พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9405/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเช็คไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของเช็ค ผู้ทรงเช็คไม่ต้องบรรยายรายละเอียด
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องคือ จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยฐานมีเช็คชนิดสั่งจ่ายเงินให้ผู้ถือไว้ในครอบครอง ทั้งคำฟ้องมีคำขอบังคับไว้แล้ว นับว่าโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจคำฟ้องได้แล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 904 ฟ้องจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คให้รับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989 และรับผิดค่าดอกเบี้ยตามมาตรา 224 คำฟ้องของโจทก์จึงครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยมูลหนี้ใดและรับจากผู้ใดตามข้ออ้างของจำเลยก็ไม่เป็นเหตุให้คำฟ้องของโจทก์ที่ชอบด้วยกฎหมายดังวินิจฉัยแล้วกลับกลายเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมไปได้ เพราะข้อเท็จจริงตามที่จำเลยอ้างนั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาหรือข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่โจทก์จำเป็นจะต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9162/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัดตามคำฟ้อง การอุทธรณ์นอกประเด็น และการนำสืบพยานนอกประเด็น
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสองกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายหรือไม่ ก็มีความหมายเพียงว่าลูกจ้าง หรือตัวแทนของจำเลยทั้งสองกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ตรวจดูบัตรจอดรถที่ออกให้แก่ ช. ซึ่งขับรถยนต์คันดังกล่าวเข้าไปจอดบริเวณที่จอดรถของห้างสรรพสินค้า เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถยนต์คันนั้นไปเท่านั้น มิได้มีความหมายรวมถึงเหตุที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยสูญหาย เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ไม่จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเดินตรวจบริเวณลานจอดรถที่โจทก์มิได้อ้างเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามฟ้องแต่อย่างใดไม่ และแม้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจะมีการสืบพยานกล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าวก็เป็นการนำสืบนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นการไม่ชอบ เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างคนละเหตุกับคำฟ้องของโจทก์ จึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนสลบและการปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาพิพากษาว่าการกระทำความผิดแตกต่างรายละเอียดเล็กน้อยไม่ถือต่างจากฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนสลบ แต่การพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 3 เพียงผู้เดียวที่สลบ แม้ข้อเท็จจริงการพิจารณาจะต่างกับคำฟ้อง แต่กรณีเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องการพิจารณาต่างจากฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6356/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดวันเวลาและปริมาณยาเสพติด ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนและปริมาณไม่ทราบแน่ชัดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ระบุวันที่และเวลาการกระทำความผิดให้แน่นอน ทั้งมิได้ระบุจำนวนและปริมาณของเมทแอมเฟตามีนที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมทำให้ศาลไม่อาจปรับฐานความผิดและบทลงโทษแก่จำเลยทั้งห้าได้ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าเนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 บัญญัติฐานความผิดและบทลงโทษตามจำนวนหน่วยการใช้ หรือน้ำหนักสุทธิหรือปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดจากการกระทำนั้นๆ พอสมควรเท่าที่ทำให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) คำฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิดให้ชัดเจน มิเช่นนั้นถือเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลสวนอาหารสีน้ำ ในวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 ในงานดนตรีกรรม คำร้องทำนองของผู้แต่ง ผู้ประพันธ์งานดนตรีกรรม คำร้องทำนอง โดยแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งผลงานเพลงผู้ชนะสิบทิศอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต นั้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 คำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนี้อาจมีการกระทำประการใดประการหนึ่งในหลายประการตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเพียงว่า โดยแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่บรรยายถึงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยกระทำการใดโดยแน่ชัด ก็ย่อมไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างไรในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 การบรรยายฟ้องในส่วนนี้จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของโจทก์ที่ 1 เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ในงานผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพพิมพ์ (ปก) โดยได้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งผลงานเพลงอกหักไม่ว่า อันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวได้มีการบันทึกภาพการขับร้องหรือบรรเลงเพลงอกหักไม่ว่า ลงในแผ่นเสียง เทปคาสเซต ซีดี วิดีโอเทป วิดีโอซีดี หรือบันทึกลงในวัสดุใด และจำเลยกระทำการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยการทำให้ปรากฏด้วยเสียงหรือภาพโดยวิธีใดเช่นเดียวกัน ส่วนงานภาพพิมพ์ (ปก) นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์นี้และจำเลยได้นำงานดังกล่าวออกแสดงต่อสาธารณชนโดยวิธีใดอีกเช่นกัน ทั้งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุท้ายคำฟ้อง ก็ไม่ได้สื่อความหมายให้เข้าใจตามคำฟ้องได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด คำฟ้องในส่วนนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองบรรยายให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุและภาพพิมพ์ของโจทก์ที่ 2 เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเช่นกัน การบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวทั้งสองส่วนจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ในงานผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพพิมพ์ (ปก) โดยได้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งผลงานเพลงอกหักไม่ว่า อันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวได้มีการบันทึกภาพการขับร้องหรือบรรเลงเพลงอกหักไม่ว่า ลงในแผ่นเสียง เทปคาสเซต ซีดี วิดีโอเทป วิดีโอซีดี หรือบันทึกลงในวัสดุใด และจำเลยกระทำการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยการทำให้ปรากฏด้วยเสียงหรือภาพโดยวิธีใดเช่นเดียวกัน ส่วนงานภาพพิมพ์ (ปก) นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์นี้และจำเลยได้นำงานดังกล่าวออกแสดงต่อสาธารณชนโดยวิธีใดอีกเช่นกัน ทั้งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุท้ายคำฟ้อง ก็ไม่ได้สื่อความหมายให้เข้าใจตามคำฟ้องได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด คำฟ้องในส่วนนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองบรรยายให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุและภาพพิมพ์ของโจทก์ที่ 2 เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเช่นกัน การบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวทั้งสองส่วนจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา การแจ้งฐานความผิด และการพิพากษาเกินคำฟ้อง
บันทึกการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาเพื่อความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีด้วยวาจาไม่ การฟ้องด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและอื่น ๆ อีกหลายประการ การที่บันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพและคำพิพากษาในคดีนี้ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดฐานจัดตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตและโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ ถือว่าโจทก์แจ้งต่อศาลถึงฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดแล้ว โจทก์ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นความพลั้งเผลอของเจ้าหน้าที่ศาล เมื่อบันทึกของศาลระบุว่าจำเลยกระทำความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แสดงว่าโจทก์ประสงค์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเพียงสถานเดียว ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานจำหน่ายสุราเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดซึ่งไม่ได้กล่าวในบันทึกคำฟ้องของศาลได้ แม้ศาลชั้นต้นจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยฝ่าฝืนกฎหมายอีกฐานหนึ่งก็เป็นการพิพากษาเกินจากที่โจทก์ได้กล่าวในบันทึกคำฟ้องของศาลต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 มิใช่ศาลชั้นต้นปรับบทผิดตามที่โจทก์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13387/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การพิจารณาจากสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้อง ไม่ใช่ชื่อคู่ความ หากฟ้องหน่วยงานที่ไม่มีสถานะนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
การจะพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ถูกฟ้องในสถานะใด มิใช่ดูเพียงชื่อในช่องคู่ความของคำฟ้องเท่านั้น ข้อสำคัญต้องพิจารณาจากเนื้อหาตามคำบรรยายฟ้องที่เป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่โจทก์ทั้งสองมุ่งประสงค์จะฟ้องและมีคำขอให้บังคับนั้นคือผู้ใด โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นส่วนราชการสังกัดหน่วยงานของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 มีผู้บริหารเรียกว่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี เป็นผู้กระทำการแทน ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นส่วนราชการสังกัดหน่วยงานของจำเลยที่ 3 ชื่อว่า ธนารักษ์พื้นที่สิงห์บุรี เป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 3 โดยมี ธนารักษ์พื้นที่สิงห์บุรีกระทำการแทน และบรรยายฟ้องตอนหนึ่งว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องไม่ใช่ที่ราชพัสดุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสองไม่ได้นำชี้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งสี่ เป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงสถานะจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่า เป็นส่วนราชการ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงมุ่งประสงค์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามลำดับ หาใช่ฟ้องตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของจำเลยที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด เมื่อฎีกาของโจทก์ทั้งสองยอมรับว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4
การที่ศาลนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2), 172 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่รับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 4
การที่ศาลนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2), 172 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่รับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12457/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดสินเชื่อ 'เงินสดโทรสั่งได้' และดอกเบี้ยถูกต้องตามอัตราบัตรเครดิต
แม้โจทก์จะบรรยายมาในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าทองของโจทก์ โจทก์อนุมัติให้จำเลยเป็นสมาชิกและออกบัตรเครดิตให้แก่จำเลยใช้แทนเงินสดเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ ตลอดจนเบิกถอนเงินสดจากสถานประกอบการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ และนอกจากนี้ในการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยยังได้รับวงเงินหมุนเวียนอีกจำนวน 240,000 บาท แต่โจทก์ได้แนบใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" มาด้วย ทั้งยังปรากฏว่าในแต่ละเดือนโจทก์ได้ส่งใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตไปให้จำเลยทราบตลอดมาจนกระทั่งสัญญาเลิกกัน จำเลยจึงย่อมจะต้องทราบถึงข้อผูกพันของสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" รวมทั้งภาระหนี้สินที่เกิดจากสินเชื่อเป็นอย่างดี การไม่ระบุรายละเอียดของข้อตกลงในการใช้สินเชื่อประเภทนี้ในใบสมัครและในเงื่อนไขการใช้บัตร จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในทางคดี ประกอบกับในคำให้การของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" แสดงว่าจำเลยไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การให้สินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" แก่จำเลย แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าเกิดขึ้นหลังจากจำเลยสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าของโจทก์ แต่ก็ได้ความจากใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตพร้อมคำแปลเอกสารว่า โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" รวมกันมากับหนี้อันเกิดจากการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจำเลยเองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใด จึงทำให้น่าเชื่อว่าสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาบัตรเครดิต การคิดดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้จึงต้องถือตามอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่า มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้บังคับในระหว่างไม่ผิดนัดตามที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ ซึ่งปรากฏตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์ว่า ในช่วงวันที่ 9 กันยายน 2549 ที่จำเลยเริ่มผิดนัดชำระหนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2549 จึงชอบแล้ว
การให้สินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" แก่จำเลย แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าเกิดขึ้นหลังจากจำเลยสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าของโจทก์ แต่ก็ได้ความจากใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตพร้อมคำแปลเอกสารว่า โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" รวมกันมากับหนี้อันเกิดจากการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจำเลยเองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใด จึงทำให้น่าเชื่อว่าสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาบัตรเครดิต การคิดดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้จึงต้องถือตามอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่า มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้บังคับในระหว่างไม่ผิดนัดตามที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ ซึ่งปรากฏตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์ว่า ในช่วงวันที่ 9 กันยายน 2549 ที่จำเลยเริ่มผิดนัดชำระหนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2549 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11230/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องการเลือกตั้งท้องถิ่น: การบรรยายถึงการยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านด่านได้ยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายรวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องเป็นเท็จ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยไม่ยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งซึ่งรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดแล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่า บัญชีรายรับและรายจ่าย รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องเป็นเท็จ ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ไม่ชัดแจ้ง เพราะโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการยืนยันว่าการยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องของจำเลยไม่ตรงตามความจริงแล้วยังเป็นความเท็จอีกด้วย ส่วนจำเลยจะยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงอย่างไรก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง, 117 วรรคหนึ่ง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องชิงทรัพย์ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนสั้นชิงทรัพย์สร้อยคอทองคำราคา 7,000 บาท พระเครื่องเลี่ยมทองคำราคา 1,800 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ราคา 4,000 บาท กระเป๋าสตางค์ราคา 1,300 บาท ภายในบรรจุบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ บัตรเอทีเอ็ม ธนบัตร 4,400 บาท รวมเป็นเงิน 18,100 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อาวุธปืนยิงให้ตายหากขัดขืน เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และให้พ้นจากการจับกุม อันเป็นการกล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุชื่อผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์องค์ประกอบแห่งความผิดดังกล่าวอยู่ที่การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ซึ่งเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยลักเอาทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของไปโดยทุจริต เช่นนี้ฟ้องของโจทก์จึงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว โดยไม่จำต้องระบุชื่อผู้เสียหาย มิฉะนั้นหากไม่ทราบชื่อของผู้เสียหายก็จะทำให้ไม่มีทางที่จะฟ้องคดีในความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ได้ซึ่งไม่ใช่เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมาย