พบผลลัพธ์ทั้งหมด 919 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11186/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด ส่วนจำเลยอื่นมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลพิจารณาโทษและลดโทษตามกฎหมาย
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้ว่าพวกของตนจะนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งให้แก่ผู้ซื้อ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์มายังจุดนัดและดักรอผู้ซื้อเพื่อพาไปหาพวกของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จ จึงเป็นตัวการมิใช่เพียงผู้สนับสนุน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่ ผ. จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ ผ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่สายลับ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 615 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีน้ำหนัก 56.30 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง แล้ว และเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 615 เม็ด ซึ่งตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางพบปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม ปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนตามรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาตรวจหาสารบริสุทธิ์แล้วจึงนำผลที่ได้มาคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลาง 600 เม็ด ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่กำหนดปริมาณสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษโดยการคำนวณ จึงคำนวณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่ามีปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์ 11.260 กรัม โดยไม่มีข้อสงสัยว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวอาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกับเมทแอมเฟตามีนส่วนอื่นที่จะทำให้ปริมาณสารบริสุทธิ์คำนวณได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่ ผ. จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ ผ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่สายลับ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 615 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีน้ำหนัก 56.30 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง แล้ว และเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 615 เม็ด ซึ่งตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางพบปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม ปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนตามรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาตรวจหาสารบริสุทธิ์แล้วจึงนำผลที่ได้มาคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลาง 600 เม็ด ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่กำหนดปริมาณสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษโดยการคำนวณ จึงคำนวณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่ามีปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์ 11.260 กรัม โดยไม่มีข้อสงสัยว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวอาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกับเมทแอมเฟตามีนส่วนอื่นที่จะทำให้ปริมาณสารบริสุทธิ์คำนวณได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11087/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีด จำคุก 6 เดือน รวมทุกกระทงคงให้ประหารชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) รวมทุกกระทงคงให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในชั้นฎีกาและการลดโทษกรณีให้ข้อมูลสำคัญช่วยปราบปรามยาเสพติด
จำเลยฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ประการหนึ่ง ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกอีกประการหนึ่ง การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา แม้จะถือว่าเป็นการขอแก้ไขคำให้การจากที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ ซึ่งจำเลยไม่อาจกระทำได้ เพราะการแก้ไขคำให้การจะต้องการกระทำก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง และไม่อาจถือว่าการที่จำเลยยื่นคำร้องนี้เป็นการยื่นคำร้องขอถอนฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 202 ประกอบมาตรา 225 เพราะจำเลยยังติดใจฎีกาในประเด็นการลดโทษและรอการลงโทษจำคุก ทั้งไม่อาจถือว่าเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฎีกาด้วยการสละประเด็นบางข้อเพราะพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 แล้ว แต่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริง โดยไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากจำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนแล้ว จำเลยยังให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจำเลยว่า จำเลยรับเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก อ. และจำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุม อ. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนประมาณ 20,000 เม็ด นับเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 สมควรกำหนดโทษจำเลยให้น้อยลง
นอกจากจำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนแล้ว จำเลยยังให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจำเลยว่า จำเลยรับเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก อ. และจำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุม อ. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนประมาณ 20,000 เม็ด นับเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 สมควรกำหนดโทษจำเลยให้น้อยลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8053/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ลักทรัพย์และสมคบกันเป็นซ่องโจร ศาลอุทธรณ์ลดโทษเหลือโทษหนักสุด
ศาลชั้นต้นลงโทษฐานร่วมกันสมคบกันกระทำอันเป็นซ่องโจร จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับฐานร่วมกันลักทรัพย์เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ซึ่งเมื่อหักโทษความผิดฐานเป็นซ่องโจรออกจากโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดคงจำคุก 4 ปี เป็นกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและกระทำชำเรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานร่วมกันกระทำความผิดและลดโทษจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามและมาตรา 277 วรรคสาม แต่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยปราศจากเหุตอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันซึ่งมีระวางโทษต่างกันไม่มากนัก และเป็นการแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดียาเสพติด: การให้การรับสารภาพต้องนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดอื่นหรือยึดยาเสพติดเพิ่ม
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน โดยซัดทอดว่าได้ร่วมกระทำความผิดกับ อ. หรือจำเลยที่ 2 และต่อมาภายหลังเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ให้การในรายละเอียดของคดีเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ เป็นการจับกุมในคดีเดียวกันกับที่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งโจทก์มีพยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อยู่แล้ว การที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่นำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่น หรือนำไปสู่การยึดได้ยาเสพติดให้โทษอีกจำนวนหนึ่งโดยไม่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของกลางคดีนี้ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากที่เกิดเหตุ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดียาเสพติด: การรับสารภาพและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องมีผลต่อการจับกุมผู้กระทำผิดรายอื่นจึงจะลดโทษต่ำกว่าขั้นต่ำได้
แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ก็เป็นเพียงเหตุบรรเทาโทษที่ศาลสามารลดโทษให้ได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ส่วนที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยซัดทอดว่าได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 และต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ให้การในรายละเอียดของคดีเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ก็เป็นคดีเดียวกันกับที่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งโจทก์มีพยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 อยู่แล้ว การที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่นำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษรายอื่น หรือนำไปสู่การยึดได้ยาเสพติดให้โทษอีกจำนวนหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของกลางคดีนี้ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากที่เกิดเหตุ กรณีของจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
การใช้ดุลพินิจลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 52 (2) นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละคดีเป็นการเฉพาะ เนื่องจากข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไม่เหมือนกัน แม้เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเช่นเดียวกันก็ตาม ข้อเท็จจริงในคดีอื่นไม่อาจนำมาใช้แก่คดีนี้ได้
การใช้ดุลพินิจลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็นจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 52 (2) นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละคดีเป็นการเฉพาะ เนื่องจากข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไม่เหมือนกัน แม้เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเช่นเดียวกันก็ตาม ข้อเท็จจริงในคดีอื่นไม่อาจนำมาใช้แก่คดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลจากผู้ต้องหาต้องเป็นประโยชน์นอกเหนือวิสัยตำรวจ จึงจะลดโทษได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ม.100/2 บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่า ผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้" ซึ่งข้อมูลที่ผู้กระทำความผิดให้ต่อเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้นั้น จะต้องมีลักษณะเป็นการนอกเหนือจากวิสัยที่เจ้าพนักงานจะสามารถค้นพบได้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และในการปราบปรามยาเสพติดให้โทษของเจ้าพนักงานต่อจากนั้นเป็นผลโดยตรงจากการให้ข้อมูลหรือเบาะแสที่สำคัญของผู้กระทำความผิด แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกจับกุม จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำว่า จำเลยที่ 1 รับจ้างจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะไปลำเลียงเมทแอมเฟตามีน จากสหภาพพม่าเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้คุ้มกัน ส่วนบันทึกคำรับสารภาพที่เขียนด้วยลายมือของตนเองก็กล่าวแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างจำเลยที่ 3 และที่ 4 เดินเข้าไปในสหภาพพม่าเพื่อลำเลียงเมทแอมเฟตามีน ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้เจ้าพนักงานตำรวจที่มาเบิกความต่างก็ยืนยันว่ามีการสืบสวนหาข่าวและทราบมาก่อนทั้งสิ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ จากนั้นได้มีการวางแผนจับกุมและแกะรอยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จนกระทั่งจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ คำให้การของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้สมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษตามกฎหมาย และศาลแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าเมทแอมเฟตามีน 3,985 เม็ด ที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์จำนวนเท่าใด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าเมทแอมเฟตามีน 3,985 เม็ดมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์จำนวนเท่าใด และจะคำนวณตามรายงานการตรวจพิสูจน์เทียบเคียงว่า เมทแอมเฟตามีน 5,185 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 142.226 กรัม เมทแอมเฟตามีน 3,985 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินกว่า 20 กรัม หาได้ไม่ ต้องถือว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ปรากฏว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษหลายกระทง, ลดโทษที่ถูกต้อง, และการลงโทษปรับควบคู่จำคุกในคดีอาญา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เพิ่งจะบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แต่คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยทั้งสองซึ่งมีอายุ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ย้อนหลังดังนั้น การสอบสวนและจัดทำบันทึกการสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมย่อมชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นแล้ว
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225