พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6197/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องไม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัย หากมีประเด็นข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์อุทธรณ์ในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียด้วย ซึ่งพอแปลได้ว่า จำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทมิได้เป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและจำเลยหามาได้ร่วมกันดังที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมา ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ศาลต้องยกขึ้นวินิจฉัยด้วยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและจำเลยหามาได้ร่วมกันหรือเป็นทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งข้อเท็จจริงยังฟังไม่ยุติ ประเด็นในชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กรณีไม่ใช่การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่อาจอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดประกอบวิชาชีพเวชกรรมและสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานขายยา
จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและร่วมกันประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตมีเจตนาบำบัดรักษาโรคให้แก่ น. ผู้ทำแท้ง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์เป็นเงินค่ายาและค่าบริการทำแท้งจาก น. การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมีเจตนาจัดสถานที่เพื่อการตรวจรักษาโรคโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมีเจตนาเพื่อขายยาแผนปัจจุบัน และร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันจำพวกแอนติโปรเจสเตอโรนที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยามีเจตนาขายยาแผนปัจจุบันที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา การกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิดทั้งสี่ฐานนี้ จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกต่างหากจากกัน มิได้มีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลที่จะขายยาให้แก่ น. การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม การร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับการร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันจำพวกแอนติโปรเจสเตอโรนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยานั้น ปรากฏว่ายาแผนปัจจุบันจำพวกแอนติโปรเจสเตอโรนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นจำนวนเดียวกันยาแผนปัจจุบันที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขายโดยไม่ได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมีเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันจำพวกแอนติโปรเจสเตอโรนที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา จึงเป็นกรรมเดียวกัน ซึ่งต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดรวมสามกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ กทช. ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม
โครงข่ายโทรคมนาคมตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มีความหมายว่า "กลุ่มของเครื่องโทรคมนาคมที่ต่อถึงกันโดยตรง หรือโดยผ่านเครื่องชุมสายหรือเครื่องอื่นใด เพื่อการโทรคมนาคมระหว่างจุดหมายปลายทางที่กำหนดด้วยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน" กิจการโทรคมนาคมตามบทนิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมีความหมายว่า "กิจการซึ่งให้บริการส่ง การแพร่หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือการอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการโทรคมนาคมตามที่มีกฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนดให้เป็นกิจการโทรคมนาคม" การประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 คือ การให้บริการส่งตัวหนังสือ ตัวเลข หรือภาพ ทางโทรสารไปยังผู้รับในต่างประเทศ โดยจำเลยที่ 1 นำเครื่องมือ Auto Dialer ไปติดตั้งเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์และโทรสารของลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิก เมื่อสมาชิกใช้บริการจะต้องกดหมายเลขโทรศัพท์ 001 ซึ่งเป็นหมายเลขรหัสโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับในต่างประเทศ เครื่องมือ Auto Dialer จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องมือ Server ของจำเลยที่ 1 เพื่อแปลงสัญญาณเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยังเครื่องโทรศัพท์และโทรสารของผู้รับในต่างประเทศ ถือว่าเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามความหมายในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 เครื่องมือ Auto Dialer และเครื่องมือ Server ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มของเครื่องโทรคมนาคมที่ต่อถึงกันโดยผ่านเครื่องชุมสายโทรศัพท์ เพื่อแปลงสัญญาณโทรสารเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยังเครื่องโทรศัพท์และโทรสารของผู้รับในต่างประเทศก็ถือได้ว่าเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการส่งโทรสารไปยังผู้รับในต่างประเทศโดยลูกค้าผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้และมีลูกค้าเป็นสมาชิกถึงประมาณ 500 ราย ผลการประกอบกิจการนับแต่ปี 2546 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2548 ปรากฏว่ามีรายได้มากถึงประมาณ 11,000,000 บาท บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปจำนวนมากโดยไม่จำกัดจำนวนลูกค้าที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก จึงเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองและต้องได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามตามมาตรา 7 (3) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
มาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 กำหนดให้สิทธิแก่การสื่อสาร แห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในการที่จะประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปในระหว่างเวลาที่ กทช. ยังไม่ออกใบอนุญาตให้ จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้รับสิทธิตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวเช่นเดียวกับหน่วยงานทั้งสองย่อมจะต้องหยุดประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กทช. และจำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. แล้ว พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยังประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปนับแต่วันที่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ใช้บังคับโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องระวางโทษเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
มาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 กำหนดให้สิทธิแก่การสื่อสาร แห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในการที่จะประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปในระหว่างเวลาที่ กทช. ยังไม่ออกใบอนุญาตให้ จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้รับสิทธิตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวเช่นเดียวกับหน่วยงานทั้งสองย่อมจะต้องหยุดประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กทช. และจำเลยที่ 1 ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. แล้ว พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยังประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปนับแต่วันที่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ใช้บังคับโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องระวางโทษเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งเพื่อจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตการจ้าง
การที่จำเลยนำรถยนต์ตู้โดยสารซึ่งจดทะเบียนในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ซึ่งไม่ใช่รถของบริษัทหรือรถที่ใช้ในกิจการของบริษัทที่ตนเป็นลูกจ้างบรรทุกคนต่างด้าวจำนวน 13 คน จากอำเภอเมืองสมุทรสาครไปส่งยังจังหวัดระนองและรับกลับมาส่งยังอำเภอเมืองสมุทรสาคร แม้คนต่างด้าวจะเป็นลูกค้าของบริษัทแต่ก็ต้องเสียค่าโดยสาร ถือได้ว่าเป็นการขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง แม้จำเลยจะได้รับเงินเดือนจากบริษัท แต่จำเลยก็เบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า ในการเดินทางแต่ละเที่ยวจำเลยจะได้รับค่าอาหาร 200 บาท และในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าจำเลยรับจ้างขนส่งแรงงานต่างด้าวเพื่อไปพิสูจน์สัญชาติยังจังหวัดระนอง และกำลังเดินทางกลับตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย จ. 1 ส่วนในชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า เป็นผู้ขับรถยนต์พาคนต่างด้าวเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดระนอง จำนวน 13 คน ได้ค่าจ้างขับรถ ค่าน้ำมันและค่าก๊าซจำนวน 2,500 บาท ฟังได้ว่าจำเลยได้รับค่าจ้างในการขับรถดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยไม่ประจำทางแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12894/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาโดยไม่ได้มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตโดยตรงต่อศาลฎีกาให้แก่โจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ทั้งหากโจทก์ได้รับคำร้องและใช้สิทธิคัดค้านคำร้องของจำเลยที่ 2 แล้ว ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามฟ้อง แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องเจตนาหลอกลวง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งเก้ากับพวกซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้อง ไม่มีข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากพวกผู้เสียหายมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ แม้ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลอุทธรณ์มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ. 1782/2554 ของศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย จึงไม่อาจนำมารับฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งเก้าซึ่งเป็นคนหางาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลอนุญาตได้หากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีพฤติการณ์ทุจริต แม้เหตุผลในการถอนฟ้องไม่ชัดเจน
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้บัญญัติว่าต้องอ้างเหตุผลของการขอถอนฟ้องมาด้วย แม้จะอ้างเหตุผลมาและฟังไม่ได้ ก็ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุผลต่าง ๆ ในสำนวนประกอบคำคัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เคยพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เพราะเหตุโจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในฟ้อง ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้และขอให้ศาลชั้นต้นนำสำนวนคดีเดิมซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานมาผูกโยงเข้ากับสำนวนคดีนี้ พยานเอกสารทั้งหมดจึงถือว่าเป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างในคดีนี้ ระหว่างสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นได้ให้จำเลยตรวจสอบพยานเอกสาร จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องแต่อย่างใด เมื่อในสำนวนคดีมีเอกสารเกี่ยวกับการที่เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนอาวุธปืนจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยว่าจำเลยเคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ ซึ่งได้รับแจ้งว่า ไม่พบรายการตามที่ขอตรวจสอบ แสดงว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ทั้งพนักงานสอบสวนเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ว่า บิดาของจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลาง จึงมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลาง นอกจากนี้ตามบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยปรากฏว่าจำเลยรับว่าไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจริง โดยพนักงานสอบสวนเบิกความรับรองเอกสาร เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแล้วว่า จำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และพาติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณา
แม้การค้าเร่และการค้าแผงลอยจะไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 7 (1) แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าและแลกเปลี่ยน จำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 1 (1) (ค) ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องนำเอกสารและหลักฐานซึ่งมีสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมคำอนุญาตด้วย เอกสารและหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลที่จะให้นายทะเบียนใช้ประกอบในการพิจารณาเท่านั้น ซึ่งการไม่ยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ตามที่มาตรา 39 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงยังมิอาจถือได้ว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในความหมายตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะทำให้ฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ที่ดัดแปลง 1 เครื่อง พร้อมบาร์เลื่อย 1 อัน และโซ่เลื่อยยนต์ 1 เส้น อันเป็นส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล อันเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย แม้กฎกระทรวงจะกำหนดลักษณะและขนาดของเลื่อยโซ่ยนต์ที่จะทำให้ผู้ที่มีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดก็ตาม แต่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดลักษณะและขนาดเลื่อยโซ่ยนต์เฉพาะที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว เท่านั้น เมื่อโจทก์อ้างถึง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 และกฎกระทรวงที่ถือเป็นความผิดไว้ในคำฟ้องแล้ว เท่ากับอ้างว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดพอสมควรที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองได้