พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า, ค่าทดแทน, ค่าเลี้ยงชีพ, สินสมรส, และหนี้สินร่วม กรณีสามีภรรยามีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
แม้สัญญาระหว่างสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันจะมีข้อตกลงห้ามไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญามีกำหนดเวลา 20 ปี ก็ตามแต่ก็เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1469 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่เป็นธรรมและเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกัน ข้อตกลงจะไม่บอกล้างหรือบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรส จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติว่า ในคดีหย่าถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ การกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ต้องพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเพราะหลังสมรสโจทก์ลาออกจากงานมาช่วยดูแลคลินิกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคลินิกดังกล่าวประกอบกับรายได้ของจำเลยที่ 1 ตลาดจนค่าครองชีพในปัจจุบันประกอบกัน
การกำหนดค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่คำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันถึงที่สุด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติว่า ในคดีหย่าถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ การกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ต้องพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเพราะหลังสมรสโจทก์ลาออกจากงานมาช่วยดูแลคลินิกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคลินิกดังกล่าวประกอบกับรายได้ของจำเลยที่ 1 ตลาดจนค่าครองชีพในปัจจุบันประกอบกัน
การกำหนดค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่คำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อระหว่างสมรสเป็นสินสมรสต้องแบ่งเท่ากัน หากไม่แบ่งถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม
ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทจากผู้ขายในระหว่างสมรส ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1)
ฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2540 โดยมีการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า ให้ที่ดินและบ้านพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติว่า "เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน" เมื่อข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องนำสืบไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและจำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสกันแล้ว กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวม ดังนี้ ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวไม่ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288
ฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2540 โดยมีการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า ให้ที่ดินและบ้านพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติว่า "เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน" เมื่อข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องนำสืบไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและจำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสกันแล้ว กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวม ดังนี้ ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวไม่ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้เป็นสินสมรส การร้องขอเงินจากการขายทอดตลาดไม่กระทบต่อกรรมสิทธิ์
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยจะยกเหตุว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. สามีจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่ถูกยึดที่ดินและบ้านพิพาทขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเพื่อร้องขอกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาดมาเป็นข้อต่อสู้เพื่ออยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท โดยเรียกค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท ส่วนจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยมีส่วนกึ่งหนึ่ง ซึ่งจำเลยได้ร้องขอกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านพิพาทไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เช่นนี้เท่ากับจำเลยมิได้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท โดยเรียกค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท ส่วนจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยมีส่วนกึ่งหนึ่ง ซึ่งจำเลยได้ร้องขอกันส่วนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านพิพาทไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เช่นนี้เท่ากับจำเลยมิได้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากสินสมรส: เพิกถอนได้เฉพาะกรณีบุคคลภายนอกไม่สุจริต/ไม่เสียค่าตอบแทน
การเพิกถอนนิติกรรมตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง ต้องเพิกถอนทั้งหมด โดยมีผลเป็นว่าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นถ้าเพิกถอนได้ก็ย่อมกลับคืนมาเป็นสินสมรสทั้งหมด มิใช่เพิกถอนแต่เฉพาะส่วนของคู่สมรสที่ไม่ให้ความยินยอม ดังนั้น ในทางกลับกันถ้าเพิกถอนไม่ได้เพราะบุคคลภายนอกดังกล่าวทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ย่อมเพิกถอนไม่ได้ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากค่าชดเชยแรงงาน: เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดเงินส่วนของคู่สมรส
เงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีของศาลแรงงานกลางนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นเป็นเงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชยและค่าเสียหายตามสิทธิที่ผู้ร้องพึงได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่ผู้ร้องผู้เป็นลูกจ้าง แม้ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องของตนมาฟ้องนายจ้าง แต่เมื่อผู้ร้องชนะคดีจนได้เงินดังกล่าวมาก็เป็นการได้มาระหว่างสมรส เงินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) จำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สมรสของผู้ร้องจึงมีสิทธิในเงินดังกล่าวกึ่งหนึ่ง แม้ว่าในคดีของศาลแรงงานกลางนั้นผู้ร้องมิได้แถลงเพื่อยินยอมให้เงินดังกล่าวเป็นสินสมรส ก็หามีผลแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาหรือไม่นั้นเป็นไปโดยผลของกฎหมาย หาใช่เป็นเพราะความยินยอมของผู้ร้องไม่ เมื่อเงินดังกล่าวเป็นสินสมรสและตกเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขออายัดเงินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนการอายัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินของคู่สมรสไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมหากไม่ใช่การให้กู้ยืมเงิน และการบังคับคดีไม่กระทบสินสมรสส่วนตัว
ป.พ.พ. มาตรา 1476 (4) มุ่งหมายให้การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดการสินสมรส ส่วนการกู้ยืมเงินมิใช่การให้กู้ยืมเงิน กรณีจึงหาต้องด้วยมาตรา 1476 ไม่
การบังคับคดีในคดีก่อนนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นสามีมิได้เป็นหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นภริยา การบังคับคดีก็หาอาจกระทบกระเทือนสิทธิโจทก์ได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 เจ้าหนี้จะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของโจทก์ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินระหว่างจำเลยทั้งสอง
การบังคับคดีในคดีก่อนนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นสามีมิได้เป็นหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นภริยา การบังคับคดีก็หาอาจกระทบกระเทือนสิทธิโจทก์ได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 เจ้าหนี้จะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของโจทก์ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ดินสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส การบังคับคดีเฉพาะหนี้ของลูกหนี้ไม่กระทบสิทธิคู่สมรส
ป.พ.พ. มาตรา 1476 (4) มุ่งหมายให้การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายในการจัดการสินสมรส การกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงินจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
การบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ที่ดินสินสมรส จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมสัญญากู้ยืมระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ที่ดินสินสมรส จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมสัญญากู้ยืมระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากับลูกหนี้ตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า, การออกโฉนดที่ดินไม่ชอบ, ศาลเพิกถอนโฉนดได้
จำเลยที่ 3 แจ้งขอใบจับจองที่ดินพิพาทในระหว่างเวลาที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ยังเป็นสามีภริยากัน นับว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสแล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 3 ตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวเพื่อการแบ่งทรัพย์สินย่อมกระทำได้หาได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ มาตรา 8 วรรคสอง ที่ระบุให้โอนได้แต่เฉพาะทายาทผู้รับโอนทางมรดกไม่ข้อตกลงแบ่งทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 ทำต่อโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
แม้จำเลยที่ 3 มีชื่อในใบจอง แต่จำเลยที่ 3 ย้ายไปทำกินอยู่อีกตำบลหนึ่งไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ดังนั้น การออกโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และเมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทเสียได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด
แม้จำเลยที่ 3 มีชื่อในใบจอง แต่จำเลยที่ 3 ย้ายไปทำกินอยู่อีกตำบลหนึ่งไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ดังนั้น การออกโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และเมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทเสียได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์หลังหย่า, โฉนดที่ดินไม่ชอบ, เพิกถอนโฉนด, สิทธิครอบครอง
โจทก์กับจำเลยที่ 3 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น แม้ตามหลักฐานจะปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ไปขอออกใบจับจองที่ดินพิพาทในนามของตนแต่ผู้เดียว แต่ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การที่ภายหลังโจทก์กับจำเลยที่ 3 ตกลงหย่าขาดจากกันโดยจำเลยที่ 3 ตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวเพื่อการแบ่งทรัพย์สินจึงย่อมกระทำได้ หาได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง ที่ระบุให้โอนได้เฉพาะแต่ทายาทผู้รับโอนทางมรดกไม่ ข้อตกลงการแบ่งทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 ทำต่อโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ มีผลใช้บังคับได้ เพราะกรณีนี้เป็นการตกลงแบ่งทรัพย์ในฐานะที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าโจทก์เป็นผู้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทตลอดมา การออกโฉนดที่ดินแก่ที่ดินพิพาทในนามของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการมิชอบ เพราะควรออกให้แก่โจทก์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยมิชอบนี้เสียได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินสมรสโดยสุจริตของผู้ซื้อที่ไม่ทราบสถานะสมรสของผู้ขาย การเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จดทะเบียนสมรสกับนางสาว พ. จำเลยซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสของโจทก์และนาง พ. จากนาง พ. โดยเข้าใจว่านาง พ. เป็นหม้ายเนื่องจากโจทก์ไปมีภริยาใหม่และได้ทิ้งร้างนาง พ. จำเลยทำนิติกรรมกับนาง พ. โดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยกับนาง พ. ซึ่งถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา