คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลชั้นต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 926 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขยายเวลาชำระหนี้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่ยื่นคำร้องใหม่ต่อศาลอุทธรณ์
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องทั้งสองครั้ง ผู้ซื้อทรัพย์มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น แต่กลับยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 อ้างว่าเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณา แต่ในคำร้องมีเนื้อหาเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นเดียวกับที่ผู้ซื้อทรัพย์เคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งตามคำร้องขอของผู้ซื้อทรัพย์ก็เท่ากับเป็นการกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น การยื่นคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. 223 ที่บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11490/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม อุทธรณ์/ฎีกาประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นการนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาล เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องนี้มิได้มีการยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยยังคงฎีกาต่อมาฎีกาของจำเลยก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10109/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลชั้นต้นในการกำหนดเงินรางวัลทนายความตามกฎหมายและระเบียบ โดยศาลชั้นอื่นไม่มีอำนาจก้าวล่วง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลจ่ายเงินรางวัลแก่ทนายความที่ศาลตั้ง ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดและระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 และข้อ 6 ซึ่งเป็นระเบียบที่ใช้แก่คดีนี้ กำหนดให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้กำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ โดยพิจารณาตามความยากง่ายของลักษณะคดี กับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้นๆ แล้วกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรว่าจะให้อัตราขั้นต่ำหรือขั้นสูง หรือระหว่างขั้นต่ำขั้นสูง ตามตารางและอัตราขึ้นต่ำขั้นสูงท้ายระเบียบโดยให้สั่งจ่ายเงินรางวัลเมื่อทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นแล้วหรือเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ในกรณีที่มีการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ให้ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินรางวัลเพิ่มเติมให้ทนายความได้ตามที่เห็นสมควร ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าระเบียบดังกล่าวกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นที่จะกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ไม่ได้กำหนดให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีหน้าที่กำหนดเงินรางวัลทนายความแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจกำหนดเงินรางวัลทนายความของศาลชั้นต้นแก่ผู้ร้องต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงตามที่กฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวกำหนด อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายหรือระเบียบแล้ว ศาลชั้นอุทธรณ์ย่อมไม่อาจก้าวล่วงไปกำหนดเงินรางวัลทนายความให้แก่ผู้ร้องเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9984/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์เห็นพ้องว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ จึงจำหน่ายคดี และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องแม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี แต่ศาลอุทธรณ์ก็ให้เหตุผลในการจำหน่ายคดีว่า เป็นเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นเช่นกัน มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9925/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุข้อฎีกาใหม่ ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ แม้เป็นเรื่องการส่งมอบเงินผ่านบริษัทจัดหางาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ 230,000 บาท และได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นคนจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 โดยตรงไม่ได้ผ่านบริษัทจัดหางาน ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับเงินกู้ 230,000 บาท จากโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำนวน 230,000 บาท และจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินดังกล่าวไปมอบให้บริษัทจัดหางานทันที จำเลยที่ 1 จึงได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ เป็นกรณีที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์โดยตลอดว่า โจทก์มอบเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน 230,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้ยืมเงิน ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับเงินกู้ 230,000 บาท จากโจทก์ ดังนี้ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศให้แก่จำเลยทั้งสามไปก่อน และถือว่ามีการส่งมอบเงินที่โจทก์ให้จำเลยทั้งสามยืมแล้ว หาใช่ว่าจำเลยทั้งสามต้องรับเงินจากโจทก์โดยตรงไม่ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงยุติว่า โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศให้แก่จำเลยทั้งสามผ่านบริษัทจัดหางานไปก่อนหรือไม่ เพียงใด ที่โจทก์ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8584/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบอย่างไรก็ตาม ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ไม่ชอบด้วยมาตรา 234 จึงไม่รับวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8584/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการยื่นคำร้องอุทธรณ์พ้นกำหนด
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวอย่างไรก็ตาม ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ กรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 จึงไม่รับวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีอาญาเดิม แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้ตรวจสอบตัวบุคคล แต่จำเลยยอมรับ
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏความในเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปีจริง ถือได้ว่าความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว และจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 229: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กระทบคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องของจำเลยที่ 1 ยื่นเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดและมีคำสั่งยกคำร้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งซึ่งตามอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กลับคำสั่งของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ก็ตามแต่หากศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นด้วยกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ก็ทำได้เพียงแต่พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ในชั้นนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
of 93