คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 มีผลให้ต้องคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 และ อ. ได้คนละส่วนเท่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งส่วนของ อ. ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมคือ โจทก์กับบุตรอีก 4 คน ของ อ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และจำเลยที่ 1 คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1629 (1) และ 1635 (1) ดังนี้ ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ อ. จึงต้องแบ่งให้แก่ บุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ใน 6 จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 7 ใน 12 ส่วน และมีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ทายาทโดยธรรม ของ อ. โดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. คนหนึ่งย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเฉพาะส่วนของตนและเรียกทรัพย์มรดกของ อ. ในส่วนของตนได้ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1300 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท นั้น จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษา
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงเจตนาลวงสมรู้กันฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ แต่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ตรงประเด็นที่พิพาทในคดีว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทสินสมรสส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 และฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรส จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีคู่สมรสและการโอนขายที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โจทก์จึงมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นการวินิจฉัยถูกต้องตรงประเด็นข้อพิพาทแล้ว และไม่ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 ในราคาเท่าใดก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ปัญหาว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องและจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงได้โดยไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเพิกถอนนิติกรรมตามบทบัญญัติมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง และคู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้จึงยุติไป แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในโฉนดที่ดินโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยคำร้องเพิกถอนการยึดทรัพย์โดยไม่ต้องไต่สวน หากพิจารณาจากเอกสารแล้วเพียงพอ
ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องของจำเลยทั้งสองประกอบเอกสารท้ายคำร้องแล้ว เห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลที่หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยชอบแล้ว จึงไม่มีเหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ เป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรว่าจากคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ โดยไม่จำต้องไต่สวนก็ชอบที่จะกระทำได้ ในกรณีเช่นนี้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งตามคำร้องไปได้เลยโดยไม่ต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์โดยไม่ทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสมาชิกภาพ สิทธิคืนเงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์อื่นที่ได้รับจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีคำสั่ง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยออกจากตำแหน่งเพราะได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำไม่เป็นความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันจะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า กรณีมีเหตุอันสมควรเชื่อว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวถือเป็นที่สุด แม้ในคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการดังกล่าวด้วยตนเองก็ตาม แต่การออกจากตำแหน่งเพราะเหตุนี้มีผลทำให้จำเลยต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นแก่โจทก์
เงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ และค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน นั้น จำเลยเป็นผู้เลือกผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงาน และเสนอขอให้โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งตามหนังสือยืนยัน โดยผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการแก่จำเลย ส่วนผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่จำเลยกำหนด ซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญและค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับไปในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
จำเลยออกจากตำแหน่งเพราะได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 97 บัญญัติบังคับให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ดังกล่าวคืนได้ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความห้าปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15600/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการยึดทรัพย์หลังศาลฎีกายกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ สิทธิเจ้าหนี้กลับสู่เดิม
คดีที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผน และมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 วรรคสาม ผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวทำให้มาตรการคุ้มครองกิจการหรือสภาวะพักการชำระหนี้ตามมาตรา 90/12 ในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 3 ย่อมสิ้นสุดลง สิทธิและหน้าที่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีต่อกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้เพิกถอนการยึดห้องชุดพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15189/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิรูปที่ดินและสภาพป่าสงวน: การเพิกถอนสภาพป่าสงวนต้องเกิดหลังการจัดสรรที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 บัญญัติว่า "เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (4) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น..." แม้ปรากฏว่ามี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน และกิ่งอำเภอโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2534 ก็ตาม แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดต่อไป หากจะถือว่าการประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินแปลงใด มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติในทันที ก็จะเป็นการส่งเสริมให้บุคคลใด ๆ บุกรุกเข้ามาทำประโยชน์หรือเข้าครอบครองที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันจะเป็นช่องว่างของกฎหมาย บทบัญญัตินี้จึงมุ่งหมายให้ ส.ป.ก. เข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรกรรมในพื้นที่ป่านั้นและจัดสรรให้ผู้ได้รับอนุญาตก่อน จึงจะถือเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินของรัฐ เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครพนมได้ออกประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเกิดเหตุหลังจากที่ผู้ร้องถูกดำเนินคดีนี้แล้ว ดังนั้น ในขณะที่ผู้ร้องกระทำความผิดคดีนี้ ผู้ร้องจึงยังไม่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเกิดเหตุ การจัดสรรที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ที่ดินเกิดเหตุจึงยังมีสภาพเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ ก็เป็นเพียงทำให้การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ร้องนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดก่อนหน้าที่ผู้ร้องจะได้รับอนุญาต กรณีหาใช่เป็นเรื่องมีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทำให้การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15010/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อคณะอนุญาโตตุลาการก่อน หากไม่ปฏิบัติตาม ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอน
สัญญาประกันภัยต่อระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมีข้อกำหนดการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการว่า หากคู่ความมีข้อพิพาทใด ๆ เกี่ยวข้องกับสัญญานี้ ให้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุญาโตตุลาการ (an arbitration tribunal) ตามสำเนาข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่พิพาทมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านอนุญาโตตุลาการจะต้องยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อคณะอนุญาโตตุลาการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตั้งอนุญาโตตุลาการหรือรู้ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 วรรคสาม ที่กำหนดเหตุแห่งการคัดค้านไว้ตามคำร้องและคำคัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านแจ้งการแต่งตั้ง จ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน ผู้ร้องแจ้งคัดค้านการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแล้วร่วมกันตั้งอนุญาโตตุลาการเพิ่มอีกหนึ่งคนเป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เพื่อประกอบกันเป็นคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงวิธีคัดค้านอนุญาโตตุลาการไว้เป็นอย่างอื่น จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง คือไม่ได้ยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการแต่งตั้ง จ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14890/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีไม่ชอบจากข้อมูลทรัพย์ไม่ตรงจริง ผู้ซื้อมีสิทธิขอเพิกถอนได้ภายใน 15 วัน
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 245 มีชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ เนื้อที่ 54.6 ตารางวา มีสิ่งปลูกสร้างที่จะทำการขายด้วย คือ บ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียว ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 1 หลัง ไม่ปรากฏเลขทะเบียน ผู้ร้องซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ หลังจากนั้นผู้ร้องให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ปรากฏว่าบ้านหลังดังกล่าวมีส่วนที่ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 245 เพียง 6x2 เมตร เท่านั้น จึงถือว่าบ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียวขนาด 6x12 เมตร ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดไม่มีอยู่จริง ดังนั้น การยึดบ้านทั้งหลังออกขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นการบังคับคดีไม่ชอบและฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมบ้านหลังดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง
เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดและทราบว่ามีส่วนของบ้านอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 245 เพียงบางส่วนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 จึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้าง โดยมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่ ทั้งมิได้ให้สัตยาบันหลังจากได้ทราบเรื่องการบังคับคดีไม่ชอบ ผู้ร้อง (ผู้ซื้อทรัพย์) จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14858/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดจำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ผู้พิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเพิกถอนได้
เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ตามมาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับร้อยเอก ท. จดทะเบียนจำนองที่ดินให้แก่ผู้คัดค้าน ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย การจดทะเบียนจำนองในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิจากนิติกรรมที่เสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมดังกล่าว แม้ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะกลับมีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่เคยรับทราบและให้ความยินยอมในการจดทะเบียนจำนองของจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมดังกล่าวได้ ซึ่งการยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างเช่นนี้ มิใช่เป็นการบังคับสิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา 193/9 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องกำหนดอายุความที่จะบังคับให้ผู้ร้องต้องใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความแต่อย่างใด และการที่ผู้ร้องขอเพิกถอนนิติกรรมการจำนองโดยยังไม่เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมอื่นก็ไม่เป็นการทำให้ผู้คัดค้านเสียสิทธิ เนื่องจากสิทธิของผู้คัดค้านมีอยู่โดยชอบอย่างไร ผู้คัดค้านก็ยังบังคับตามสิทธิของผู้คัดค้านได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14408/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาเหมาะสม, การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี, และความเสียหาย
จำเลยที่ 5 ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรซึ่งเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดแล้วว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายที่ดินไปมีราคาเหมาะสมแล้วและไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 5 ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวให้เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่อ้างว่ายังมีเหตุจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบอีกจึงไม่เป็นสาระที่จะต้องวินิจฉัย
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อที่ 68 วรรคแรก กำหนดว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นที่ดิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการปิดประกาศกำหนดวันขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ตั้งของที่ดินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้น และ ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดทราบซึ่งคำสั่งของศาลให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดนั้น ระเบียบของกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวข้างต้นหาได้เป็นข้อกฎหมายไม่ แต่เป็นระเบียบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้บุคคลภายนอกที่สนใจมาประมูลซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ดินที่ขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แม้จะเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 306 อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 5 ที่อ้างเหตุดังกล่าวก็คงกล่าวอ้างแต่เพียงลอย ๆ ไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 5 ต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวอย่างไร จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบกับได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์และผู้ดูแลการขายทอดตลาดของโจทก์คดีนี้ซึ่งมาเบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 5 ว่า แม้ฝ่ายโจทก์จะเข้าดูแลการขายทอดตลาดในครั้งนี้ก็จะไม่คัดค้านราคาเนื่องจากขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ฝ่ายโจทก์ได้คัดค้านราคาไว้ในการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นที่พอใจแก่ฝ่ายโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
of 104