พบผลลัพธ์ทั้งหมด 948 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16918/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามสัญญาจำนองและข้อเท็จจริงที่จำเลย 4 ไม่ได้ผูกพันในหนี้ทั้งหมด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3225 ในวงเงินจำนองเพียง 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น แต่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่ 1 เป็นเงินถึง 19,143,180.49 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากยึดที่ดินจำนองโฉนดเลขที่ 1441 ของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์แล้วไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ จึงไม่เป็นไปตามที่ได้วินิจฉัยไว้ ซึ่งที่ถูกต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ หากยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์แล้วไม่พอ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ เนื่องจากจำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาผูกพันตนเข้าร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ดังกล่าว คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยที่ 4 ในหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการผิดหลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดหลงนั้นให้ถูกต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและคำวินิจฉัยของศาลได้แม้คดีจะถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15363/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองน้อยกว่าหนี้ประธาน: บังคับจำนองได้เฉพาะวงเงินจำนอง ส่วนที่เกินยังต้องรับผิด
กรณีหนี้จำนองมีจำนวนน้อยกว่าหนี้ประธาน หากเอาทรัพย์จำนองหลุดและทรัพย์สินนั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ หรือถ้าเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ เงินยังขาดอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดนั้น แต่ในส่วนที่เกินกว่าวงเงินจำนอง ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ประธานต่อเจ้าหนี้จนครบจำนวนต่อไป ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 5 กับโจทก์ จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากร 593,750 บาท จากหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเป็นหนี้ประธาน 1,255,291.40 บาท โดยไม่มีข้อตกลงยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ถ้านำที่ดินของจำเลยที่ 5 ขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่า 593,750 บาท เงินยังขาดจากจำนวน 593,750 บาท อยู่เท่าใด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดในส่วนของจำนวนเงินตามสัญญาจำนองที่ยังขาดอยู่ แต่หากนำที่ดินของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิมากกว่า 593,750 บาท เงินส่วนที่เกินจากจำนวน 593,750 บาท โจทก์ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 5 เนื่องจากเกินวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 5 มีเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 สำหรับจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ในส่วนที่เกินจำนวน 593,750 บาท ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้ประธานนั้น จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรค้างส่วนที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นความรับผิดต่างหากจากสัญญาจำนองในหนี้ค่าภาษีอากรที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14839/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนอง: คำร้องรับชำระหนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้เป็นคดีคู่ความเดิม
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 หรือไม่ ส่วนคดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองเป็นหนี้กู้ยืมผู้ร้อง อันเป็นหนี้ประธานหรือไม่ ส่วนที่มีคำขอให้บังคับจำนองที่ดินพิพาทเป็นหนี้อุปกรณ์ ประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องคดีนี้และตามคำพิพากษาในคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกัน แม้ทรัพย์จำนองจะเป็นแปลงเดียวกันและผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จะเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินพิพาทมาด้วย ก็เป็นการรับรองสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองในคดีเดิมเท่านั้น เมื่อประเด็นข้อพิพาทของคำร้องคดีนี้และตามคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกัน โดยผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองในคดีก่อนเจ้าหนี้รายอื่นได้ กรณีจึงหาเป็นเรื่องฟ้องซ้ำไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8929/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้จำนองไม่มีอำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ กรณีจำเลยขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน
นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์มีฐานะเพียงเจ้าหนี้สามัญของจำเลย การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงินแม้ทำให้โจทก์มีสิทธิในอันที่จะยึดโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยสิ้นเชิง แต่มิได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่ที่ดินหรือบังคับอย่างใด ๆ ต่อโฉนดที่ดินที่จำเลยวางเป็นประกันได้เลยไม่ว่าในทางใด โจทก์คงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินอย่างเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น ดังนี้การที่จำเลยไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าโฉนดที่ดินสูญหายไปเพื่อขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ ย่อมมิได้กระทบต่อสิทธิอย่างใด ๆ ของโจทก์ในอันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญมีอยู่อย่างไรคงมีอยู่เพียงนั้น มิได้ลดน้อยถอยลง ทั้งในการแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทนโฉนดที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ได้กล่าวพาดพิงเจาะจงถึงโจทก์ ในอันจะถือว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6244/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจำนอง: เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
ผู้ร้องบรรยายในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 1738 ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่โจทก์นำยึด ซึ่งจำเลยที่ 1 และ ก. เจ้าของรวมได้นำที่ดินดังกล่าวมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินของ น. เมื่อ น. ไม่ชำระหนี้ผู้ร้องจึงบอกกล่าวบังคับจำนองจำเลยที่ 1 และ ป. ทายาทโดยธรรมของ ก. ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง เนื้อหาตามคำร้องจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดส่วนที่เป็นของ ก. ออกจากเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนอง ซึ่งสิทธิของผู้ร้องถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดเวลาตามมาตรา 289 วรรคสอง ที่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องก่อนเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: สิทธิในการได้รับชำระหนี้จำนองและดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โดยขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี ต่อจากนั้นเจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และมาตรา 278 ดังนั้น การที่ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอีกจนพ้นกำหนดเวลาสิบปี ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่หนี้ตามคำพิพากษา แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองได้ระงับสิ้นไป การจำนองจึงยังคงมีอยู่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมายกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเป็นเวลาห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 เท่านั้น ผู้ร้องจะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งและการครอบครองที่ดิน: ผลของการจำนองและเจตนาสละการครอบครอง
ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องแย้ง แม้เป็นปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแย้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ของจำเลยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม มาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน และที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว จำเลยเคยนำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ ส. โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนอง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยเจตนาสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่ ส. แล้ว นับแต่วันพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนอง ส. ย่อมมีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์ได้ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ของจำเลยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม มาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน และที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว จำเลยเคยนำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ ส. โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนอง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยเจตนาสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่ ส. แล้ว นับแต่วันพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนอง ส. ย่อมมีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์ได้ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ, สัญญากู้, การคิดดอกเบี้ย, และการจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินคดีพิพาทสัญญา
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาธรรมดา ต้องเป็นสัญญาที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภาระผูกพันเพิ่มขึ้นต่างหากจากการปฏิบัติตามสัญญาโดยปกติทั่วไป การที่จำเลยอนุมัติสินเชื่อให้โจทก์เพื่อจัดทำโครงการศูนย์การค้าในวงเงิน 27,000,000 บาท แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ขอสินเชื่อได้เป็นคราว ๆ ไป โดยให้โจทก์ทำสัญญากู้ไว้แก่จำเลย ดังนั้น จำนวนวงเงินที่โจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลย เป็นแต่เพียงจำนวนเงินขั้นสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิได้รับการสนับสนุนจากจำเลยเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนเงินที่กำหนดไว้แน่นอนเพื่อผูกพันจำเลยตามที่ได้อนุมัติไว้แต่อย่างใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าสัญญาสนับสนุนโครงการศูนย์การค้าของโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดา
หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ต่างประเภทกัน มีเงื่อนไขและวิธีการในการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันตามที่คู่กรณีตกลงกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงกันให้จำเลยหักเงินในบัญชีกระแสรายวันเพื่อชำระหนี้เงินกู้ จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันใช้บังคับกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่จะให้จำเลยหักชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงตกลงยินยอมให้โจทก์เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวันเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยของจำเลยในกรณีนี้จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยแต่อย่างใดไม่
หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับหนี้ตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ต่างประเภทกัน มีเงื่อนไขและวิธีการในการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันตามที่คู่กรณีตกลงกัน เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงกันให้จำเลยหักเงินในบัญชีกระแสรายวันเพื่อชำระหนี้เงินกู้ จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันใช้บังคับกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่มีเงินเหลืออยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่จะให้จำเลยหักชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงตกลงยินยอมให้โจทก์เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวันเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยของจำเลยในกรณีนี้จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง หาใช่การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21413/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับชำระหนี้ทายาทของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองก่อนถึงกำหนดชำระหนี้หลัก
โจทก์กับบริษัท ด. ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดย ด. ผูกพันยอมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันและตามสัญญาจำนองที่มีอยู่เดิม ต่อมา ด. ถึงแก่ความตาย ไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้กองมรดกของ ด. และจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ด. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองประกันหนี้ของบริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กรณียังไม่ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ในการฟ้องบังคับให้กองมรดกของ ด. รวมทั้งจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ด. ให้รับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21165/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดของกรรมการ, การจำนอง และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหนี้
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 บัญญัติให้สหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 51 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้ ข้อบังคับของโจทก์ข้อ 65 ก็มีข้อความทำนองนี้ โดยในวรรคสอง กำหนดให้คณะกรรมการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติของคณะกรรมการดำเนินการ และมติของที่ประชุมใหญ่ รวมทั้งในเรื่องการฟ้องและดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ สำหรับหนังสือมอบอำนาจของโจทก์นั้น มีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 จำนวน 15 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจ เมื่อพิจารณาประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 71 พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 และข้อบังคับของโจทก์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการมอบอำนาจ ไม่ปรากฏว่าจะต้องให้กรรมการดำเนินการของโจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อเพื่อกระทำการแทนและให้มีผลผูกพันโจทก์ ดังนั้น แม้ต่อมาศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืน ทำให้ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีผลอยู่ โดยตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการของ บ. ซึ่งส่งผลให้การสมัครรับเลือกตั้งของ บ. ไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย บ. ไม่มีฐานะเป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ในขณะที่ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ตนเองและหรือ ส. กรรมการดำเนินการของโจทก์อีกคนหนึ่งเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่ยังเหลืออยู่อีก 14 คน ยังมีจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากที่จะดำเนินการแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 71 และถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแล้ว การดำเนินการของ ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์และผู้แต่งตั้งทนายความจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับ และหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง อายุความในมูลละเมิดมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่มาตรา 74 บัญญัติว่า ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ดังนั้น กรณีละเมิดทำให้โจทก์รับความเสียหายโดยมีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 24 ของโจทก์ทั้งคณะถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 ในคดีนี้ แม้จำเลยดังกล่าวจะเป็นผู้แทนของโจทก์อยู่ในขณะนั้น และได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการรู้นั้นเป็นการรู้ของโจทก์แล้วอันจะทำให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการชุดใหม่รู้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 และได้ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง อายุความในมูลละเมิดมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่มาตรา 74 บัญญัติว่า ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ดังนั้น กรณีละเมิดทำให้โจทก์รับความเสียหายโดยมีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 24 ของโจทก์ทั้งคณะถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 ในคดีนี้ แม้จำเลยดังกล่าวจะเป็นผู้แทนของโจทก์อยู่ในขณะนั้น และได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการรู้นั้นเป็นการรู้ของโจทก์แล้วอันจะทำให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการชุดใหม่รู้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 และได้ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ