คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองต้องเป็นไปตามจำนวนในใบอนุญาต การฝากเลี้ยงไม่ทำให้จำนวนที่ครอบครองถูกต้อง
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีไว้ในความครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่อาจครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองเกินกว่าที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และการครอบครองดังว่านี้ย่อมหมายความถึงการมีไว้ในครอบครองตามจำนวนในใบอนุญาตของตนเอง หาใช่หมายถึงการมีสิทธิครอบครอง ซึ่งอาจฝากให้ผู้อื่นดูแลแทนกันได้ไม่ เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณทีจำเลยได้รับอนุญาต จึงต้องมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ไม่เกินปริมาณที่กำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้เพื่อการค้าไม่เป็นความผิด พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503มาตรา 15,40 เป็นเรื่องมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้เกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดหรือค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาจะซื้อขายและการฉ้อโกง: การกระทำที่มิใช่การหลอกลวงแต่เป็นข้อตกลงทางการค้า
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2506 เวลากลางวันจำเลยโดยทุจริต ขายโรงเรือนไม่มีเลขหมาย ตำบล ฯลฯ ให้โจทก์ราคา4,000 บาท โดยหลอกลวงแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจะไปจดทะเบียนการซื้อขายบ้านในภายหลัง โจทก์หลงเชื่อจึงยอมทำสัญญาจะซื้อขายและมอบเงิน 4,000 บาท ให้จำเลยไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2511ต่อมาจำเลยได้มอบโรงเรือนตามสัญญาจะซื้อขายให้โจทก์ครอบครองแล้วแต่กลับนำโรงเรือนนั้นไปทำสัญญาซื้อขายให้ ส. ซ้ำอีก เหตุเกิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1)
การที่จำเลยซึ่งไม่ใช่ผู้แทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ร่วมเอาเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าชนิดนั้นของโจทก์ร่วมติดไว้ที่หน้าร้านจำเลย และพิมพ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมลงให้ปรากฏในนามบัตรร้านจำเลยโดยไม่มีอำนาจจะกระทำได้ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยกระทำเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น (คือ ของโจทก์ร่วม) จึงเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409-1410/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการขนส่งของตนเอง ไม่ถือเป็นการค้าตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
จำเลยซ่อมแซมรถยนต์โดยสารของบริษัทจำเลย เพื่อประโยชน์ในกิจการขนส่งของจำเลย แม้การขนส่งจะเป็นกิจการค้า จะถือว่าการซ่อมรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งเป็นการค้าด้วยไม่ได้ มิฉะนั้นแล้วพ่อค้าที่มีรถยนต์สำหรับส่งสินค้าก็ไม่อาจทำการซ่อมแซมรถยนต์ของตนเองได้ คำว่า "ทำเพื่อการค้า" ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 ต้องหมายความว่าทำการค้าในธุรกิจนั้นนั้นโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409-1410/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการค้าของตนเอง ไม่ถือเป็นการค้าเพื่อต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
จำเลยซ่อมแซมรถยนต์โดยสารของบริษัทจำเลย เพื่อประโยชน์ในกิจการขนส่งของจำเลย แม้การขนส่งจะเป็นกิจการค้าจะถือว่าการซ่อมรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งเป็นการค้าด้วยไม่ได้ มิฉะนั้นแล้วพ่อค้าที่มีรถยนต์สำหรับส่งสินค้าก็ไม่อาจทำการซ่อมแซมรถยนต์ของตนเองได้ คำว่า"ทำเพื่อการค้า" ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุขพ.ศ.2484 ต้องหมายความว่าทำการค้าในธุรกิจนั้นนั้นโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409-1410/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการค้าของตนเอง ไม่ถือเป็นการค้าตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
จำเลยซ่อมแซมรถยนต์โดยสารของบริษัทจำเลย. เพื่อประโยชน์ในกิจการขนส่งของจำเลย. แม้การขนส่งจะเป็นกิจการค้า.จะถือว่าการซ่อมรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งเป็นการค้าด้วยไม่ได้. มิฉะนั้นแล้วพ่อค้าที่มีรถยนต์สำหรับส่งสินค้าก็ไม่อาจทำการซ่อมแซมรถยนต์ของตนเองได้. คำว่า'ทำเพื่อการค้า' ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุขพ.ศ.2484 ต้องหมายความว่าทำการค้าในธุรกิจนั้นนั้นโดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรเข้าข่ายการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40. ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท. ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลง โจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อย ๆ จนถึง พ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาท ตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อหากำไรถือเป็นการค้าต้องเสียภาษี หากมีพฤติการณ์เป็นการจัดสรรขายและใช้สถานที่ของบริษัทในการดำเนินการ
การขายที่ดินในกรณีใดจะถือว่าเป็นทางค้าหากำไร ต้องพิจารณาจากกิจการเป็นราย ๆ ไปว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า" ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของ+ได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนและการมีไว้เพื่อการค้า: การพิจารณาเจตนาและลักษณะการครอบครอง
ศาลชั้นต้นลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ฎีกาว่าจำเลยมีใบอนุญาตจำหน่ายอาวุธปืน มีปืนไว้ในตู้แสดงสินค้าหน้าร้านโดยมิได้รับอนุญาต ก็มีผิดฐานมีอาวุธปืนสำหรับการค้าตามมาตรา 24 ด้วย ดังนี้ เบื้องต้นต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนหรือไม่ แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยข้อกฎหมายนี้ได้เฉพาะข้อหาฐานมีอาวุธปืนยังไม่ยุติ และการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงในการมีอาวุธปืนไว้อย่างใด จำเลยได้นำสืบไว้แล้ว ฉะนั้น ข้อเท็จจริงเท่าที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าเป็นการมีอาวุธปืนตามความหมายแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบไว้แล้วเสียเอง โดยมิต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่
คำว่า มีอาวุธปืน ตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 4(6) หมายความว่า มีกรรมสิทธิ์ หรือมีไว้ในครอบครอง คำว่า ครอบครอง หาได้บัญญัติให้มีความหมายเป็นพิเศษอย่างใดไม่ ต้องถือว่ามีความหมายตามกฎหมายทั่วไป การถือปืนอยู่ชั่วขณะแล้วต้องส่งคืน เป็นการยึดถือปืน แต่มิได้มีเจตนายึดถือเพื่อตน หาเป็นการครอบครองไม่ (อ้างฎีกาที่ 1824/2499 และที่ 1578/2495) กรณีนี้ร้านค้าปืนผู้เป็นเจ้าของปืนได้มอบปืนมาให้ลูกค้าดูแล้วต้องส่งคืน แม้จะวางปืนไว้ในร้านชั่วระยะเวลา ก็หาทำให้ผู้ถือปืนมาให้ดูเป็นผู้ครอบครองปืนนั้นไม่ การที่ปืนมาตกอยู่ในร้านจำเลยเพราะเหตุนี้ ไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครอง
ซองกระสุนปืนและกระสุนปืนขนาดต่าง ๆ ที่ตรวจพบในลิ้นชักโต๊ะในร้านปืนซึ่งจำเลยเป็นผู้รับอนุญาตจำหน่ายอาวุธปืน จำเลยมิได้นำสืบแก้ให้เห็นว่าได้รับอนุญาตแล้ว และในบัญชีอาวุธปืนประจำร้านไม่มีอาวุธปืนและกระสุนปืนเหลืออยู่เลย ไม่มีเหตุที่จะแสดงว่าจำเลยมิได้ครอบครอง ต้องถือว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพราะอยู่ในร้านค้าปืนของจำเลย แต่พิเคราะห์จำนวน ลักษณะ เห็นว่า ไม่ใช่สำหรับการค้า เพราะมีชนิดละเล็กน้อย และเฉพาะกระสุนขนาด 28 จำนวน 25 นัด ก็เป็นกระสุนสำหรับปืนที่ไม่มีสั่งเข้ามานานแล้ว ทั้งเก็บอยู่ในลิ้นชัก มิได้แสดงว่าจะจำหน่าย เพียงแต่มีอาวุธปืนหรือกระสุนปืนอยู่ในร้านค้าปืน หามีความผิดตามมาตรา 24 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1376/2493).
of 19