คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลชั้นต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 926 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสิบสามและบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินพิพาท ให้ออกจากที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบสามให้การว่า จำเลยแต่ละคนครอบครองโดยสุจริต สงบ และเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมานาน โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เอกสารสิทธิของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสิบสาม แม้จำเลยทั้งสิบสามจะให้การว่า จำเลยแต่ละคนและบริวารทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่หลายพันไร่มานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ก็ไม่อาจแปลได้ว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่สาธารณะ การที่จำเลยทั้งสิบสามนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ทั้งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างทั้งสองนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งสิบสามสำนวนจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ และนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในฟ้องเดิม มีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การพิพากษายกฟ้องเนื่องจากขาดเขตอำนาจศาล เป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก็ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยยกเหตุข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเคยถูกตัดสินแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ศาลชั้นต้นฟังพยานโจทก์ว่า จำเลยร่วมกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงจริง และพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า ผู้เสียหายมีส่วนร่วมในความผิดที่เกิดขึ้นจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย กับขอให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแต่ประการใด ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่สามารถยืนยันได้ว่าจำเลยร่วมกันกระทำความผิด ผู้เสียหายปรักปรำจำเลย ทำให้มีเหตุสงสัย จึงเชื่อได้ไม่สนิทใจว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปในศาลชั้นต้นขึ้นมาโต้เถียงใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายขังระหว่างพิจารณาเมื่อมีสัญญาประกัน และการเพิกถอนสัญญาประกันเมื่อผู้ประกันไม่ได้ส่งตัวจำเลยคืนศาล
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 บัญญัติว่า "การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล" เมื่อผู้ประกันไม่ได้ยื่นคำร้องขอมอบตัวจำเลยที่ 2 คืนต่อศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันได้ส่งมอบหรือคืนตัวจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นก็มิได้เพิกถอนสัญญาประกันแล้วออกหมายขังจำเลยที่ 2 ไว้ในคดีนี้ ในระหว่างนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นต้องออกหมายขังระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะถูกจับและควบคุมตัวที่เรือนจำเพื่อดำเนินคดีอื่นก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงและการพิจารณาคำร้องรับฎีกา: ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส. และ ข. ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยโดยให้จดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกระหว่างจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกกับจำเลยในฐานะส่วนตัว และเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองแต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยเป็นการเฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้โดยลำพัง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง 210,000 บาท ฉะนั้นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงคิดเป็นเงินเพียง 52,500 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้รับรองให้ฎีกา ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้ฎีกาพร้อมกับฎีกาตามมาตรา 248 วรรคสี่ แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาว่าจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก่อนแล้วจึงมีคำสั่งว่าจะรับฎีกาหรือไม่ การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีสั่งยกคำร้องและสั่งรับฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องและสั่งรับฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ มาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15624/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องโทษโดยศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการบวกโทษเป็นไม่บวกโทษนั้น ถือเป็นการแก้ไขคำพิพากษา เพราะทำให้ผลของคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับโทษของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป มิใช่เป็นกรณีที่มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13725/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย และการพิจารณาคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องบรรยายโดยสรุปได้ความว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารกับบริษัทผู้เสียหาย การก่อสร้างอาคารยังไม่แล้วเสร็จและอาคารดังกล่าวมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านจึงแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบริษัทผู้เสียหายก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่จำเลยกลับไม่ยอมชำระราคากับรับมอบที่ดินและอาคารจากบริษัทผู้เสียหาย เป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จตามที่จำเลยแจ้งลงในบันทึกรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และต่อมาจำเลยใช้อ้างเอกสารราชการดังกล่าวต่อประธานศาลปกครองสูงสุดโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย คำบรรยายฟ้องดังกล่าวนั้นได้อ้างถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่อ้างว่าเป็นความผิด ทั้งบุคคลและเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วด้วย อันครบถ้วนตามองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 และ 268 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำที่พาดพิงและเจาะจงว่ากล่าวถึงผู้เสียหายอันเป็นเหตุให้สิทธิของผู้เสียหายถูกกระทบกระเทือน ผู้เสียหายจึงได้รับความเสียหายโดยตรง ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13063/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วมาขอแก้ไขบทลงโทษในภายหลัง เป็นการขัดต่อหลักวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องหรือจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 198 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่บัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีสัญญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ห้ามศาลชั้นต้นวินิจฉัยซ้ำ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในประเด็นอำนาจฟ้องจึงถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยซ้ำอีกไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์มิได้ถูกโต้แย้งสิทธิตามสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาเช่นเดียวกับที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั่นเองจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10565/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ และการแยกกรรมความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรวบรวมขายเมล็ดพันธุ์พืชชนิดข้าวเปลือกเจ้าซึ่งเสื่อมคุณภาพ ให้แก่ผู้ใด เมื่อใด สถานที่ใด จำนวนและราคาเท่าไร ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องก็สามารถเข้าใจข้อหาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ติดฉลากวันสิ้นอายุการใช้ทำพันธุ์เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่ผ่านการทดสอบความงอก และจำเลยไม่ได้เตรียมเมล็ดพันธุ์พืชไว้จำหน่ายหรือได้จำหน่ายให้แก่ผู้ใด เป็นฎีกาในทำนองปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ฎีกาดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 4 ซึ่งไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ
ความผิดฐานเป็นผู้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าโดยไม่ระบุเดือนและปีที่รวบรวม เดือนและปีที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 มาตรา 22 (2) และความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพตามมาตรา 36 มีเจตนากระทำความผิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นคนละกรรมกัน แม้จำเลยยังไม่ได้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวม ก็ไม่ทำให้เป็นความผิดกรรมเดียวกัน
of 93