คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลชั้นต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 926 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19246/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษพร้อมกันหลายสำนวน โดยไม่ต้องแถลงซ้ำ
โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาอื่นอีกสี่สำนวนของศาลชั้นต้นในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้กับในคดีอื่นอีกสามสำนวนติดต่อกันไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอื่นอีกสามสำนวนนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ อย่างไร ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอื่นอีกสามสำนวนนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้นับโทษจำเลยติดต่อกันได้ โดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17438/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุ้มครองชั่วคราวหลังมีคำพิพากษา: ศาลฎีกาไม่พิจารณาคำร้องหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
ในเรื่องวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงหมดความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17194/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น และข้อยกเว้นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง เฉพาะวิธีพิจารณาในส่วนที่ว่า ข้อเท็จจริงที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและในส่วนที่ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเท่านั้น ส่วนบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ว่าปัญหาข้อเท็จจริงอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น คู่ความมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้นั้นมิได้นำมาใช้บังคับด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15358/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ชอบเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แม้เหตุผลต่างจากศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 5 ถึง 8 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ แม้จะอาศัยเหตุผลต่างกัน แต่ผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งว่าคดีของโจทก์มีมูลและให้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 มา จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12193/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยมิได้สืบพยานในชั้นพิจารณา เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การพิจารณาและสืบพยานในศาลให้ทำ โดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ประกอบกับขณะมีการพิจารณาคดีนี้ ป.วิ.อ. ยังมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 226/5 ซึ่งมีข้อความว่า ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ แม้โจทก์มีพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และในชั้นพิจารณาจำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ออกเช็คตามฟ้องและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองได้แถลงร่วมกันว่า ประสงค์จะต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โจทก์จึงมีภาระต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความจริงว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องจริง เมื่อโจทก์ไม่นำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณา คงยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีต่อศาลชั้นต้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่นำสืบพยานเพื่อสนับสนุนว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิด จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10892/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โต้เถียงเจตนาฆ่าในคดีพยายามฆ่า ถือเป็นการยกประเด็นใหม่ที่ไม่เคยว่ากล่าวในชั้นศาลล่าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ฉ. ผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า จำเลยลงมือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เพราะกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย จึงทำให้ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 13 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง และจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยอ้างว่าจำเลยพยายามใช้จอบทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น เท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยหรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้น ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9907/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลชั้นต้นในการกำหนดเงินรางวัลทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 และระเบียบศาลฯ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายเงินรางวัลแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ เป็นคำสั่งตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม จึงเป็นคำสั่งในทางคดี ซึ่งบัญญัติให้ศาลเป็นผู้จ่ายเงินรางวัลตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ข้อ 5 และข้อ 6 นั้น กำหนดให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้กำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วหรือเมื่อทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว ในกรณีที่มีการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกายังให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลเพิ่มเติมการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาให้ทนายความตามที่เห็นสมควร เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นกำหนดเงินรางวัลทนายความในคดีนี้ให้ผู้ร้องตามอัตราที่ระเบียบกำหนดไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งว่าศาลชั้นต้นกำหนดเงินรางวัลให้ผู้ร้องไม่เหมาะสมแก่หน้าที่ ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดเงินรางวัลให้ใหม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมไม่อาจกำหนดเงินรางวัลให้ผู้ร้องได้ เพราะเป็นหน้าที่โดยเฉพาะของศาลชั้นต้นตามระเบียบดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8604/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาในคดียาเสพติด: ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโดยไม่ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ถือไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาไม่รับฎีกา
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" เมื่อผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ศาลฎีการับฎีกาของผู้คัดค้านไว้วินิจฉัย การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของผู้คัดค้านว่า รวม และสั่งรับฎีกาผู้คัดค้าน โดยไม่ส่งคำร้องของผู้คัดค้านให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจะรับฎีกาผู้คัดค้านหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรจะได้วินิจฉัย จึงไม่อนุญาตให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6912/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: การพิจารณาคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งในคำร้องและคำสั่งรับอุทธรณ์ประกอบกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่า "พิเคราะห์แล้ว มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้" และมีคำสั่งในอุทธรณ์ในวันเดียวกันว่า "ศาลรับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ รับอุทธรณ์ของจำเลย..." ซึ่งการรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องขอให้รับรองอุทธรณ์จะไม่มีข้อความยืนยันว่าตนรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ขณะเดียวกันศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวกันได้มีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความยืนยันรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อนำคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องและอุทธรณ์มาพิจารณาประกอบกันรับฟังได้ว่า คำรับรองของศาลชั้นต้นมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงถือว่าเป็นการรับรองอุทธรณ์โดยชัดแจ้งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นอายุความ แม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ชี้ขาดถูกต้องตามกฎหมาย
ประเด็นในเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีในชั้นชี้สองสถานแล้วเพียงแต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นจึงไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งมีผลเป็นการกลับคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นเรื่องอื่นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยซึ่งรวมทั้งประเด็นเรื่องอายุความด้วยหรือวินิจฉัยไปเสียทีเดียว หากเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสามต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยอาจเกิดความล่าช้าต่อการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจที่จะหยิบยกเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้และยังไม่ยุติไปขึ้นวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 และ 243 การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
of 93