คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญา: เลือกใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด หรือกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ โดยยึดตามหลักกฎหมายเดิม
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในระดับที่ใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดก็ได้ หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดก็ได้ เช่นนี้ควรปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายในขณะกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิด คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง มิได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์กระทำผิดอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดทางอาญาของลูกจ้าง แม้ไม่ใช่ตัวการ ถือเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(1) นั้น แม้มิใช่ตัวการแต่หากเป็นการสนับสนุนการกระทำผิด ก็เป็นการกระทำความผิดอาญาตามความหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาหลังกระทำผิดและผลกระทบต่อการลงโทษ
ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานมีและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อลดโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุกตลอดชีวิต จำคุก 8 เดือน และจำคุก 4 เดือนตามลำดับ เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมจำคุก 51 ปี แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 ออกใช้บังคับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด จึงลงโทษจำคุกจำเลย 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่
หมายเหตุ โปรดดูฎีกาที่ 3703/2526 ซึ่งวินิจฉัยแตกต่างกับฎีกาฉบับนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ผู้สนับสนุนการกระทำผิด ความรับผิดของผู้จ้างวาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกอีก 1 คน ทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 กับ ห. ทำร้ายจนสลบแล้วบุคคลทั้งสองเอาเงินไป อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้จ้างจำเลยที่ 1 กับ ห. และช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยการเรียกผู้เสียหายให้กลับบ้านแต่โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ความผิดดังกล่าวอยู่ในส่วนลักษณะคดี จึงมีผลปรับบทลงโทษถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งขับไล่ในคดีสัตว์ป่า: ต้องมีคำพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามกฎหมายก่อน
เมื่อศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 24แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ไม่ว่าที่พิพาทจะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยรับสารภาพ แต่ศาลยกฟ้องได้ หากพยานหลักฐานฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ที่แก้ไขใหม่ที่ว่า เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ให้ศาลพิพากษาได้นั้น มิได้หมายความว่า เมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการกระทำผิด แต่ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง
จำเลยขี่รถจักรยานยนต์พา ข. นั่งซ้อนท้ายไปยิงผู้เสียหายโดย ข. เป็นผู้ยิง แต่กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย ดังนี้รถจักรยานยนต์ไม่ใช่ของที่ใช้ร่วมในการกระทำผิดแต่เป็นเพียงพาหนะที่ใช้ในการไปมาเท่านั้น จึงไม่ใช่ของกลาง ที่จะพึงริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้บรรทุกสิ่งของเกินอัตราน้ำหนักตามกฎหมาย โดยศาลพิจารณาจากพฤติการณ์การใช้รถยนต์เป็นทรัพย์สินในการกระทำผิด
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกทรายเกินน้ำหนักอัตราที่กำหนดเป็นการใช้รถยนต์กระทำผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ไม่บัญญัติให้ริบรถยนต์ ก็ริบได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่ริบรถยนต์โดยศาลชั้นต้นเห็นว่าริบไม่ได้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าริบได้แต่ไม่ควรริบ จำเลยฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิด และผลกระทบต่อการลงโทษคดีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรพ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง เป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
of 24