พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, การลดโทษจำคุก, และการกักขังแทนค่าปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การฎีกาในปัญหาใดๆ ต่อศาลฎีกาย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะฎีกาแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นโทษขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต จะต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 และเมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 500,000 บาท ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เบากว่านี้ได้
การกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ถึงแม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองและมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นโทษขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต จะต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 และเมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 500,000 บาท ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เบากว่านี้ได้
การกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ถึงแม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองและมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8609/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะจำเลยและบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: สมาชิกสภาท้องถิ่น vs พนักงานองค์การ
จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกษม หาใช่พนักงานองค์การตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100 ไม่ หากแต่จำเลยที่ 1 มีสถานะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น อันต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ แต่ยังคงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ค่าขึ้นศาล: กำหนดเวลาและกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มขึ้น เป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะที่จะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยทั้งสามเห็นว่าอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวมิใช่อุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ตามนัยของ ป.วิ.พ. มาตรา 227 โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสามได้ใช้สิทธิดังกล่าวโดยยื่นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 นั้นแล้ว หากจำเลยทั้งสามประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยทั้งสามก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 234 กล่าวคือ จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง และเมื่อปรากฏว่ามีกำหนดให้จำเลยทั้งสามมาทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นับแต่วันที่กำหนดไว้นั้นแล้ว การที่จำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์โดยตรงในวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมาย
การยื่นขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ กฎหมายกำหนดขั้นตอนไว้ชัดแจ้งว่าเจ่าหนี้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง หลังจากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเป็นผู้พิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/32 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งต่อศาลได้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/32 วรรคสาม ดังนั้น เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องต่อศาลเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ต้องเป็นกรณีคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วย เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้หรือมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามที่ยื่นคำร้อง โดยเจ้าหนี้ยังไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีคำสั่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้อันเจ้าหนี้จะใช้สิทธิคัดค้านต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/32 วรรคสามแม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าลูกหนี้ปิดบังมิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้ก็ยังคงต้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หากเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ก็ชอบที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 146 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับคดีใหม่ และการแก้ไขคำพิพากษาที่มิชอบตามกฎหมาย
ก่อนคดีนี้ จำเลยที่ 4 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานกระทำอนาจารและภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 4 กระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ด้วย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องนั้น เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6212/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่มีใบอนุญาต ไม่ต้องมีใบอนุญาตเพิ่มเติม
เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย การครอบครองเครื่องกระสุนปืนของกลางจึงไม่ต้องมีใบอนุญาตอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ ธปท. กำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ มิได้ขัดต่อกฎหมาย
มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 บัญญัติว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้? (2) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ การที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยและส่วนลดจากลูกค้าทุกประเภทได้เองก็เพื่อความคล่องตัวของระบบธนาคารพาณิชย์ตามภาวะขึ้นลงของเศรษฐกิจในขณะนั้นอันจะก่อให้เกิดความมั่นคงและเป็นหลักประกันแก่การประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ทั้งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ข้อ 4 ยังกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งประกาศเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 3 วัน เพื่อควบคุมไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศตามอำเภอใจ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้วิธีหนึ่งตามที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ให้อำนาจไว้ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้ายแสดงราคาสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดทำตามกฎหมาย ไม่เป็นป้ายที่ต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย
โจทก์ซึ่งทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมันมีหน้าที่ต้องจัดทำแผ่นป้ายที่มีข้อความ "เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย" และป้ายแสดงประเภท ชนิด และราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกตาม ป.รัษฎากร และประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด (ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดประกอบด้วยกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ) ป้ายดังกล่าวข้างต้นจึงไม่ใช่ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ของโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหลังรวมกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุน: ผลผูกพันต่อลูกหนี้และข้อจำกัดทางกฎหมาย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 จัตวา วรรคแรก บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการของบริษัทใดมีข้อเสนอจะควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่นเป็นการเร่งด่วน? ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบกิจการหรือโอนกิจการเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและประโยชน์ของประชาชน ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ มาตรา 67 ตรี วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบการดำเนินการตามโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. โจทก์ และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 67 จัตวา และ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38 จัตวา จึงเป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
แม้ประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมาย จ. 4 ระบุว่า ให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ส. และข้อ 3 ระบุว่า เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จสิ้น ให้โจทก์และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลัง เมื่อโอนสินทรัพย์และหนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 บัญญัติว่า "การธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด (ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ "ให้สินเชื่อ" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว การเช่าซื้อจึงมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมาย จ. 4 ระบุว่า ให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ส. และข้อ 3 ระบุว่า เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จสิ้น ให้โจทก์และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลัง เมื่อโอนสินทรัพย์และหนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 บัญญัติว่า "การธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด (ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ "ให้สินเชื่อ" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว การเช่าซื้อจึงมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบ เนื่องจากยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดตามกฎหมาย
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546 ว่าถือไม่ได้ว่าจำเลยยากจน จึงยกคำร้อง หากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายใน 15 วัน ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2546 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ