คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กองมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรมก่อนกำหนด ไม่ลบล้างความรับผิด กองมรดกยังคงต้องรับผิดตามเช็ค
การสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้านั้นหมายความเพียงว่า ผู้ทรงมีสิทธิเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารได้ต่อเมื่อถึงวันที่กำหนดในเช็คเท่านั้น แม้ผู้สั่งจ่ายจะถึงแก่กรรมไปก่อนวันเช็คถึงกำหนด ก็หาทำให้ผุ้สั่งจ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็คนั้นหลุดพ้นความรับผิดไปได้ไม่ หน้าที่และความรับผิดตามเช็คนั้นย่อมยังคงตกอยู่แก่กองมรดกของผู้สั่งจ่ายนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ความรับผิดของกองมรดกผู้สั่งจ่าย แม้ผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรมก่อนเช็คถึงกำหนด
การสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้านั้นหมายความเพียงว่าผู้ทรงมีสิทธิเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารได้ต่อเมื่อถึงวันที่กำหนดในเช็คเท่านั้น แม้ผู้สั่งจ่ายจะถึงแก่กรรมไปก่อนวันเช็คถึงกำหนด ก็หาทำให้ผู้สั่งจ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็คนั้นหลุดพ้นความรับผิดไปได้ไม่ หน้าที่และความรับผิดตามเช็คนั้นย่อมยังคงตกอยู่แก่กองมรดกของผู้สั่งจ่ายนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583-1587/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อกองมรดก: กองมรดกไม่ใช่ นิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจถูกฟ้อง
กองมรดกของผู้ตายไม่ใช่นิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องกองมรดกให้รับผิดร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
จ.เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วย เมื่อ ล.ตายแล้ว จ.จดทะเบียนสมรสกับ ฉ.ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ ฉ.ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ.ก็ตายไปก่อนแล้ว ศาลตั้งให้ จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ.ก็ตายไป ก่อนตาย จ.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้อง แม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ. ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ.จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ในกองมรดกของ ฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดก แม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีระหว่างบุตรกับผู้จัดการมรดก: ไม่ขัดมาตรา 1534 หากพิพาทเกี่ยวกับกองมรดก
บุตรเป็นโจทก์ ฟ้องมารดาในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 31/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของกองมรดกตามกฎหมาย
เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของผู้นั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย
กองมรดกได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่ และถึงแก่ความตายลง จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทนั้นได้รับ จำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตายและผู้ตายจะมีมรดกหรือไม่ เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 866/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากกองมรดก: โอนโฉนดรับมรดกไม่ทำให้ทรัพย์พ้นจากหนี้สินของผู้ตาย
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ. ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ.ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของพ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ. ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในกองมรดกเพื่อชำระหนี้: แม้ผู้รับมรดกมีชื่อเป็นเจ้าของร่วม ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์
ก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ พ. ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จำเลยและผู้ร้องขัดทรัพย์ได้จดทะเบียนลงชื่อเป็นผู้รับมรดกที่ดินของ พ. เช่นนี้แม้จำเลยและผู้ร้องจะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทน พ. เจ้ามรดกแล้วก็ตามแต่ที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. อยู่นั่นเอง โจทก์ชอบที่จะยึดมาชำระหนี้ได้
แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 และผู้ร้องมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมในโฉนดที่ดินแปลงที่โจทก์ยึดก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดเป็นสัดส่วน จำเลยจึงยังมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ด้วย โจทก์มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับยึดที่ดินแปลงนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในกองมรดกเพื่อชำระหนี้ แม้ผู้รับมรดกจะมีชื่อเป็นเจ้าของร่วม ก็ยังยึดได้หากยังไม่ได้แบ่งแยกสัดส่วน
ก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ พ.ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยและผู้ร้องขัดทรัพย์ได้จดทะเบียนลงชื่อเป็นผู้รับมรดกที่ดินของ พ. เช่นนี้ แม้จำเลยและผู้ร้องจะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทน พ. เจ้ามรดกแล้วก็ตาม แต่ที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. อยู่นั่นเอง โจทก์ชอบที่จะยึดมาชำระหนี้ได้
แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 และผู้ร้องมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมในโฉนดที่ดินแปลงที่โจทก์ยึดก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดเป็นสัดส่วน จำเลยจึงยังมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ด้วยโจทก์มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงนั้นได้
of 15