คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้จัดการมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: การพิพาทระหว่างผู้จัดการมรดกกับผู้รับพินัยกรรม การคิดค่าฤชาธรรมเนียมและทนายความ
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินของกองมรดกอยู่ ยังไม่ตกได้แก่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทยังไม่ตกได้แก่จำเลย และให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าที่จำเลยรับไว้จากผู้เช่าพร้อมทั้งดอกเบี้ย ให้แก่ผู้จัดการมรดกเป็นผู้เก็บรักษาไว้ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทตกได้แก่จำเลยตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกแล้ว เงินค่าเช่าที่พิพาทที่จำเลยรับไว้ก็ตกเป็นของจำเลยด้วย ศาลจึงกำหนดประเด็นที่โจทก์จำเลยจะนำสืบไว้ว่า ที่ดินวังพิพาทยังเป็นของกลางของทายาทหรือตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยตามพินัยกรรมแล้ว จำเลยแถลงต่อศาลขอยืนยันให้ศาลชี้ขาดกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไปตามจำเลยให้การต่อสู้ ดังนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลี้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลเมื่อจำเลยแพ้คดีชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจให้จำเลยเสียค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้ และเมื่อเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยจึงต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ตามราคาทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในฐานะผู้จัดการมรดก: สิทธิของทายาทและการผูกพันของคำพิพากษา
การที่ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดก ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นๆ ด้วย
ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกคนก่อนว่า จัดการมรดกไปด้วยความทุจริตประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้ทายาทกองมรดกนั้นเสียหาย ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกคนเก่านั้นได้กระทำไปด้วยความไม่สุจริตและประมาทเลินเล่อการที่ผู้จัดการมรดกได้กระทำไปจึงผูกพันกองมรดกคดีถึงที่สุด ต่อมาผู้จัดการมรดกคนใหม่ซึ่งเข้ามาจัดการมรดกแทนผู้จัดการมรดกคนเก่าที่ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนได้ฟ้องผู้จัดการมรดกคนเก่าในทำนองเดียวกันกับที่ทายาทได้ฟ้องในคดีก่อน และคดีถึงที่สุดแล้วนั้นถือว่าเป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาฟ้องแทนทายาทอีก เป็นการใช้สิทธิของทายาทซึ่งเป็นตัวการที่ได้ฟ้องไปแล้วนั่นเอง จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิการจัดการทรัพย์สินมรดกเฉพาะส่วน และการไม่มีส่วนได้เสียในการคัดค้าน
เมื่อผู้ตายมีคดีพิพาทอยู่กับผู้คัดค้าน สิทธิต่าง ๆ ของผู้ตายจะต้องมีผู้จัดการต่อไป และย่อมจะต้องจัดการเฉพาะทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้ตายเพียงเท่าที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ ไม่ใช่เข้าไปจัดการซ้อนผู้จัดการในคดีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง การตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้จึงไม่เป็นการตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำ
ในคดีที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างว่ามีอยู่ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องก็ดี ก็หาตัดสิทธิผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องไม่ และประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น
ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิจะคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 (4) มิได้หมายความว่า ถ้าใครคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิในการคัดค้านและขอบเขตการจัดการทรัพย์สินมรดก
เมื่อผู้ตายมีคดีพิพาทอยู่กับผู้คัดค้าน สิทธิต่างๆ ของผู้ตายจะต้องมีผู้จัดการต่อไป และย่อมจะต้องจัดการเฉพาะทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้ตายเพียงเท่าที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ ไม่ใช่เข้าไปจัดการซ้อนผู้จัดการในคดีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง การตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้จึงไม่เป็นการตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำ
ในคดีที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างว่ามีอยู่ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องก็ดีก็หาตัดสิทธิผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องไม่และประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น
ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิจะคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) มิได้หมายความว่า ถ้าใครคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมดคงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนทายาท, อายุความมิอาจอ้างตัดสิทธิการแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดก เพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้ว ผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใด ๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกหน้าที่แบ่งมรดก & ทายาทฟ้องร้องได้ แม้ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทน
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดกเพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้วผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใดๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทำศพของผู้ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก: การฟ้องต้องขอตั้งเป็นผู้จัดการศพก่อน
ฟ้องว่าเป็นภรรยาผู้ตาย ขอให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจ่ายค่าทำศพโดยไม่ได้ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการศพมาด้วย ศาลจะพิพากษาตั้งให้เป็นผู้จัดการศพไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อศาลยังไม่ได้พิพากษาตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการศพโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทำศพจากจำเลยผู้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกและภริยา ความรับผิดในฐานะผู้รับมรดก
สามีจำเลยเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์อยู่แล้วถึงแก่กรรมจำเลยทำหนังสือรับใช้หนี้ให้แก่โจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าขอให้สัญญาในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นภริยาและผู้จัดการมรดกนายไสว ทวีการ ต่อธนาคารว่า ข้าพเจ้าจะนำเงินมาผ่อนชำระให้แก่ธนาคาร" ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมิใช่ลูกหนี้โจทก์โดยตรง จำเลยเพียงแต่ทำหนังสือรับใช้หนี้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกนายไสว ทวีการ ผู้ตายลูกหนี้โจทก์เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
เมื่อจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้นอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกนั้น จึงสะดุดหยุดลง และต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้จากการกู้เงินอันมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากพฤติการณ์และความสามารถในการจัดการทรัพย์มรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรก็สั่งถอนได้ หรือถ้าศาลเห็นว่ายังไม่มีเหตุสมควรศาลจะยังไม่สั่งถอนก็ได้.
พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจเมื่อยังไม่มีเหตุเลินเล่อหรือทุจริต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรก็สั่งถอนได้ หรือถ้าศาลเห็นว่ายังไม่มีเหตุสมควรศาลจะยังไม่สั่งถอนก็ได้
พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดก
of 111