พบผลลัพธ์ทั้งหมด 926 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3661/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้ง: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งเดิมไม่ได้ หากศาลชั้นต้นมิได้ใช้ดุลพินิจผิด
เนื่องด้วยระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ข้อ 4 ระบุว่า อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 7 และตารางท้ายระเบียบนี้ ดังนั้น อัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 จึงมี 2 อัตรา คือ อัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 7 และอัตราที่กำหนดไว้ตามตารางอัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ท้ายระเบียบ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดเงินรางวัลทนายความผิดกฎหมายหรือระเบียบ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่อาจก้าวล่วงไปกำหนดเงินรางวัลทนายความเพิ่มเติม เพราะอำนาจในการกำหนดเงินรางวัลทนายความเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดเงินรางวัลทนายความผิดกฎหมายหรือระเบียบ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่อาจก้าวล่วงไปกำหนดเงินรางวัลทนายความเพิ่มเติม เพราะอำนาจในการกำหนดเงินรางวัลทนายความเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างเหตุป้องกันในคดีฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา โจทก์ฎีกาแต่ถูกยกคำร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จำเลยให้การต่อสู้อ้างเหตุป้องกัน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ อันถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยมิได้กระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนตาม ป.อ. มาตรา 288 โดยเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน โจทก์จึงฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาโดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยมิได้เป็นการกระทำเพื่อป้องกันอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12128/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยที่ 2 จากการรับสารภาพ และข้อผิดพลาดในการรวมโทษของศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง จำคุก 6 เดือน ฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000,000 บาท ฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมโทษจำเลยที่ 1 ทุกกระทงแล้วให้จำคุกตลอดชีวิตและปรับ 2,000,000 บาท แล้วลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10327/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จสิ้นก่อนศาลฎีกาตัดสินเรื่องการเข้าเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสิบเอ็ด (คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) ที่สั่งให้โจทก์รับผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างที่โจทก์เลิกจ้างกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลแรงงานกลางยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบเอ็ดต่อไปโดยไม่รอว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องก่อน แล้วมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลแรงงานกลางต่อศาลฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นจำเลยร่วมก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดซึ่งจะทำให้คดีต้องล่าช้าออกไป ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา
ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบเอ็ดต่อไปโดยไม่รอว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องก่อน แล้วมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลแรงงานกลางต่อศาลฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นจำเลยร่วมก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดซึ่งจะทำให้คดีต้องล่าช้าออกไป ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9181/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้พิพากษาไม่ได้อ่านเอง แต่ทนายโจทก์ทราบเนื้อหาและไม่ได้โต้แย้ง
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสอง มีจุดมุ่งหมายให้คู่ความได้ทราบคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา ดังนั้นเมื่อในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์ฟังแล้ว โดยผู้รับมอบฉันทะทนายโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ โดยมิได้โต้แย้งทันทีว่าการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ซึ่งต่อมาโจทก์ก็ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าคดีมีมูล แสดงว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยซ้ำ
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8021/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องโต้แย้งเหตุผลศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่แค่คัดลอกคำศาลชั้นต้น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง วางหลักในการยื่นฎีกาประการหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างนั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา คดีนี้โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับฟังได้ว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย และโจทก์คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในปัญหาดังกล่าว โดยคัดลอกคำตัดสินของศาลชั้นต้นทุกถ้อยคำในส่วนที่ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยจนจบคำวินิจฉัยในปัญหานี้ ซึ่งในปัญหาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้หลายประการที่ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ซึ่งต่างไปจากเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ ฎีกาของโจทก์จึงต้องโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่รับฟังข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลมานั้น ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงอย่างไรและด้วยเหตุผลใด มิใช่อ้างแต่เพียงว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องและศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงถูกต้องชอบด้วยเหตุผลแล้วเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6891/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดชั่วคราวสิ้นผลเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง และโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวต่อไป
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดพันธบัตรของจำเลยไว้ชั่วคราว ก่อนพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหากโจทก์ประสงค์ให้คำสั่งวิธีการชั่วคราวนั้นมีผลใช้บังคับต่อไป โจทก์จะต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษานั้นและมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปหรือไม่ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอดังที่กล่าวข้างต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวจึงเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22318/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: การยกเว้นข้อจำกัดความรับผิดต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยไว้ที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางทะเล โดยมิได้ระบุว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากการที่จำเลยทั้งสาม ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยทั้งสามกระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการเสียหาย หรือโดยละเลย หรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ และจำเลยที่ 3 ทราบราคาของที่ขนส่งตามใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.5 แล้ว เพื่อให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในความเสียหายแก่โจทก์โดยไม่ให้จำกัดความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 58 และมาตรา 60 (1) (4) การที่โจทก์อ้างถึงเหตุดังกล่าวในอุทธรณ์เพื่อให้เข้าข้อยกเว้นการจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสามผู้ขนส่ง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้นำพยานมาสืบโต้แย้ง แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหามิได้ยกข้อยกเว้นที่จะทำให้ไม่ให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งขึ้นอ้างมาแต่ต้นแล้ว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งย่อมเป็นไปตามผลของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19938/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยผิดพลาด ศาลฎีกาแก้
ปรากฏตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสองว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างมีหน้าที่ร่วมกันและช่วยกันในการคุ้มครองดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าหัวนาหว้า ทรัพย์สินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว การดำเนินการตามหน้าที่ดังกล่าวของผู้ร้องสอดคนใดคนหนึ่งย่อมผูกพันผู้ร้องสอดอีกคนหนึ่งตามที่มีหน้าที่ร่วมกัน ผลแห่งคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 หมายเลขแดงที่ 1288/2549 ของศาลชั้นต้น ที่แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่ย่อมมีผลผูกพันถึงผู้ร้องสอดที่ 1 ด้วยเช่นกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด