คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้างจากค่าเที่ยว และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเนื่องจาก ส. ประสบอุบัติเหตุตกจากรถและแขนขวาได้รับบาดเจ็บ ส. จึงไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเพราะได้รับค่าเที่ยวน้อยลง และ ส. แสดงใบรับรองแพทย์ภายหลังโจทก์เลิกจ้าง ส. แล้ว ส. จึงมีเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง ผู้รับจ้างขนส่งน้ำมัน การจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย
การทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันให้จำเลยแม้จะไม่ได้กำหนดเวลาทำงานไว้แต่ก็กำหนดโดยใช้ผลงานเป็นเกณฑ์ ซึ่งการจะทำผลงานให้ได้ตามเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 45 เที่ยว โจทก์จะต้องมาทำงานภายในช่วงเวลาทำงานที่จำเลยกำหนดไว้นั่นเอง มิได้มีอิสระที่จะปฏิบัติงานในเวลาใดหรือไม่ก็ได้ สินจ้างที่โจทก์ได้รับเป็นรายเที่ยวก็เป็นผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 60 โจทก์จึงเป็นลูกจ้างจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 และตามสัญญาจ้างแรงงาน และแม้ว่าตามสัญญาขนส่งน้ำมันจะเรียกโจทก์ว่า "ผู้รับจ้าง" และเรียกจำเลยว่า "ผู้ว่าจ้าง" ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6335/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีต่อศาล และอายุความค่าจ้างต่างจากเงินประกัน
การมีคู่สัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิคู่กรณีมิให้นำเสนอคดีต่อศาลเสียทีเดียว ดังนั้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดต่อศาลแล้ว หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เมื่อจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องขอต่อศาล ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
เงินประกันผลงานที่จำเลยหักจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้โจทก์ในแต่ละงวดเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยในฐานะคู่สัญญาประสงค์จะใช้เป็นหลักประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างค้างชำระที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาสร้างบ้านชำรุด: ศาลตัดสินให้จ่ายค่าจ้างหักค่าแก้ไขบกพร่อง
เมื่อโจทก์ทำงานงวดที่สองชำรุดบกพร่องไม่ถูกต้องตามสัญญาจ้าง และจำเลยได้ให้โจทก์แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนแต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมแก้ไข โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยถือว่าเป็นการเลิกกันโดยปริยาย สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากโจทก์ได้ทำงานงวดที่สองให้จำเลยเสร็จแล้วจึงไม่อาจให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ กรณีต้องบังคับตามมาตรา 391 วรรคสาม จำเลยต้องใช้เงินค่าก่อสร้างในงวดที่สองให้แก่โจทก์แทน จำเลยไม่มีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างเสียทั้งหมด เมื่องานของโจทก์มีสิ่งบกพร่องและจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งบกพร่องให้เป็นไปตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยชอบที่จะว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งบกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 594 และจำเลยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเท่าที่เสียไปจากค่าจ้างของงานงวดที่สองเท่านั้น
เหตุที่โจทก์ทำงานบกพร่องเนื่องจากจำเลยขอเปลี่ยนแบบ ขยายห้องนอนให้กว้างขึ้น ใช้วัสดุผิดจากแบบแปลน ทำให้โครงเหล็กรับน้ำหนักมากกว่าแบบทำให้โค้งงอ จำเลยต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความบกพร่องดังกล่าวด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ว่าจ้างบุคคลใดให้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงกำหนดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคคลภายนอกแก้ไขข้อบกพร่องตามความเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างเหมาจ่ายรวมค่าล่วงเวลาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และการคำนวณค่าล่วงเวลาที่ถูกต้อง
การคำนวณว่านายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ต้องรู้อัตราค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติเสียก่อนยิ่งไปกว่านั้นหากนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลาคราวใด นายจ้างอาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เฉพาะในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นกรณีฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 และมาตรา 61 ข้อตกลงรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง จึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างทั้งมีลักษณะเป็นการผูกพันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไปโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป และโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาอีกด้วย จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดกิจการชั่วคราวของนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และการจ่ายค่าจ้างร้อยละ 50
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษกิจสามารถหยุดดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปหรือบรรเทาลงได้ ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันว่า ในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวโจทก์ผลิตสินค้าบางส่วนเพราะมีวัตถุดิบเหลืออยู่ เมื่อวัตถุดิบหมดก็หยุดผลิต และปรากฏตามงบการเงินของโจทก์และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ศาลแรงงานกลางนำมาประกอบการวินิจฉัย และคู่ความไม่โต้แย้งว่าโจทก์มีทุนตจดทะเบียน 100,000,000 บาท มีวัตถุดิบคงเหลือ 30,800,000 บาท งานระหว่างทำ 16,700,000 บาท โจทก์เจรจากับเจ้าหนี้เงินกู้ระยะยาวเพื่อหาแนวทางการขายกิจการและจ่ายคืนเงินกู้ แสดงว่าแม้โจทก์จะมีการผลิตระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2546 แล้ว โจทก์ก็ยังคงมีวัตถุดิบคงเหลือและงานระหว่างทำ (สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิด) เหลืออยู่อีก การผลิตของโจทก์ในช่วงที่หยุดกิจการชั่วคราวจึงเป็นไปเพื่อไม่ให้วัตถุดิบและงานระหว่างทำเสียเปล่าทั้งยังมีรายรับเข้าสู่กิจการ เป็นการบรรเทาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทางหนึ่ง ส่วนที่โจทก์สั่งสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายนั้น ปรากฏตามคำสั่งของจำเลยว่าโจทก์ประกอบกิจการผลิตลวดเหล็ก ลวดผูกเหล็ก ลวดชุบสังกะสี ตะแกรงเหล็กเสริมคอนกรีต ลวดตาข่ายทุกชนิด ไม่ได้ประกอบกิจการประเภทซื้อมา-ขายไป การที่โจทก์สั่งสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายก็เพราะมีราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของโจทก์ เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ใช่โจทก์เปลี่ยนประเภทกิจการ การพิจารณาว่าโจทก์จำเป็นต้องหยุดกิจการหรือไม่ต้องพิจารณาจากการประกอบกิจการผลิตของโจทก์ เมื่อปรากฎว่าโจทก์ขาดทุนสะสมถึง 114,000,000 บาท เกินกว่าทุนจดทะเบียนที่มีเพียง 100,000,000 บาท ไม่มีคำสั่งซื้อและสินค้าที่ผลิตจำหน่ายไม่ได้จนโจทก์ต้องหาทางขายกิจการเพื่อนำมาจ่ายคืนให้เจ้าหนี้ จึงเป็นกรณีโจทก์มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานจำเลยเบิกความว่าโจทก์สั่งซื้อวัตถุดิบมาผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่อง ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีรายการสั่งซื้อจากลูกค้าและสินค้าที่ผลิตขายไม่ได้ไม่อาจรับฟังได้ เป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังตามคำแถลงรับของคู่ความที่ว่าโจทก์ดำเนินการผลิตจนวัตถุดิบที่เหลืออยู่หมดก็หยุดผลิตต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าจ้างเป็นเงินประกันโดยไม่ได้รับความยินยอม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องคืนเงินให้ลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 เป็นช่างซ่อมบำรุง ไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของโจทก์ ที่โจทก์หักค่าจ้างร้อยละ 5 ไว้เป็นเงินประกันหรือเงินสะสมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10, 76 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะดำเนินธุรกิจแข่งขันกับโจทก์ในขณะที่ยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย และจำเลยที่ 2 ใช้เวลาทำงานไปทำกิจการส่วนตัวอันเป็นการทุจริตเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 10.2 หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์เพื่อปฏิเสธที่จะคืนเงินค่าจ้างของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์หักไว้ หากจำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ยังเป็นลูกจ้างโจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินคดีฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่ได้ดำเนินคดีไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ลาออกจากการเป็นลูกจ้าง โจทก์ต้องคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่จำเลยที่ 2 คดีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้โจทก์คืนเงินที่โจทก์หักจากค่าจ้างของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าจ้างคนละประเภทกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเรียกค่าทำงานในวันหยุดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1524/2547 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2547 แก่โจทก์ แม้คดีนี้กับคดีก่อนจะเป็นการฟ้องตามสัญญาจ้างแรงงานเหมือนกันก็ตามแต่ก็เป็นคำฟ้องเรียกเงินคนละประเภทกัน มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและประเด็นที่วินิจฉัยต่างกัน จึงไม่ใช่เป็นการยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18-30/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามข้อตกลงสภาพการจ้าง, การประเมินผลการทำงาน, อายุความค่าจ้าง
โจทก์ได้รับการประเมินผลงานเป็นคะแนนที่ต่ำกว่าเกรด D ไม่อาจอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาเรียกร้องให้จำเลยปรับเพิ่มค่าจ้างตามฟ้องได้อยู่แล้ว ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10707/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความ: การคิดค่าจ้างตามผลสำเร็จ แม้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ตกลง
ปัญหาว่าสัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์รับเอาส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้รับจากลูกความขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยมีสิทธิยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามสัญญาจ้างว่าความกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย โดยจำเลยจะต้องชำระค่าทนายความแก่โจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่าหากศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งที่ดินให้แก่ ช. เท่านั้น ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของจำเลยเช่นเดิม จำเลยหาได้ทรัพย์สินเพิ่มเติมจากการเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ การที่คิดค่าทนายความตามผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จึงมิใช่เป็นการคิดค่าทนายความตามส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเป็นความ สัญญาว่าจ้างความจึงไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะตกลงค่าจ้างว่าความไว้ในอัตราสูงก็หาได้ทำให้สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าว่าความเต็มจำนวน
of 88