พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6423-6424/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดทำระเบียบช่วยเหลือสมาชิกของสหกรณ์ เข้าข่ายประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มิได้นิยามคำว่าการประกอบธุรกิจประกันชีวิตไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะประกันภัยของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ การที่จำเลยตกลงจะใช้เงินจำนวน 60,000 บาท ในกรณีที่สมาชิกถึงแก่ความตาย และในกรณีเจ็บป่วยปีละไม่เกิน 5,000 บาท โดยสมาชิกต้องส่งเงินให้จำเลยเป็นรายปี ปีละ 12,000 บาท เป็นสัญญาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 ที่บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัย คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย การที่ระเบียบของจำเลยใช้คำว่าให้สมาชิกบริจาคเงินให้แก่จำเลย แต่ความหมายที่แท้จริงคือเงินที่สมาชิกจะต้องส่งให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยใช้เงินในกรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคตตามที่ระบุไว้ในระเบียบเช่นเดียวกับการส่งเบี้ยประกันภัย แม้ตามระเบียบของจำเลยใช้คำว่าบริจาคแทนเงินเบี้ยประกันภัย ก็ไม่มีผลทำให้เงินที่สมาชิกต้องส่งให้แก่จำเลยไม่เป็นเบี้ยประกันภัย โดยจำเลยมีฐานะเป็นผู้รับประกันภัย ส่วนสมาชิกมีฐานะเป็นผู้เอาประกันภัย และสมาชิกหรือบุคคลที่สมาชิกระบุในกรณีถึงแก่ความตาย เป็นผู้รับประโยชน์ตาม มาตรา 862 และการที่ระเบียบกำหนดเงื่อนไขว่า ในกรณีที่สมาชิกถึงแก่ความตาย จำเลยจะใช้เงินจำนวน 60,000 บาท จึงเป็นการใช้เงินโดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล จึงเป็นการประกันชีวิตตาม มาตรา 889 เงินที่ได้รับจากสมาชิกตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 14 กำหนดว่า เมื่อสิ้นปีทางบัญชีหากมีเงินเหลือให้ถือว่าเงินจำนวนนั้นเป็นรายได้ของจำเลย หากปีใดเงินไม่เพียงพอ ให้ถือว่าเงินจำนวนที่ขาดเป็นรายจ่ายของจำเลยการที่จำเลยดำเนินการตามระเบียบโดยมีสมาชิกจำนวน 350 คน จึงเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิต แม้บุคคลที่จะเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเป็นสมาชิกหรือครอบครัวและพนักงานของจำเลยเท่านั้นก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำไม่เป็นการประกอบธุรกิจ เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรีโดยคณะรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมัน ไม่ใช่สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้าที่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการปฏิบัติผิดสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำเลยทั้งสองให้การว่า การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า และรูปดาวประดิษฐ์คือเครื่องหมายการค้า เพื่อค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ดังกล่าวโดยไม่ได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 68 วรรคสอง ย่อมตกเป็นโมฆะ คดีนี้จึงเป็นที่ชัดเจนว่ามีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การดังกล่าวว่า สัญญาให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 68 วรรคสอง หรือไม่ คดีนี้ย่อมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (3)
ตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์เพียงตกลงให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ในการเข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อสัญญาดังกล่าวก็เป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นโดยโจทก์เองแล้วโจทก์ขายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเองแล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์กับสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 1 สัญญาให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นแบบนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 ดังนั้น แม้หนังสือสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียน สัญญาดังกล่าวก็หาตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 ไม่
เดิมจำเลยทั้งสองได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในเรื่องนี้ไว้ แต่ต่อมาได้ถอนคำร้องนั้นไป ทั้งคดีนี้ก็ชัดเจนแล้วว่ามีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงได้ดำเนินกระบวนการพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสองไปจนเสร็จสิ้นและได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยอีกต่อไป ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่เสนอปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยจึงชอบด้วยมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539
ตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์เพียงตกลงให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ในการเข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อสัญญาดังกล่าวก็เป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นโดยโจทก์เองแล้วโจทก์ขายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเองแล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์กับสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 1 สัญญาให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นแบบนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 ดังนั้น แม้หนังสือสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียน สัญญาดังกล่าวก็หาตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 ไม่
เดิมจำเลยทั้งสองได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในเรื่องนี้ไว้ แต่ต่อมาได้ถอนคำร้องนั้นไป ทั้งคดีนี้ก็ชัดเจนแล้วว่ามีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงได้ดำเนินกระบวนการพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสองไปจนเสร็จสิ้นและได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยอีกต่อไป ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่เสนอปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยจึงชอบด้วยมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22173/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ การจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ยังไม่มีผู้ซื้อก็เป็นความผิดสำเร็จ
องค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง คือ การนำภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร จำเลยนำแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แผ่นวีซีดีและดีวีดีคาราโอเกะของกลาง ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ออกจำหน่ายโดยวางแผงขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้จำเลยจะยังไม่ได้จำหน่ายให้แก่ประชาชนคนหนึ่งคนใดก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17849/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน vs. กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีภาพยนตร์ลามกและการจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้ซึ่งภาพยนตร์ลามกเพื่อความประสงค์แห่งการค้าหรือโดยการค้าและฐานจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8719/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารชุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบังคับอาคารชุด ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะฟ้องตั้งเรื่องเป็นละเมิด แต่ตามทางบรรยายฟ้องเป็นกรณีโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดและ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ดังนี้ไม่ใช่ฟ้องเรื่องละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดและพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของการอยู่ร่วมกันในอาคารชุดเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยฝ่าฝืนข้อบังคับและบทกฎหมายดังกล่าวได้เสมอตราบเท่าที่การก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8716/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารชุดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของร่วม และต้องไม่กระทบโครงสร้างหรือลักษณะภายนอกของอาคาร
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้การใช้กรรมสิทธิ์ห้องชุดมีลักษณะเป็นการจำกัดการใช้แดนกรรมสิทธิ์ของบรรดาเจ้าของร่วมในอาคารชุดให้น้อยลงซึ่งแตกต่างจากหลักกรรมสิทธิ์โดยทั่วไป การที่จำเลยซื้อห้องชุดในอาคารชุด เป็นการสมัครใจของจำเลยเองที่จะต้องรับรู้ข้อจำกัดและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์
ระเบียงเป็นส่วนของห้องชุดที่ยื่นออกไปนอกฝาและเป็นส่วนที่มีการเปิดโล่ง เป็นการออกแบบเพื่อความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์สำหรับอาคารชุดนั้น และผู้ออกแบบประสงค์ให้ใช้ประโยชน์แบบพื้นที่นอกอาคาร ไม่ใช่ส่วนของห้องชุดที่จะมาใช้ประโยชน์แบบเดียวกับส่วนของห้องชุดที่อยู่ภายในหรือจะดำเนินการดัดแปลงต่อเติมโดยพลการได้ เว้นแต่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด การต่อเติมของจำเลยต้องขอมติต่อเจ้าของร่วมและได้รับอนุญาตเป็นคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดแล้วจึงจะกระทำได้ การต่อเติมห้องชุดของจำเลยจึงมีผลกระทบต่อลักษณะภายนอกและโครงสร้างของอาคารจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า หากจำเลยไม่รื้อถอนผนังห้องชุด ขอถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย กรณีเป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่อาจมีคำพิพากษาตามคำขอส่วนนี้ของโจทก์ได้
ระเบียงเป็นส่วนของห้องชุดที่ยื่นออกไปนอกฝาและเป็นส่วนที่มีการเปิดโล่ง เป็นการออกแบบเพื่อความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์สำหรับอาคารชุดนั้น และผู้ออกแบบประสงค์ให้ใช้ประโยชน์แบบพื้นที่นอกอาคาร ไม่ใช่ส่วนของห้องชุดที่จะมาใช้ประโยชน์แบบเดียวกับส่วนของห้องชุดที่อยู่ภายในหรือจะดำเนินการดัดแปลงต่อเติมโดยพลการได้ เว้นแต่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด การต่อเติมของจำเลยต้องขอมติต่อเจ้าของร่วมและได้รับอนุญาตเป็นคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดแล้วจึงจะกระทำได้ การต่อเติมห้องชุดของจำเลยจึงมีผลกระทบต่อลักษณะภายนอกและโครงสร้างของอาคารจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า หากจำเลยไม่รื้อถอนผนังห้องชุด ขอถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย กรณีเป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่อาจมีคำพิพากษาตามคำขอส่วนนี้ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151-8152/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สินค้าต่างประเภท แม้เสียงคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HEXAXIM" ของโจทก์ขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกที่ 5 คือ ยา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้า "EXAZYM" ของ ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นวัคซีน ส่วนสินค้าของ ค. เป็นสารที่เตรียมขึ้นใช้ในการวินิจฉัยโรค ใช้ในทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับไวรัส แม้เป็นสินค้าจำพวกยาเหมือนกัน แต่มีลักษณะการใช้แตกต่างกัน โดยวัคซีนของโจทก์ใช้ฉีดสำหรับเด็กเพื่อป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน ฯลฯ ไม่ได้จำหน่ายแก่ร้านค้าหรือร้านขายยาทั่วไป แต่ขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายนำสินค้าไปกระจายให้แก่โรงพยาบาลหรือผู้มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ วัคซีนนี้ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น บนกล่องระบุชัดเจนว่าเป็นยาอันตราย ผู้ใช้คือแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ส่วนสินค้าเครื่องหมายการค้า "EXAZYM" ที่จดทะเบียนแล้วซึ่งเป็นสารที่เตรียมขึ้นใช้ในการวินิจฉัยโรคใช้ในทางการแพทย์นั้น กลุ่มผู้ใช้สินค้าคือนักเทคนิคการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยใช้สารในการวินิจฉัยโรคจากสิ่งที่ส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ เป็นต้น ไม่มีจำหน่ายตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ต้องซื้อจากตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิต โดยตัวแทนจะติดต่อกับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยตรงและมีราคาสูง ส่วนวัคซีนตัวแทนจำหน่ายจะติดต่อกับแพทย์ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้ว่าผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "HEXAXIM" กับผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "EXAZYM" เป็นคนละกลุ่มกัน และผู้ใช้สินค้าแต่ละกลุ่มต่างก็เป็นผู้มีวิชาชีพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะทาง ย่อมสามารถแยกแยะสินค้าทั้งสองได้โดยไม่สับสนหรือหลงผิด นอกจากนั้น ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าก็แตกต่างกัน ทั้งไม่ได้วางจำหน่ายในร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไป แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะมีเสียงเรียกขานคล้ายกัน แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนผู้ใช้สินค้าสับสนหรือหลงผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
ข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตามฟ้องข้อ (ค) ในวันเวลาเดียวกันกับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องข้อ (ข) โดยแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ของกลางเป็นจำนวนเดียวกัน และเป็นการกระทำในคราวเดียวกันโดยจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผล คือ นำแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ดังกล่าวออกให้เช่าเช่นเดียวกัน การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามฟ้องข้อ (ข)
แผ่นภาพยนตร์กับแผ่นวีดิทัศน์ของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดฐานให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และมาตรา 33 เนื่องจากสาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการและไม่นำภาพยนตร์กับวีดิทัศน์ไปให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตรวจพิจารณาอนุญาตก่อนนำออกให้เช่า
สมุดรายการเช่าของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตโดยตรง กล่าวคือ สมุดรายการเช่าเป็นปัจจัยหลักและส่วนสำคัญที่ใช้ในการกระทำความผิดเพราะเป็นหลักฐานในการเช่า ติดตามแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ที่ให้เช่า ตลอดจนคิดค่าปรับต่าง ๆ จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
แผ่นภาพยนตร์กับแผ่นวีดิทัศน์ของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดฐานให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และมาตรา 33 เนื่องจากสาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการและไม่นำภาพยนตร์กับวีดิทัศน์ไปให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตรวจพิจารณาอนุญาตก่อนนำออกให้เช่า
สมุดรายการเช่าของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตโดยตรง กล่าวคือ สมุดรายการเช่าเป็นปัจจัยหลักและส่วนสำคัญที่ใช้ในการกระทำความผิดเพราะเป็นหลักฐานในการเช่า ติดตามแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ที่ให้เช่า ตลอดจนคิดค่าปรับต่าง ๆ จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เพราะไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริงพร้อมคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ไม่เกินห้าปี กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงลายมือชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามมาตรา 221 จำเลยที่ 3 ต้องยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมคำฟ้องฎีกาก่อนพ้นระยะเวลาฎีกา ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องมาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาจนล่วงพ้นระยะเวลาฎีกา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอขายสินค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้า จำเลยต้องพิสูจน์ว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงจะไม่มีความผิด
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" ที่โจทก์ร่วมใช้กับสินค้าต่างๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าหลายชนิดของโจทก์ร่วมในราชอาณาจักร การที่มีบุคคลอื่นผลิตสินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์นำมาให้จำเลยจำหน่ายโดยที่สินค้า กล่องบรรจุสินค้า และสมุดคู่มือการใช้สินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์ดังกล่าวใช้คำว่า "BOSCH HID" ติดอยู่กับสินค้า ซึ่งคำดังกล่าวมีตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่สีแดงเช่นเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" ของโจทก์ร่วม อีกทั้งข้างกล่องบรรจุสินค้ายังติดสติกเกอร์ระบุคำว่า "GERMANY BOSCH" เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศเยอรมนี แม้โจทก์ร่วมจะไม่มีสินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์นั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในราชอาณาจักร แต่สินค้าดังกล่าวก็เป็นสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าไฮดรอลิก ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของยานพาหนะของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร ย่อมถือได้ว่าเจ้าของสินค้าที่ผลิตสินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์ดังกล่าวเอาเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" ของโจทก์ร่วมทุกตัวอักษรที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้กับสินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์มาใช้โดยเจตนาให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวหลงเชื่อว่าสินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์นั้นเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม และแม้จะปรากฏว่าคำที่ใช้กับสินค้าดังกล่าวมีคำว่า "HID" ต่อจากคำว่า "BOSCH" ด้วยก็ตาม คำว่า "HID" เป็นเพียงสิ่งบ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าที่หมายถึงให้ความเข้มข้นของแสงไฟสูงเท่านั้น ไม่ใช่การเพิ่มเติมในส่วนสาระสำคัญเพียงพอที่จะทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" และ คำว่า "BOSCH HID" จึงหาทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าไม่อาจหลงเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" ของโจทก์ร่วมไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า บริษัท บ. เจ้าของสินค้าได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSCH" กับสินค้าชุดหลอดไฟติดรถยนต์หรือไม่ ซึ่งหากได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้าดังกล่าวย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) ได้ เพราะเป็นการเสนอขายสินค้าที่มิได้มีการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีความสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง