พบผลลัพธ์ทั้งหมด 948 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากหมิ่นประมาทและประพฤติเนรคุณ พร้อมการบังคับให้ถอนจำนอง
ถ้อยคำที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้
ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534
ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเรื่องสถานภาพสมรสเพื่อจำนองทรัพย์สินร่วม การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
จำเลยซื้ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดในระหว่างสมรสกับโจทก์ อาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ การที่จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นโสดไม่เคยมีคู่สมรสไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8414/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลจำนองที่ดินเพื่อกู้เงิน - ความรับผิดทางละเมิด - หลักการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงประเด็นเดียวเรื่องอายุความ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ แม้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์คัดค้านประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ ไว้เนื่องจากประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ นั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งเจ็ดได้สืบพยานมาจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ที่ยังไม่ได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้คดีเสร็จไปเสียทีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามลำดับชั้นศาลก็ได้
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการ เป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นหลักเกณฑ์คนละกรณีกัน แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของโจทก์ที่ 1 จะมีคำสั่งลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและต่อมาอธิบดีกรมการปกครองจึงมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงหมาดไทย สรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบ วันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
ความรับผิดของบุคคลในทางอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนั้น แม้พนักงานอัยการจังหวัดหนองคายจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วก็ตามโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการ เป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นหลักเกณฑ์คนละกรณีกัน แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของโจทก์ที่ 1 จะมีคำสั่งลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและต่อมาอธิบดีกรมการปกครองจึงมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงหมาดไทย สรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบ วันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
ความรับผิดของบุคคลในทางอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนั้น แม้พนักงานอัยการจังหวัดหนองคายจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วก็ตามโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และหมดอายุการบังคับคดีตามคำพิพากษา ยังมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง
เมื่อผู้ร้องฟ้องต่อศาลแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมและบังคับจำนองจนศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ส่วนที่ว่าในขณะที่ผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดี ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 นั้น แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 110 วรรคสาม เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ สิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นหนี้ประธานนั้นเป็นอันสิ้นไป แต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี เช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องในจำนวนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก - จำนองยังคงครอบคลุมถึงส่วนแบ่งแยกแม้จะมีการแบ่งแยกโฉนด
ภายหลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยกนี้ต้องติดจำนองทุกแปลง บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิมแม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วน จำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง เมื่อคำขอท้ายฟ้องได้ขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 717 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับจำนองเฉพาะที่ดินแปลงย่อยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก: แม้แบ่งแยกโฉนดจำนองยังคงครอบคลุมทุกแปลง
คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาท (ปัจจุบันได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580) มาจดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ขอให้บังคับจำนองโฉนดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์ ปัญหาการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยอ้างว่าโจทก์เพิ่งหยิบยกและส่งสำเนาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับที่มีการแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580 ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแยกต่างหากจากค้ำประกัน เจ้าหนี้ไม่อาจยึดทรัพย์สินจำนองเพื่อหนี้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นบุคคลสิทธิซึ่งจำเลยเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ผู้ค้ำประกันเมื่อ ป. ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของโจทก์ผู้ค้ำประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น แตกต่างไปจากสิทธิตามสัญญาจำนองที่ทำขึ้นเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่ได้ทำขึ้นในภายหลังและไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องให้โจทก์รับผิดรวมไปถึงความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย ประกอบกับโจทก์กู้เงินจำเลยเพื่อนำไปซื้อห้องชุดพิพาทแล้วนำมาจำนองไว้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาจดทะเบียนจำนองห้องชุดพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่มีแก่จำเลยเท่านั้น ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง นอกจากนี้ขณะที่โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่จำเลยครบถ้วน จำเลยยังไม่ได้ฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ความรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่เกิดขึ้น เมื่อหนี้เงินกู้ของโจทก์อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปและโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันอยู่อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้ระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิจากการซื้อขายกับเจ้าหนี้จำนอง: กรณีจำเลยผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์
ป.พ.พ. มาตรา 276 บัญญัติว่า "บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น" หนี้ที่ตกอยู่ภายใต้บุริมสิทธินี้จึงได้แก่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้น ซึ่งเป็นหนี้ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระแก่ผู้ขาย แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อห้องชุดพิพาทมิใช่ผู้ขาย และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดพิพาทก็เพื่อออกขายทอดตลาดชำระหนี้ที่จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามคำพิพากษา เงินดังกล่าวหาใช่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีบุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4108/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้โอนสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้รับจำนองมีสิทธิหากโจทก์ไม่เพิกถอน
แม้จำเลยที่ 1 จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทกับผู้ร้องด้วย โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับมรดกและอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องได้ ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่า การจดทะเบียนจำนองไม่มีค่าตอบแทนหรือกระทำไปโดยไม่สุจริต ศาลย่อมมีคำพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาจำนองดังกล่าวจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต้องมีการจำนองค้างอยู่ขณะโอนทรัพย์
คำว่า ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547 มาตรา 8 วรรคสอง หมายความว่า ต้องมีการทำสัญญาจำนองก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 และภาระจำนองยังคงมีอยู่ในระหว่างที่มีการดำเนินการตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และได้จดทะเบียนโอนขายให้ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน
โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระผูกพันอยู่ ต้องจัดการให้ที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใด ๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็นประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคารก็เป็นการที่ธนาคารปลดจำนองให้แก่โจทก์ผู้จำนองด้วยหนังสือ เป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ น. ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547
โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระผูกพันอยู่ ต้องจัดการให้ที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใด ๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็นประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคารก็เป็นการที่ธนาคารปลดจำนองให้แก่โจทก์ผู้จำนองด้วยหนังสือ เป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ น. ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547