พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นจำเลยที่ 2 ร่วมข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายก็ดี แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการตายและการพบศพของผู้ตาย เมื่อฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนแล้ว รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบพยานหลักฐานในความผิดอาวุธปืน และการลงโทษตามกฎหมายอาญา
ในความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคสองไม่ได้ คงลงโทษได้เพียงฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4735/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิมตามกฎหมายอาญา มาตรา 39(4) และขอบเขตการกระทำความผิดฐานพิมพ์และจำหน่ายเอกสาร
แม้ในคดีก่อนจะมีการบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยจัดพิมพ์เอกสารเดียวกันกับสิ่งพิมพ์ในคดีนี้ แต่ก็เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นที่มาของการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดและขอให้ลงโทษฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นสมเด็จพระราชินีและรัชทายาทด้วยการโฆษณาด้วยการจำหน่ายจ่ายแจกเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น มิใช่เป็นการฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษในฐานะที่เป็นผู้พิมพ์ การกระทำที่จำเลยถูกฟ้องคดีก่อนจึงต่างกรรมกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยพิมพ์เอกสารหรือสิ่งพิมพ์โดยฝ่าฝืนข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องสำหรับการกระทำนี้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) ส่วนการจ่ายแจกหรือเสนอจ่ายแจกเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ซึ่งเป็นอีกกรรมหนึ่งของฟ้องคดีนี้ เป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับการโฆษณาด้วยการจำหน่ายจ่ายแจกเอกสารอันเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นสมเด็จพระราชินีและรัชทายาทตามฟ้องคดีก่อนซึ่งได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วสิทธิในการนำคดีมาฟ้องสำหรับการกระทำนี้ย่อมระงับไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเดียวกันดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเฉพาะข้อหาพิมพ์เอกสารหรือสิ่งพิมพ์โดยฝ่าฝืนข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มลดโทษและวิธีคำนวณที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่ผิดพลาด
ปัญหาเรื่องวิธีเพิ่มโทษและการคำนวณลดโทษเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้และแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจจะยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงให้ศาลตั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มหรือลด ถ้า มีทั้งการเพิ่มและการลดโทษที่จะลง ให้เพิ่มก่อนแล้วจึงลดจากผลที่เพิ่มแล้วนั้นเมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 แล้ว แม้โจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ศาลก็เพิ่มโทษ จำเลยที่ 1 อีกมิได้เพราะเป็นโทษประหารชีวิตจึงคงต้องลดโทษให้จำเลยที่ 1 สถานเดียวจะไม่เพิ่มไม่ลดเพราะเหตุที่ส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลดหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยักยอกเงินของพนักงานรัฐ: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ: การใช้สังกะสีปลายแหลมข่มขู่เข้าข่ายอาวุธตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กำลังเข้ายื้อแย่งเอาเงินจากผู้เสียหายโดยจำเลยที่1ใช้สังกะสีปลายแหลมคล้ายมีดที่พกติดตัวไปขู่จะแทงเจ้าทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วยตามป.อ.มาตรา340วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่ออนาจาร, ทำให้เสรีภาพถูกจำกัด, และการใช้กฎหมายโทษหนักที่สุด
จำเลยฎีกาประสงค์จะให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุเกิดตามวันเวลาที่ผู้เสียหายเบิกความซึ่งแตกต่างไปจากที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284,309,310 ว่าเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยเมื่อ ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญและใช้กำลังฉุดผู้เสียหายจากในซอย ให้ขึ้นรถยนต์แล้วพาไปถึงโรงแรมแต่ผู้เสียหายหนีออกมาได้ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียววาระเดียวโดยมีเจตนาเพียงอย่างเดียวคือการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารเท่านั้น แต่โดยลักษณะของการกระทำคือ การบังคับพาเอาตัวผู้เสียหายจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งเช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ 310 อยู่ในตัวการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288เนื่องจากการพิมพ์ผิดพลาดไป ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2525 มาตรา4 มาด้วยตามคำขอของโจทก์นั้นปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะออกมามีผลบังคับใช้โดย เพิ่มอัตราโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 ให้สูงขึ้นกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดจะนำมาปรับบทลงโทษจำเลยด้วยหาได้ไม่เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืน: การถือครองชั่วคราวไม่ถือเป็นการครอบครองตามกฎหมาย
อาวุธปืนเป็นของ ย.บิดา ข. ซึ่ง ข.เป็นผู้เอามา และข.เป็นผู้ใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้ตาย แสดงว่า ข. เป็นผู้ครอบครองอาวุธปืนนั้นตลอดมา แม้ขณะที่เดินจากบ้านจำเลยไปที่ศาลาพักร้อนจำเลยเป็นผู้ถืออาวุธปืนนั้น แต่ก็เป็นการยึดถือไว้ชั่วคราวจำเลยกับ ข.เดินไปด้วยกัน ความครอบครองในอาวุธปืนนั้นยังคงอยู่ที่ ข. หาเปลี่ยนมาอยู่ที่จำเลยไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง และถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้พกพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษจำคุกเกิน 50 ปี ตามกฎหมายอาญาใหม่ ศาลฎีกากลับคำพิพากษา
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน2514 ข้อ 2 โดยบัญญัติความในมาตรา 91 ขึ้นใหม่ จะลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 50 ปีไม่ได้ เว้นแต่จะลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83 กระทงหนึ่ง จำคุกตลอดชีวิตและตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง จำคุก 3 ปีแต่เมื่อวางโทษจำคุกตลอดชีวิตในกระทงแรกแล้ว ก็ไม่ต้องนำโทษจำคุก 3ปีในกระทงหลังมารวมด้วย