได้กล่าวอ้างว่าเครื่องหมายการค้ามีราคาถึง 10,000 บาท ก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องทุนทรัพย์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง ม.258
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตาม แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม.29 วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้
ฎีกาที่ 1843/2497
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตาม แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม.29 วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้
ฎีกาที่ 1843/2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ความสำคัญของการจดทะเบียนภายในกำหนดเวลา และขอบเขตการฟ้องร้องเมื่อยังมิได้จดทะเบียน
คดีที่ฟ้องขอแสดงสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าผู้อื่นตามความใน มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 นั้น เป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ตามมาตรา 189(3) แม้ในฟ้องจะได้กล่าวอ้างว่าเครื่องหมายการค้ามีราคาถึง 10,000 บาทก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องทุนทรัพย์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตามแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้ ฎีกาที่ 1843/2497
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตามแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้ ฎีกาที่ 1843/2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและไถ่ถอนจำนอง: การตีความกำหนดเวลาตามสัญญา
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2 (คือจำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้ " ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า " และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว เพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้น ย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว เพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้น ย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง