คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี
ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาต่อไป คดีนี้โจทก์เพียงแต่ยื่นอุทธรณ์ โดยหาได้ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้อนุญาตให้อุทธรณ์ ทั้งผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ หาได้มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การพิจารณาคำฟ้อง และการอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย คดีนี้จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด และตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ก็บัญญัติให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั่นเอง ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันเป็นการปฏิบัติตามแนวคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่า การกระทำตามฟ้องมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีคำร้องดังกล่าวพอแปลได้ว่า จำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงพิจารณาว่าจะรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการอนุญาตฎีกาที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย คดีนี้จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด และตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ก็บัญญัติให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั่นเอง ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามแนวคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่า การกระทำตามฟ้องมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีคำร้องดังกล่าวพอแปลได้ว่า จำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8903/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และวิธีปฏิบัติเมื่อไม่ได้ยื่นคำร้อง
เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2522 มาตรา 3 มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2522 มาตรา 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมโจทก์เพียงแต่ยื่นอุทธรณ์โดยหาได้ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้อนุญาตอุทธรณ์ไม่ ทั้งผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้หาได้มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8815/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
เมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายอยู่แล้ว การที่จำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีและพาติดตัว ความผิดจึงอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาต หาทำให้ซองกระสุนปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนผิดกฎหมายไม่ กรณีจึงไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงต้องริบและไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิลิขสิทธิ์: การผลิตวีซีดีคาราโอเกะไม่ใช่การทำซ้ำงานที่ได้รับอนุญาต
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิที่จะนำลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงเพลง "โปรดเถิดดวงใจ" "ปรารถนา" และ "ในฝัน" ไปผลิตเป็นเทปคาสเซ็ท แผ่นเสียง และแผ่นซีดีเพลงทุกขนาดเท่านั้น โจทก์ไม่ได้มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาทไปทำอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ รวมถึงการทำวีซีดีคาราโอเกะ เพราะการทำวีซีดีคาราโอเกะไม่ใช่การทำซีดีเพลง โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามความผิดที่อ้างเป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7829/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การใช้รถยนต์ของหน่วยงานโดยได้รับอนุญาต
องค์การบริหารส่วนตำบล บ. จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ส. ปลัดของจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่ง ส. ที่บ้าน จากนั้น ระหว่างทางกลับจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาททำให้รถยนต์เสียหลักชนเสาไฟฟ้าของโจทก์หักเสียหาย โดยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุม บำรุงรักษา และรับผิดชอบรถยนต์ของจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ ส. ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลา ฉะนั้นวันเกิดเหตุที่ ส. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่งตน แม้จะนอกเวลาราชการและเป็นไปเพื่อความประสงค์ของ ส. เอง แต่ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 โดย ส. ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ให้ทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล บ. และตามคำสั่งของ ส. จึงถือว่ากระทำไปในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว หาได้เป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
สิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐให้รับผิดทางละเมิดนั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ส่วนความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต แม้กฎหมายจะบัญญัติองค์ประกอบความผิดและโทษในการกระทำดังกล่าวไว้คนละมาตรา แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ล้วนมีเจตนาที่จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน ความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการ นอกจากนี้มาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันนี้ยังกำหนดให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 38 ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 54 ด้วยในตัว จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ.นี้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันมีใบอนุญาตในการประกอบกิจการเป็นใบอนุญาตเดียวกันได้ เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้รวมกันมาในข้อเดียวกันการกระทำของจำเลยในการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นกระทำกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการให้เช่า/จำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง
ความผิดฐานประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน โดยมาตรา 4 บัญญัติให้คำนิยามคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ว่า สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ แสดงว่า กิจการร้านวีดิทัศน์ คือ การฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์เท่านั้น ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามข้อ (จ) ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ จึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาจัดสรรที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นการหลอกลวง
ใบโฆษณาขายที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 1 ระบุว่า ที่ดินในโครงการมีเนื้อที่ 200 ไร่ ซึ่งตามใบโฆษณาก็มีเครื่องหมาย "ฯลฯ" ไว้ด้านหลังข้อความ โฉนดเลขที่ 48513 ถึง 48535 ที่โจทก์อ้างว่ามีชื่อนาง ล. เป็นเจ้าของมิใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความหมายว่า นอกจากที่ดินทั้ง 23 แปลง ดังกล่าวที่มีเนื้อที่รวมเพียง 3 ไร่เศษ นี้แล้วยังมีที่ดินแปลงอื่น ๆ อีก ทั้งใบโฆษณายังระบุอีกว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถดำเนินการขออนุญาตจัดสรรที่ดินให้แล้วเสร็จได้เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจถูกเจ้าหนี้ฟ้องหลายราย ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นคดีนี้ ดังนั้น ยังไม่ฟังว่าจำเลยทั้งห้าโฆษณาหลอกลวงโจทก์ว่าจะจัดสรรที่ดินโดยไม่มีเจตนาที่จะจัดสรรที่ดินจริง การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
of 94