พบผลลัพธ์ทั้งหมด 919 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด การลดโทษ และการไม่ริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่า 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่พยานโจทก์ทั้งสามยึดได้ในขณะจับกุมจำเลยทั้งสองที่ห้องพักโรงแรมที่เกิดเหตุถูกแบ่งมาจาก 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจค้นได้ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 มี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 1 เม็ด ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่ยึดได้จากห้องพักของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เท่ากับโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด รวมกันมาเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 ได้ เนื่องจากเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
ความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เท่ากับโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด รวมกันมาเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 ได้ เนื่องจากเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง และการลดโทษตามกฎหมายใหม่ที่ให้คุณแก่จำเลย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีข้อความทำนองเดียวกันตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง จึงต้องใช้มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับ ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสาม (2) ไม่เป็นคุณต้องใช้มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม ไม่เป็นคุณจึงต้องใช้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสอง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษต้องเป็นไปตามมาตรา 76 (เดิม) ที่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ที่กำหนดให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีของจำเลยที่ 1 จะยุติไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุดศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษต้องเป็นไปตามมาตรา 76 (เดิม) ที่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของศาล และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ที่กำหนดให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีของจำเลยที่ 1 จะยุติไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุดศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งในการลดโทษคดียาเสพติด ต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยปราบปรามการกระทำความผิดได้จริง
การที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 จะต้องประกอบด้วยเหตุสองประการ กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และข้อมูลนั้นจะต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ลำพังเพียงให้ข้อมูลแต่ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ธรรมดาที่มิได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หรือเป็นประโยชน์แต่มิใช่ข้อมูลที่สำคัญ ผู้ให้ข้อมูลหาได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าวไม่ คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจับกุมจำเลยได้แล้ว จำเลยได้ให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ที่บ้านของจำเลยพร้อมกับพาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนมาเป็นของกลางอีก 700 เม็ด กับจำเลยให้การต่อผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนถึงเส้นทางในการขยายผลเพื่อจับกุมผู้ร่วมกระทำผิดคนอื่นต่อไปด้วยนั้นก็ตาม แต่ของกลางดังกล่าวถูกซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้าในห้องนอนของจำเลยเอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจต้องติดตามไปตรวจค้นที่บ้านพักของจำเลยและตรวจพบของกลางได้โดยไม่ยาก ส่วนที่จำเลยให้การต่อผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนนั้น ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนมีการสืบสวนสอบสวนขยายผลในการจับกุมผู้กระทำความผิดอื่นมาดำเนินคดีโดยอาศัยข้อมูลของจำเลยแต่ประการใด ดังนี้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2554)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2554)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลฎีกาแก้โทษลดโทษจำเลย
การที่ ส. พูดว่าจะเอาอาวุธปืนมายิงจำเลยแล้วจำเลยพูดกับ ส. ว่า พูดไม่เข้าหู แล้ว ส., ม. และ น. ออกจากบ้านจำเลยไป เหตุโกรธเคืองยุติและขาดตอนไปแล้ว ระหว่างนั้นจำเลยย่อมมีโอกาสคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแต่พฤติการณ์ที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ ต. ขับติดตาม ส., ม. และ น. ไปโดยจำเลยเตรียมนำอาวุธปืนไปด้วยแสดงว่า จำเลยคิดไตร่ตรองแล้วว่าจะใช้อาวุธปืนที่เตรียมไปยิงผู้เสียหายที่ 1 เพื่อแก้แค้นทั้ง ต. ยังขับรถแซงรถของ ส. ไปดักรอ ส., ม. และ น. อยู่ข้างหน้า เมื่อรถของ ส. มาถึง จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ส. การกระทำของจำเลยต่อ ส. จึงเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4), 80 รวม 1 กระทง แต่ไม่ปรากฎว่าจำเลยกับ ม. และ น. มีเหตุโกรธเคืองกันจนจำเลยต้องคิดฆ่าบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยยิง ม. และ น. ก็เพราะบุคคลทั้งสองนั่งรถจักรยานยนต์มากับ ส. จึงเป็นการคิดฆ่าอีกกระทงหนึ่งในทันที มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288, 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ถือเป็นบันดาลโทสะ เหตุจากการโต้เถียงเรื่องย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะ ศาลลดโทษจำเลย
เพียงแต่ผู้ตายเป็นผู้ดำเนินการย้ายตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งที่หน้าบ้านจำเลยไปติดตั้งที่ศาลารวมใจ และโต้เถียงกับจำเลยในเรื่องดังกล่าว แม้ผู้ตายจะด่าจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคายดังที่จำเลยอ้าง ก็หาใช่เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ทั้งจำเลยเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านท้องที่เกิดเหตุ ไม่มีเหตุที่ผู้ตายจะข่มเหงจำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 และการลดโทษก่อนนำมารวมโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้" ข้อความของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่า อัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะพิจารณาลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทงแล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และ 78: ลำดับการลดโทษและการปรับโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้..." ฉะนั้นจากข้อความของบทบัญญัติของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่าอัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงพิจารณาลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทง แล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: คำรับสารภาพ, พยานหลักฐาน, และการลดโทษ
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ และเพียงแต่นำคำรับสารภาพดังกล่าวมารับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีนี้เกิดเหตุก่อนที่จะมีการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 84 จึงไม่ต้องห้ามที่จะรับฟังถ้อยคำรับสารภาพในชั้นจับกุม
จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยและ อ. ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก น. ที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ค. พร้อมกับแจ้งตำหนิรูปพรรณ ของ น. ต่อพนักงานสอบสวนด้วย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการจับกุม น. ผู้ที่จำเลยอ้างว่าจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษซึ่งจะมีเหตุบรรเทาโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2
จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยและ อ. ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก น. ที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ค. พร้อมกับแจ้งตำหนิรูปพรรณ ของ น. ต่อพนักงานสอบสวนด้วย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการจับกุม น. ผู้ที่จำเลยอ้างว่าจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษซึ่งจะมีเหตุบรรเทาโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายบุพการี ไม่ถึงเจตนาฆ่า ศาลลดโทษ
เหตุที่จำเลยถือขวานวิ่งไล่ฟันผู้เสียหาย เพราะโกรธที่ถูกกล่าวหาว่าลักพระจตุคามรามเทพ ผู้เสียหายวิ่งเข้าห้องนอนปิดประตู จำเลยฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวถูกประตูห้องนอนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเลือกที่จะฟันอวัยวะสำคัญที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และไม่ได้ฟันผู้เสียหายซ้ำอีกทั้งที่จำเลยสามารถทำได้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้ขวานฟันผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายผู้เสียหายซึ่งเป็นบุพการี และเป็นความผิดที่รวมอยู่กับความผิดฐานพยายามฆ่าบุพการีตามฟ้องของโจทก์ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และพรากเด็กจากผู้ปกครอง ศาลลดโทษตามกฎหมายใหม่
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเพียง 13 ปีเศษ เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอายุไม่เกินสิบห้าปีและมิใช่ภริยาของจำเลยไม่ว่าผู้เสียหายที่ 1 จะยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ จำเลยย่อมมีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และการที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่บ้านของ ส. ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร จำเลยมีความผิดฐานพรากเด็กอาจไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามด้วย แต่ขณะกระทำความผิดจำเลยยังเป็นวัยรุ่นกระทำความผิดด้วยความคึกคะนอง ทั้งผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนและพฤติการณ์แห่งคดียังไม่ร้ายแรงนัก ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราจำคุก 12 ปี และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุกไม่เกิน 8 ปี โดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เห็นว่า เป็นการกำหนดโทษที่หนักเกินไปและการให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกไปเสียเลยนั้นย่อมไม่เป็นผลดีแก่จำเลยและสังคม จึงเห็นสมควรกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่และให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีด้วยการรอการลงโทษให้จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงเห็นสมควรคุมความประพฤติของจำเลยด้วย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยอายุสิบเจ็ดปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษจะต้องลดตามมาตรา 76 (เดิม) และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 395 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21)ฯ มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน คดีนี้ขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยอายุสิบเจ็ดปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษจะต้องลดตามมาตรา 76 (เดิม) และมาตรา 75 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 395 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225