พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่: พยายามฆ่า, มีอาวุธปืน, พาอาวุธ, ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
จำเลยกระทำผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานสองกระทงศาลฎีกาเรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละตลอดชีวิต และผิดฐานมีอาวุธปืนกับฐานพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านอีกสองกระทง จำคุกกระทงละ12 ปี และ 3 ปี ตามลำดับลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วจำคุกทั้งสิ้น 76 ปี 8 เดือน ดังนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงให้จำคุกจำเลย 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต - การใช้บทกฎหมายเฉพาะ (มาตรา 147) ย่อมตัดบททั่วไป (มาตรา 157) และผลของการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่ารื้อถอนอาคารต่อเติมหลังโอนสิทธิ เจ้าของเดิมไม่ต้องรับผิดหากกฎหมายใหม่บังคับใช้
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ทำการต่อเติมอาคารดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หลังจากจำเลยถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้วจึงได้ขายอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 และให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แทน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับให้รื้ออาคารส่วนที่ต่อเติม ดังนี้ต้องใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับ ซึ่งมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้รื้อ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่ที่บัญญัติขึ้นภายหลังการกระทำความผิด
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทุกกรรมรวม 3 กระทง กระทงแรกประหารชีวิตอีก 2 กระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย 1 ใน 3 กระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อีก 2 กระทงลงโทษกระทงละ8 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี รวมจำคุกจำเลย 51 ปี 4 เดือน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการแก้ไขและบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขึ้นใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย โดยในกรณีคดีนี้เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจำคุกได้ไม่เกิน 50 ปี ศาลฎีกาแก้เป็นให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อโทษจำคุกเดิม กรณีความผิดหลายกระทง ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ยกเลิกความใน ม. 91 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนว่า ให้ศาลลงโทษทุกกรรม แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจะต้องไม่เกิน 50 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป ถือได้ว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แม้คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3 จะถึงที่สุดแล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) ต้องนำ มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้ คดีนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 50 ปี 9 เดือน ศาลฎีกา พิพากษาแก้เป็นจำคุกเพียงคนละ 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาและการบังคับใช้กฎหมายใหม่หลังฟ้องคดี สัญญาเช่าเดิมยังคงมีผล
จำเลยเช่านาพิพาทจากโจทก์ครบกำหนด 6 ปีแล้วไม่ยอมออกไปโจทก์จึงฟ้องขับไล่ ต่อมาระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลได้มีพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ใช้บังคับจำเลยจะอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีหาได้ไม่เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับแก่คดีความที่ค้างชำระอยู่ในศาลในวันที่หรือภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อ พ.ศ. 2521 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่านาพิพาทแก่จำเลยว่าเมื่อการเช่าครบกำหนด 6 ปีใน พ.ศ. 2522 แล้ว ให้จำเลยออกไปจากนาพิพาท ปลัดอำเภอผู้ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอได้สอบสวนคู่กรณีแล้วปรากฏว่าการเช่าจะครบกำหนด 6 ปีใน พ.ศ. 2523 จึงได้ทำการเปรียบเทียบให้จำเลยเช่าต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2523 และในปี พ.ศ. 2524 จำเลยหมดสิทธิทำนา ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยินยอมตามคำเปรียบเทียบ และลงชื่อกับพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในคำเปรียบเทียบดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกการเช่านาพิพาทชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 39 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายอาญาหลังกระทำผิดและผลกระทบต่อโทษจำคุก: กรณีจำเลยกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นและมีอาวุธปืน
ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานมีและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อลดโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุกตลอดชีวิต จำคุก 8 เดือน และจำคุก 4 เดือนตามลำดับ เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมจำคุก 51 ปี แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 ออกใช้บังคับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด จึงลงโทษจำคุกจำเลย 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่หมายเหตุ โปรดดูฎีกาที่ 3703/2526 ซึ่งวินิจฉัยแตกต่างกับฎีกาฉบับนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติในขณะกระทำผิด แม้กฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับภายหลัง
การที่จะลงโทษบุคคลใดในทางอาญาได้ ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม 16 และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ที่ได้แก้ไขแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม 16 และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ที่ได้แก้ไขแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด แม้กฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว แต่ไม่สามารถใช้บังคับย้อนหลังได้
การที่จะลงโทษบุคคลใดในทางอาญาได้ ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม16และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7)พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 55,78 ที่ได้แก้ไขแล้ว(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม16และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7)พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 55,78 ที่ได้แก้ไขแล้ว(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายในอดีตกับกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้กฎหมายใหม่
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่ง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์