พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีภาษีชั้นใน: กำหนด 6 เดือน แม้กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
อายุความฟ้องร้องผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นในมีกำหนด 6 เดือน อ้างฎีกาที่ 824/2459
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันที่มีกำหนดเวลา และผลของการรับดอกเบี้ยหลังครบกำหนด
ค้ำประกันมีกำหนดเวลา 2 เดือนเมื่อครบกำหนด 2 เดือนแล้ว เจ้าหนี้ยังรับดอกเบี้ยจากลูกหนี้ แลมิได้เร่งรัดเรียกหนี้จากลูกหนี้จนล่วงเลยมาช้านานดังนี้ ผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิด
คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหากฎหมาย
คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างนิติกรรมขายฝากของสามีเมื่อภรรยาทำนิติกรรมโดยตนเอง และผลของการไม่บอกล้างภายในกำหนด
เมียเอาสินบริคณห์ของผัวไปทำนิติกรรมขายฝาก ผัวบอกล้างได้ วิธีพิจารณาแพ่ง ฟ้องขอให้ไถ่ ศาลบังคับให้ที่เปนสิทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฎีกา: การยื่นฎีกาเกินกำหนด 1 เดือน ทำให้ฎีกาไม่รับ
อายุความ 1 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะขายที่ดิน, การรับรองสัญญาด้วยวาจาใช้ได้, กำหนดเวลาซื้อขายที่สมควร
สัญญาจะขายที่ดิน การรับรองสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีเงินมัดจำไม่จำเปนต้องทำเปนลายลักษณอักษร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9949/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่โต้แย้งภายในกำหนดเวลา ย่อมถึงที่สุด แม้จะมีเหตุภายหลังก็ไม่อาจเพิกถอนได้
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว นอกจากทนายความทั้งสองฝ่ายมาศาล ยังปรากฏว่าตัวความทั้งสองฝ่ายมาศาล และได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็มีทางดำเนินคดีต่อไปเพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ภายในกำหนดเวลา หนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามยอมนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คำพิพากษาตามยอมนั้นย่อมถึงที่สุด ไม่อาจที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แม้จำเลยจะอ้างว่าเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังว่า คำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสจำเลย เป็นคดีที่ไม่มีผู้เยาว์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์เกี่ยวข้อง โจทก์และจำเลยต่างแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ต้องการผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษา ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ดังนั้น ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งไม่น้อยกว่าสองคนย่อมเป็นองค์คณะพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 147 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสจำเลย เป็นคดีที่ไม่มีผู้เยาว์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์เกี่ยวข้อง โจทก์และจำเลยต่างแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ต้องการผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษา ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ดังนั้น ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งไม่น้อยกว่าสองคนย่อมเป็นองค์คณะพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 147 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการพิจารณาคดี: จำเลยต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบข้อผิดพลาด
การนั่งพิจารณาคดีไม่ว่าจะนั่งพิจารณาโดยผู้พิพากษาคนเดียวหรือนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะ หากปฏิบัติไม่ถูกต้องตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมบัญญัติไว้แล้ว ถือได้ว่าเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาคดี อันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยจึงชอบที่จะยกข้อคัดค้านในเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างภายในเวลาไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อจำเลยทราบถึงการนั่งพิจารณาคดีที่อ้างว่าผิดระเบียบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 แต่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 จึงช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิยกขึ้นอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีดังกล่าวแล้วพิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญา ยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเกินกำหนดเวลา ย่อมไม่อาจรับชำระได้
มูลหนี้ที่จะนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นหนี้เงินที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ทั้งเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ประกอบมาตรา 94 สำหรับมูลหนี้ในคดีนี้คือมูลหนี้ตามสัญญาประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาประกันต่อศาลในการขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรี ในวงเงินประกัน 330,000 บาท โดยมีที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักประกัน ต่อมาปรากฏว่าเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 ลูกหนี้ที่ 2 ไม่ส่งตัวจำเลยมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาตามกำหนดนัดซึ่งถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลแขวงธนบุรีมีคำสั่งปรับเงินลูกหนี้ที่ 2 เต็มตามสัญญาประกัน มูลแห่งหนี้เงินจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าวภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 และมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีที่เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ที่เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้นับจากวันคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 93 ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรีมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งหนี้เงินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 94
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4613/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนองพ้นกำหนด 10 ปี: สิทธิจำนองยังคงอยู่แต่สิ้นสิทธิบังคับคดี
ตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำภายในสิบปี แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอลงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลย ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2543 แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย อย่างไรก็ตามทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2559)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2559)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10287/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สมาชิกหมู่บ้านจัดสรรต้องยื่นคำร้องภายใน 30 วัน มิฉะนั้นขาดสิทธิฟ้อง
การร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ผู้คัดค้านมีข้อบังคับกำหนดเวลาให้สมาชิกต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ลงมติดังกล่าว เมื่อตามคำร้องขอของผู้ร้องมีการกล่าวอ้างว่าการลงมติที่ประชุมใหญ่สมาชิกสามัญของผู้คัดค้านได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของผู้คัดค้านโดยมีคำขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันลงมตินั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่ที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนนั้นมีการลงมติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2555 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557 จึงพ้นกำหนดเวลาที่จะร้องขอต่อศาลตามข้อบังคับดังกล่าว ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวและปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247