พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าจ้างและค่าทนายความเหมาะสมตามพฤติการณ์คดี ศาลฎีกามีอำนาจปรับแก้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
บทบัญญัติตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่ชนะคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 30,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.43 โดยประมาณ จากทุนทรัพย์ 7,000,000 บาท และอยู่ในเกณฑ์ระหว่างอัตราขั้นต่ำ 600 บาท ถึงอัตราขั้นสูง 350,000 บาท ตามกฎหมาย จึงถือมิได้ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลจะกำหนดความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งโดยหลักต้องตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น บทบัญญัติวรรคดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง และเมื่อค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่งตามที่บัญญัติในวรรคสองของมาตราเดียวกัน แม้ค่าทนายความจำนวน 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดจะไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่ศาลฎีกาพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีตลอดถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้แก่โจทก์สูงมากเกินควร ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481-482/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงพนักงานรายวัน: ส่วนจูงใจไม่เป็นค่าจ้าง แต่เบี้ยเลี้ยงรายวันเป็นการตอบแทนการทำงาน ต้องนำส่งกองทุน
การจ่ายเบี้ยเลี้ยงในส่วนของการทำงานครบจำนวนวันในงวดการทำงาน และได้รับเบี้ยเลี้ยงเพิ่มโดยรวมส่วนของวันหยุดประจำสัปดาห์นั้น การจะได้รับเบี้ยเลี้ยงส่วนนี้ต่อเมื่อทำงานครบจำนวนวันในงวดการทำงาน 15 วัน หากทำงานไม่ครบจำนวนวันจะไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง การจ่ายเบี้ยเลี้ยงส่วนนี้จึงมิใช่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ แต่เป็นการจ่ายเพื่อจงใจให้พนักงานรายวันขยันมาทำงานทุกวันจึงมิใช่ค่าจ้าง แต่การจ่ายเบี้ยเลี้ยงประจำวัน วันละ 10 บาท เป็นการจ่ายแก่พนักงานรายวันทุกวันที่มาทำงาน จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 5 ที่ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 5 ที่ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ผลสำเร็จคือคดีถึงที่สุด ค่าจ้างต้องจ่ายเมื่อผลสำเร็จนั้นเกิดขึ้น
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 จึงถือเอาผลสำเร็จของงาน คือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความจนคดีถึงที่สุด และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น คู่สัญญาอาจจะตกลงเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือขั้นตอนในการชำระหนี้กันอย่างไรก็ได้หากไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีประชาชน เมื่อไม่ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงจะชำระค่าจ้างว่าความเมื่อใด จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความเมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ คือเมื่อคดีถึงที่สุด เมื่อคดีที่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความแก่โจทก์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง หาใช่นับแต่วันที่โจทก์บังคับคดีให้แก่จำเลยเสร็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350-1351/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือน มิใช่การปรับขึ้นค่าจ้าง หากค่าจ้างรายเดือนไม่น้อยกว่าเดิม
ข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯกับจำเลย เอกสารหมาย จ.8 หรือ ล.9 ได้ระบุแยกกรณีการขึ้นค่าจ้างกับกรณีการปรับคนงานรายวันเป็นรายเดือนโดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งการปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือนมีผลเพียงทำให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามที่ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับ ไม่มีข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯ หรือจำเลยประสงค์ให้เป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไปด้วย แม้หากนำเงินเดือนหารด้วย 30 เป็นค่าจ้างต่อวัน อัตราค่าจ้างต่อวันที่โจทก์ทั้งสามได้รับน้อยลงกว่าเดิม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ใช่ลูกจ้างรายวันแล้วและค่าจ้างรายเดือนที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับไม่น้อยไปกว่าค่าจ้างรายวันที่โจทก์ทั้งสามเคยมีสิทธิได้รับรวมทั้งเดือน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยค้างจ่ายดังที่โจทก์ทั้งสามอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าจ้างทำของและการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง การจ้างทำของไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ
คำฟ้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมเป็นการเรียกค่าจ้างโฆษณางานประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันและจากสัญญาเดียวกันที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันทำขึ้น จึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ทั้งศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ โดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยให้โจทก์ไปจัดเรียงคำฟ้องฉบับใหม่ตามข้อเท็จจริงที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมแล้วนำมาเสนอต่อศาลแทนคำฟ้องเดิมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรค 2 (2)
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าจ้างทำของแก่โจทก์ในมูลหนี้ฐานผิดสัญญาจ้างทำของภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระอีกส่วนหนึ่งเกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับได้เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระในการทำป้ายโฆษณาโครงการของจำเลยซึ่งยังมิได้ระบุเรียกร้องไว้ในคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นฟ้องเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและขี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ซึ่งโจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าจ้างทำของแก่โจทก์ในมูลหนี้ฐานผิดสัญญาจ้างทำของภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระอีกส่วนหนึ่งเกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับได้เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระในการทำป้ายโฆษณาโครงการของจำเลยซึ่งยังมิได้ระบุเรียกร้องไว้ในคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นฟ้องเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและขี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ซึ่งโจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้าง กรณีการปรับโครงสร้างเงินเดือนตามมติ ครม. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหารและค่าบริการของพนักงานไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน และไม่นำมาคำนวณค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจัดอาหารและหอพักให้พนักงานอาศัยเป็นสวัสดิการโดยคำนวณเป็นค่าอาหารและค่าหอพักเพื่อถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษี จึงเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างเท่านั้นมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากแขกผู้มาใช้บริการร้อยละสิบแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบของค่าบริการทั้งหมดในปี 2540 จนถึงร้อยละเก้าสิบของค่าบริการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาส่วนที่เหลืออีกร้อยละสิบนั้นจำเลยหักไว้เพื่อเป็นต้นทุนของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกหักชำรุดเสียหายในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราวจำเลยจะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆ กัน ดังนั้น การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากแขกผู้มาใช้บริการร้อยละสิบแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบของค่าบริการทั้งหมดในปี 2540 จนถึงร้อยละเก้าสิบของค่าบริการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาส่วนที่เหลืออีกร้อยละสิบนั้นจำเลยหักไว้เพื่อเป็นต้นทุนของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกหักชำรุดเสียหายในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราวจำเลยจะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆ กัน ดังนั้น การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าจ้างต้องอาศัยข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่แค่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ที่บัญญัติให้นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ต้องนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง มิฉะนั้น คำสั่งนั้นเป็นที่สุด คำสั่งที่จะเป็นที่สุดตามมาตรานี้ต้องเป็นคำสั่งในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 เท่านั้น
ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่จะต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่จำเลยต้องปรับค่าจ้างเพิ่มตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 โจทก์ที่ 2 จึงหาจำต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่จะต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่จำเลยต้องปรับค่าจ้างเพิ่มตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 โจทก์ที่ 2 จึงหาจำต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่ารถยนต์สำหรับผู้บริหาร ไม่ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย
จำเลยเคยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้แก่โจทก์ซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้จัดการภาคใต้ ต่อมาจำเลยยกเลิกรถยนต์ประจำตำแหน่งของโจทก์เนื่องจากมีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ตามนโยบายของจำเลย แล้วจำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 20,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2545 อันเป็นวันหลังจากที่เรียกรถยนต์ประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์เป็นต้นไป เพื่อให้โจทก์นำเงินดังกล่าวไปซื้อหรือเช่ารถยนต์สำหรับใช้งานแทนรถยนต์ประจำตำแหน่งที่เรียกคืน และจำเลยจะจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้พนักงานตำแหน่งระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้น รถยนต์ประจำตำแหน่งจึงเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานที่ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยเรียกรถยนต์ประจำตำแหน่งคืนแล้วจ่ายเงินเดือนละ 20,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อซื้อหรือเช่ารถยนต์สำหรับใช้งานแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการเช่นเดียวกัน มิใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายเดือน แม้จะจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวนแน่นอนเท่าๆ กันทุกเดือน ก็มิใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำไปรวมคำนวณจ่ายเป็นค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายงานประกันชีวิตแก่ลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างเฉพาะงานวินาศภัย มิอาจเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม
โจทก์ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและธุรกิจประกันชีวิตต่อมาบริษัท ท. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2543 โดยรับโอนงานในส่วนประกันชีวิตจากบริษัท ท. มา ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2535 ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2543 บริษัท ท. ยังคงประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและธุรกิจประกันชีวิตทั้งสองประเภทควบคู่มาด้วยกันโดยยังไม่ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามมาตรา 121 วรรคสอง แต่เป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตภายใต้บทบัญญัติมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ที่ให้กระทำต่อไปได้ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัท ท. ต้องแยกรายรับและรายจ่ายของธุรกิจประกันชีวิตออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากรายรับและรายจ่ายของธุรกิจประกันวินาศภัย ดังนั้น งานในส่วนประกันวินาศภัยและงานในส่วนประกันชีวิตต่างก็เป็นงานของบริษัท ท. ผู้เป็นนายจ้างของโจทก์
หนังสือสัญญาข้อตกลงรับทราบเงื่อนไขในการจ้างทำขึ้นในตอนที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างทดลองงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2547 แต่ข้อความตามหนังสือก็ระบุว่าเป็นเงื่อนไขในการจ้างในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงื่อนไขที่ใช้เฉพาะในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานเท่านั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท ท. และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ดังนั้น การที่บริษัท ท. ให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริการวินาศภัยทำงานประกันชีวิตด้วย งานประกันชีวิตซึ่งเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของบริษัท ท. จึงเป็นงานในความรับผิดชอบของโจทก์โดยชอบด้วยเงื่อนไขในการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่โจทก์ทำงานประกันชีวิตให้บริษัท ท. ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จำเลยซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ก็รับโอนทรัพทย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์และลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันชีวิตจากบริษัท ท. แต่ไม่ได้รับโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมาด้วย และหลังจากวันที่ 27 มีนาคม 2543 ถึงวันที่โจทก์ถูกเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้โจทก์ทำงานประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างจากจำเลย
หนังสือสัญญาข้อตกลงรับทราบเงื่อนไขในการจ้างทำขึ้นในตอนที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างทดลองงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2547 แต่ข้อความตามหนังสือก็ระบุว่าเป็นเงื่อนไขในการจ้างในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงื่อนไขที่ใช้เฉพาะในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานเท่านั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท ท. และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ดังนั้น การที่บริษัท ท. ให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริการวินาศภัยทำงานประกันชีวิตด้วย งานประกันชีวิตซึ่งเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของบริษัท ท. จึงเป็นงานในความรับผิดชอบของโจทก์โดยชอบด้วยเงื่อนไขในการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่โจทก์ทำงานประกันชีวิตให้บริษัท ท. ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จำเลยซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ก็รับโอนทรัพทย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์และลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันชีวิตจากบริษัท ท. แต่ไม่ได้รับโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมาด้วย และหลังจากวันที่ 27 มีนาคม 2543 ถึงวันที่โจทก์ถูกเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้โจทก์ทำงานประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างจากจำเลย