พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18358/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลที่ซื้อทรัพย์สินจากผู้อื่นโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้ทรัพย์สินนั้นได้มาจากการฉ้อโกง ก็ไม่ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะถูก ส. ฉ้อโกงหลอกลวงซื้อปุ๋ยจากโจทก์อันมีผลทำให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับ ส. ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ถูกกลฉ้อฉลตกเป็นโมฆียะและโจทก์จะบอกล้างโมฆียะกรรมแล้วก็ต้องห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 160 ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งปุ๋ยพิพาทโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตเช่นนี้ สิทธิของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เสียไปถึงแม้ว่า ส. ผู้โอนทรัพย์สินให้จำเลยที่ 1 จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมที่ทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์อันตกเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1329 จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่คืนปุ๋ยพิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17705/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานซ่องโจรและฉ้อโกงจากการล็อกเลขรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีแบ่งหน้าที่กันทำโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. หลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการร่วมออกรางวัล ซึ่งจะตักตลับลูกบอลในภาชนะที่ตนอยู่ประจำหลักด้วยวิธีเสี่ยงทาย ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. มิได้เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่แท้จริง และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ได้ทำเครื่องหมายที่ตลับลูกบอลด้วยสารเคมีตามวิธีการที่วางแผนซักซ้อมกันมา แล้วจะเลือกตักเอาลูกบอลที่มีเครื่องหมายดังกล่าวซึ่งเป็นลูกบอลหมายเลข 1 โดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามฟ้อง นอกจากนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่กันกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีเพื่อจะกระทำความผิดดังกล่าว ย่อมเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อตระเตรียมกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานซ่องโจรด้วย
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16889/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงจากการหลอกลวงพนักงานรับจำนำทองคำ โดยใช้ทรัพย์สินของผู้เสียหายอ้างเป็นของลูกค้า
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายซึ่งประกอบอาชีพค้าขายทองคำและเป็นผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ขายทองคำของผู้เสียหายให้แก่ลูกค้า และยังมีหน้าที่รับจำนำทองคำของลูกค้าด้วย จำเลยใช้กลอุบายนำสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายที่จำเลยมีหน้าที่ขายให้แก่ลูกค้าไปบอกแก่พนักงานเก็บเงินในร้านของผู้เสียหายว่าเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำแก่ทางร้าน เมื่อพนักงานเก็บเงินส่งมอบเงินซึ่งเป็นของผู้เสียหายที่จะต้องนำไปมอบให้แก่ลูกค้าที่นำทรัพย์มาจำนำให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้าง จำเลยก็รับเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตน การกระทำของจำเลยมิใช่เอาเงินของผู้เสียหายไปโดยพลการโดยทุจริต หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำ การที่จำเลยได้เงินของผู้เสียหายไปจึงเกิดจากการที่พนักงานเก็บเงินซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายหลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14783/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเช็คปลอมและการเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกงธนาคาร
การที่จำเลยมอบเช็คปลอมให้พนักงานของผู้เสียหายนำไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็คด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อแท้จริงของ ธ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วม เงินที่จำเลยได้ไปจึงเป็นเงินของธนาคารมิใช่เงินของโจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักเงินของโจทก์ร่วมแต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของโจทก์ร่วม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักเงินโจทก์ร่วม และฟังได้ว่าจำเลยฉ้อโกงธนาคารเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง จึงเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วมได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสำคัญกว่าการผิดสัญญา: คดีฉ้อโกงซื้อขายรถ
จำเลยกับพวกติดต่อขอซื้อรถกระบะจากผู้เสียหายในราคา 430,000 บาท ชำระเงินดาวน์ในวันทำสัญญา 150,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทเงินทุน จ. ในวันดังกล่าวจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้กรอกข้อความไว้พร้อมมอบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้เสียหาย แล้วพนักงานของบริษัทเงินทุน จ. นำสัญญาเช่าซื้อที่ยังไม่ได้กรอกรายละเอียดให้จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้เช่าซื้อไว้ จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์มาตั้งแต่ต้น การที่บริษัทเงินทุน จ. ยกเลิกการเช่าซื้อในเวลาต่อมาเนื่องจากจำเลยไม่นำรถไปตรวจสภาพ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เสียหายส่งมอบรถกระบะแล้ว มิได้เกิดจากการหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ การที่จำเลยมิได้ชำระราคาเช่าซื้อส่วนที่เหลือก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13876/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน และเจตนาฉ้อโกง ทำให้ไม่มีความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์
พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยาม คำว่า "การฌาปนกิจสงเคราะห์" หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ตกลงเข้ากันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรเพื่อแบ่งปันกัน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการฌาปนกิจสงเคราะห์คือการตกลงเข้ากันของบุคคลหลายคนที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวเสียก่อน จากนั้นกฎหมายจึงบัญญัติให้กิจการดังกล่าวต้องดำเนินการจดทะเบียนในรูปของฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนตามมาตรา 50 เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยเก็บค่าสมาชิกคนละ 2,000 บาท และเก็บเงินค่าช่วยเหลือจัดการศพจากสมาชิกศพละ 20 บาท โดยจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า "ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง" โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมหรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย กับบรรยายฟ้องในข้อ ข. สรุปว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงต่อประชาชนด้วยคำพูดว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันก่อตั้งฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งหรือก่อตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ดังกล่าวขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง และโดยการหลอกลวงนั้นจำเลยทั้งสองจึงได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหายหลายรายที่หลงเชื่อ ชำระเงินเพื่อเป็นค่าสมาชิกและค่าจัดการศพ จากการบรรยายฟ้องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้ข้ออ้างดังกล่าวหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อให้ได้เงินที่ประชาชนจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองในรูปแบบที่เรียกว่าค่าสมัครสมาชิกและค่าจัดการศพเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมิได้มีเจตนาที่จะดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อันเป็นองค์ประกอบความผิดข้อหาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ได้จดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายตามคำขอให้ลงโทษของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยปกปิดสถานะล้มละลายของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันมีความผิดด้วย
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบคำพิพากษานั้นและมิได้ระบุถึงผลของการประกาศโฆษณาโดยแจ้งชัด ซึ่งตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้พออนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำพิพากษาให้ล้มละลายที่ประกาศโฆษณาแล้วหรือไม่เท่านั้น ดังนี้ ผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบถึงคำพิพากษาให้ล้มละลายก็ได้
จำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ร่วมปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยที่ 1 ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก่อนที่จะทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่า จำเลยที่ 1 สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินและมีผลบังคับตามกฎหมายได้ จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
จำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ร่วมปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยที่ 1 ตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก่อนที่จะทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่า จำเลยที่ 1 สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินและมีผลบังคับตามกฎหมายได้ จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 แล้ว จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายวางแผนล่อให้จำเลยกระทำความผิดฉ้อโกงเอง ไม่ถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ส. ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักข่าวสถานีโทรทัศน์ อ. กำลังทำรายการ "ทำผิดอย่าเผลอ" ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ม. ว่าถูกจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นกลุ่มหลอกขายเหล็กไหลหลอกลวงจนต้องสูญเงินไปหลายแสนบาท ผู้เสียหายกับ ม. จึงดำเนินการวางแผนเพื่อการจับกุมด้วยการติดต่อกับกลุ่มของจำเลยทั้งห้า หลังจากที่มีการติดต่อกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวจนทราบแน่ชัดว่ามีพฤติกรรมในการหลอกลวงจริง จึงประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุม โดยผู้เสียหายนำเงินที่จะต้องวางประกันในการทำสัญญาจะซื้อจะขายเหล็กไหลไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็เพื่อจะได้เป็นหลักฐานของการกระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง โดยการหลอกล่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งก็คือจำเลยทั้งห้ามากระทำความผิดอันเป็นการก่อให้จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง มิใช่เป็นเพราะจำเลยทั้งห้ามีเจตนาจะฉ้อโกงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย มีผลทำให้การสอบสวนในความผิดดังกล่าวไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9663/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงธนาคารไม่ใช่ฐานยักยอกทรัพย์ ผู้เสียหายไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง
ผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยเบิกเงิน 490,000 บาท จากบัญชีของผู้เสียหายที่เปิดไว้ที่ธนาคาร แต่เป็นเจตนาของจำเลยที่ต้องการได้เงินโดยมิชอบและหาวิธีการโดยการปลอมใบถอนเงินนำไปหลอกลวงเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น เงินที่จำเลยได้มาตามฟ้อง แม้จะเป็นเงินที่เจ้าหน้าที่ธนาคารทำพิธีการทางบัญชีของธนาคารหักจากบัญชีของผู้เสียหายก็ตาม แต่เป็นเพราะจำเลยนำเอกสารปลอมไปหลอกลวงจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารหลงเชื่อ เงินที่จำเลยได้ไปจึงเป็นเงินของธนาคาร มิใช่เงินของผู้เสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอกเงินผู้เสียหาย แต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินผู้เสียหาย แต่ฟังได้ว่าจำเลยฉ้อโกงธนาคารจึงเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ถือเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้เช่นกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินผู้เสียหาย แต่ฟังได้ว่าจำเลยฉ้อโกงธนาคารจึงเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ถือเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534-8535/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนาหลอกลวงในคดีฉ้อโกง จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทราบว่าเป็นเท็จหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแต่เพียงว่า โจทก์ร่วมเชื่อว่าบุตรชายของโจทก์ร่วมถูกผู้หญิงทำไสยศาสตร์เป็นเหตุให้ไม่กลับบ้านและมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป โจทก์ร่วมจึงให้จำเลยที่ 2 ทำพิธีแก้ไสยศาสตร์ตามคำแนะนำของจำเลยที่ 1 แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเท่านั้น หาได้ฟังข้อเท็จจริงใด ๆ ต่อไปว่าในขณะที่แนะนำให้โจทก์ร่วมทำพิธีไสยศาสตร์ จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จหรือเหตุที่โจทก์ร่วมเชื่อเช่นนั้นเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยทั้งสองและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองมีลักษณะเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญในคดีที่จะต้องประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย และมีผลโดยตรงในการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเช่นกัน การที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้พิเคราะห์ข้อเท็จจริงในสำนวนให้ครบถ้วนแล้วด่วนวินิจฉัยว่าการที่จำเลยทั้งสองพูดชักชวนโจทก์ร่วมให้ทำพิธีไสยศาสตร์แล้วจะทำให้บุตรชายกลับบ้าน ที่ดินโจทก์ร่วมจะขายได้และคนในครอบครัวจะไม่เจ็บป่วย เป็นคำยืนยันเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน การเข้าทำพิธีของโจทก์ร่วมจึงไม่ได้เป็นผลจากการหลอกลวงของจำเลยทั้งสองแล้วพิพากษายกฟ้องไป จึงเป็นการไม่ชอบ ถือเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาเป็นไปตามลำดับชั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225