คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์ฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้เจตนาทุจริต ไม่ใช่เมื่อแน่ใจ
โจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงตนในวันใดอายุความร้องทุกข์ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น การที่โจทก์ร่วมพยายามโทรศัพท์ถึงจำเลยอีกหลายครั้งหลายหนในเวลาต่อมาทั้งๆ ที่จำเลยรับบ้างไม่รับบ้าง หรือบางครั้งรับปากว่าจะนำเงินไปชำระแต่แล้วก็ผิดนัดเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมผ่อนผันหรือให้โอกาสแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ไม่มีเจตนาฉ้อโกง แต่ศาลยังต้องพิจารณาเรื่องเงินที่ได้รับจากผู้เช่า และให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่เพื่อความชัดเจน
สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ที่ตกลงว่าหากผู้เช่าจะให้เช่าช่วงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า ไม่ใช่สาระสำคัญที่คู่สัญญาจำต้องปฏิบัติ การที่บริษัท จ. ผู้เช่าเข้าใจโดยสุจริตว่าสามารถนำอาคารพาณิชย์ที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า ประกอบกับการเช่าทรัพย์สินผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท จ. และเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่านำอาคารพาณิชย์ไปให้โจทก์ร่วมเช่าและได้เงินต่างๆ ไปจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาทุจริตที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วม จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญาเพราะว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วมเนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบางส่วน เงินค่าประกันอาคารและอุปกรณ์ เงินค่าเซ้ง และเงินมัดจำค่าน้ำค่าไฟไปจากโจทก์ร่วม แต่ทางนำสืบของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งได้ว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้าศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตามมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในคดีฉ้อโกงและการวินิจฉัยคดีแพ่งควบคู่คดีอาญา ศาลให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่
ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ คดีนี้แม้ศาลจะยกฟ้องคดีส่วนอาญาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วม เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับกรรมความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารสิทธิปลอม: การกระทำหลายกรรมในแต่ละวัน
การที่จำเลยหลอกลวง ส. ให้ส่งมอบบัตรเครดิตให้แก่ตน จากนั้นนำบัตรเครดิตไปแสดงต่อผู้เสียหายว่าเป็นของตน แล้วดำเนินการปลอมบันทึกรายการขายและใช้บันทึกรายการขายกับผู้เสียหายในคดีนี้เป็นจำนวนมากถึง 28 ฉบับ แม้จะทำเพียง 5 วัน ในแต่ละวันจะกระทำต่อผู้เสียหายคนเดียวกันก็จะถือว่าการกระทำแต่ละวันเป็นการกระทำกรรมเดียวไม่ใช่การกระทำหลายกรรม เป็นการกระทำ 5 กรรมดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ เพราะโดยสภาพของการกระทำจำเลยต้องทำบันทึกรายการขายทีละฉบับ ทั้งจำเลยยังได้แสดงเจตนาต่อผู้เสียหายว่าประสงค์ที่จะทำแต่ละฉบับแยกประเภทสินค้าต่างหากจากกันโดยไม่ประสงค์ที่จะทำบันทึกรายการขายรวมสินค้าในแต่ละวันทั้งๆ ที่สามารถทำได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำหลายกรรมในแต่ละวันรวม 28 กรรม
การกระทำของจำเลยในแต่ละวันเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำ 28 กรรม มิใช่ 5 กรรม แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษเพิ่มเติม เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงร่วมกัน: การกระทำที่ร่วมกันหลอกลวงให้เกิดความเสียหายทางการเงิน และประเด็นอายุความ
ใบจองหุ้นสามัญเป็นเพียงหลักฐานให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการเป็นผู้ซื้อหุ้นที่บริษัท ห. จะจัดสรรให้เมื่อมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว แม้โจทก์จะทำสัญญาจองซื้อหุ้นเป็นเวลานานเป็นปีแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับใบหุ้นและพยายามทวงถามจำเลยทั้งสองก็ตาม โจทก์ย่อมไม่ทราบว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงหรือไม่ เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับบริษัทโดยตรงที่ไม่สามารถจดทะเบียนเพิ่มทุนได้ ระหว่างที่รอโจทก์จึงไม่สามารถทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ จนกระทั่งวันที่ 20 มีนาคม 2541 จำเลยทั้งสองยอมรับกับโจทก์ว่าไม่มีการจดทะเบียนเพิ่มทุน จึงไม่มีหุ้นโอนให้โจทก์ พร้อมคืนเงินค่าจองหุ้นและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์รวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท เพื่อไม่ให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงทราบว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: ผู้เสียหายตกหลุมพราง ไม่ได้ร่วมเล่นการพนันโดยสมัครใจ มีสิทธิฟ้อง
จำเลยทั้งสามกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะเล่นการพนันเอาทรัพย์สินกัน แต่เป็นแผนการหรือกลอุบายอย่างหนึ่งที่จำเลยทั้งสามสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อจะหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วม ทั้งโจทก์ร่วมมิได้มีเจตนาที่จะไปร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสามมาแต่ต้น การที่โจทก์ร่วมมอบเงินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเพื่อเข้าหุ้นเล่นการพนันดังกล่าวเป็นการตกหลุมพรางที่วางกับดักเอาไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสามโดยไม่ได้รับอนุญาต อันจะเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดฐานฉ้อโกงเงินของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงการซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อ: ผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้รถยนต์เป็นของเจ้าของสัญญาเช่าซื้อ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรง โดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย อีกทั้งขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ จึงเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: ซิมการ์ดเป็นทรัพย์มีรูปร่าง การรับซิมการ์ดที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกงเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
ตามคำฟ้องของโจทก์ ข้อ 1 บรรยายสรุปได้ว่า มีคนร้ายเอาไปเสียซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหายที่ 1 แล้วนำไปทำปลอมโดยนำภาพถ่ายของบุคคลอื่นมาปิดทับภาพถ่ายผู้เสียหายที่ 1 ในบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าว จากนั้น คนร้ายได้นำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมดังกล่าว ไปหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนได้ซิมการ์ดและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้เสียหายที่ 2 ไป และตามคำฟ้องโจทก์ ข้อ 2 บรรยายว่า ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ซึ่งใช้กระทำผิดโดยใช้กับหมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ดของผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง ทั้งนี้โดยจำเลยรับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง หมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ด ไว้จากคนร้ายโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดลักษณะลักทรัพย์และฉ้อโกง ตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ทรัพย์แห่งการกระทำผิดฐานรับของโจรอันหนึ่งคือซิมการ์ด ของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างอันเป็นทรัพย์ตามคำจำกัดความตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 137 ไม่ใช่สิทธิการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจรซิมการ์ด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงซื้อเบี้ยเลี้ยงทหาร โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยกล่าวเท็จชักชวนโจทก์ร่วมให้นำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารล่วงหน้ารายละ 2,000 บาท จากยอดเบี้ยเลี้ยงทหารที่สามารถเบิกจ่ายได้จริงรายละ 2,600 บาท ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถนำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารและมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแต่อย่างใด เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อตกลงซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรวม 118 ราย และมอบเงินรวม 236,000 บาท ให้แก่จำเลยไป การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อห้ามการซื้อขายเบี้ยเลี้ยงทหาร ดังนั้น การซื้อขายเบี้ยเลี้ยงทหารที่จำเลยหลอกโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่กิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามแต่เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยเพื่อจูงใจให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและยินยอมมอบเงินให้จำเลย ซึ่งโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
การกระทำความผิดของจำเลยไม่สุจริตมุ่งเอาประโยชน์ในทรัพย์ของผู้อื่นเป็นเงินจำนวนมาก โดยจำเลยไม่ได้กระทำการใดที่แสดงว่าสำนึกผิดและมีเหตุอันควรปรานี แม้จำเลยจะไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวก็ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา ความผิดฐานฉ้อโกงและตาม พ.ร.บ. เช็ค การผิดสัญญาและดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารโดยมีร้อยตำรวจเอก อ. เป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย ร้อยตำรวจเอก อ. จึงมิได้กระทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาแก่โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ร้อยตำรวจเอก อ. ยังเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารแต่เมื่อพันตำรวจเอก ธ. เป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 จึงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยอยู่กับครอบครัวที่บ้านเลขที่ 44/16 ส่วนบ้านเลขที่ 62/2 เป็นที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์เขต 10 ท้องที่อำเภอปากพนัง ซึ่งจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าไปอยู่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี 2529 จนบัดนี้ยังไม่แจ้งย้ายไปอยู่แห่งใหม่ โดยจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ 62/2 ในวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์ ที่ทำการพรรคดังกล่าวเป็นที่ทำการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฯ มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนประจำอยู่ จำเลยได้แจ้งที่อยู่ดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นที่อยู่ที่สะดวกแก่การติดต่อ ดังนี้ บ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นทั้งภูมิลำเนาและเป็นหลักแหล่งที่ทำการตามปกติของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์ โดยส่งไปยังบ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นการส่งตามภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว เมื่อมีผู้รับหนังสือแทนโดยชอบ จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยจึงผิดสัญญา
ขณะทำสัญญาจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและใช้ตำแหน่งดังกล่าวประกันผู้ต้องหา ระบุในสัญญาประกันว่าที่อยู่ของจำเลยอยู่ที่อาคารรัฐสภา กับแสดงบัตรประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยแก่โจทก์ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหนังสือรับรอง จึงถือว่าจำเลยได้เลือกเอาอาคารรัฐสภาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยใช้สำหรับการติดต่อกับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่าปรับแก่โจทก์ โดยส่งไปที่อาคารรัฐสภาและบ้านเลขที่ 62/2 โดยมีผู้รับไว้แทน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัด ต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์
หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทันทีที่จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด แต่การที่จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดเป็นเพียงก่อให้เกิดหนี้ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในเงินค่าปรับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้จำเลยชำระหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรก เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินมาชำระในวันที่ 30 มกราคม 2542 แล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542
of 94