พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียน: การระบุสถานะในฟ้องสำคัญต่อการมีอำนาจดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในฐานะเป็นตัวแทนเขา ภายหลังจะมาอ้างว่าได้ทำไปในฐานะเป็นตัวการมิได้ ห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะฟ้องความในนามของห้างมิได้และบุคคลซึ่งอ้างว่าได้รับตั้งแต่งให้เป็นตัวแทนของห้างก็พลอยไม่มีอำนาจเข้ามาเป็นโจทก์ฟ้องความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยอมรับอำนาจศาลของหน่วยงานราชการ และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
กรมที่ถูกฟ้องไม่ยอมมาเปนจำเลย ศาลบังคับอย่างใดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากสามี/ภริยา: เหตุทิ้งร้างไม่สมบูรณ์, ข้อตกลงก่อนสมรส, และการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ แต่โจทก์คงมีแต่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งมิใช่ผู้ชำนาญกฎหมายประเทศอังกฤษมาเบิกความประกอบพยานเอกสาร ซึ่งในบทบัญญัติกฎหมายประเทศอังกฤษดังกล่าว ห้ามการหย่าก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันทำการสมรส เมื่อโจทก์นำสืบว่า ตามกฎหมายของประเทศอังกฤษยินยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ จำเลยไม่โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว เพียงแต่อ้างว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษมีเงื่อนไขการหย่าและคดีนี้ยังไม่พ้นระยะเวลาการหย่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้โต้แย้งความมีอยู่จริงของกฎหมายที่โจทก์นำสืบดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายประเทศอังกฤษหรือไม่ ข้อเท็จจริงก็ย่อมรับฟังได้ว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษยินยอมให้คู่สมรสหย่าขาดกันได้ ซึ่งต้องตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย มาตรา 27 วรรคหนึ่ง แล้ว ทำให้ศาลไทยมีอำนาจที่จะพิจารณาต่อไปได้ว่า เหตุหย่าที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องนั้น เป็นเหตุหย่าตามกฎหมายของประเทศไทยหรือไม่
การทิ้งร้าง หมายความว่าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเจตนาจะไม่ร่วมอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป จึงได้ทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่ง หาใช่เป็นการทิ้งร้างเพราะมีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควร ข้อเท็จจริงการทิ้งร้างตามคำเบิกความของ พ. ล้วนเป็นพยานบอกเล่าทั้งสิ้น ไม่มีส่วนที่ พ. รู้เห็นด้วยตนเอง การที่โจทก์พาจำเลยไปอยู่กินด้วยกันที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และโจทก์ไม่ยินยอมเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกขัดแย้งกับข้อตกลงของโจทก์จำเลยก่อนสมรสซึ่งโจทก์ขอจำเลยแต่งงานโดยโจทก์จำเลยตกลงใช้ชีวิตบั้นปลายที่กรุงเทพมหานคร ดังนั้น การที่จำเลยเดินทางกลับมาประเทศไทย จึงไม่ถือเป็นการทิ้งร้างโจทก์ตามกฎหมาย โจทก์ไม่อาจอ้างการทิ้งร้างเป็นเหตุหย่าได้
การทิ้งร้าง หมายความว่าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเจตนาจะไม่ร่วมอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป จึงได้ทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่ง หาใช่เป็นการทิ้งร้างเพราะมีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควร ข้อเท็จจริงการทิ้งร้างตามคำเบิกความของ พ. ล้วนเป็นพยานบอกเล่าทั้งสิ้น ไม่มีส่วนที่ พ. รู้เห็นด้วยตนเอง การที่โจทก์พาจำเลยไปอยู่กินด้วยกันที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และโจทก์ไม่ยินยอมเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกขัดแย้งกับข้อตกลงของโจทก์จำเลยก่อนสมรสซึ่งโจทก์ขอจำเลยแต่งงานโดยโจทก์จำเลยตกลงใช้ชีวิตบั้นปลายที่กรุงเทพมหานคร ดังนั้น การที่จำเลยเดินทางกลับมาประเทศไทย จึงไม่ถือเป็นการทิ้งร้างโจทก์ตามกฎหมาย โจทก์ไม่อาจอ้างการทิ้งร้างเป็นเหตุหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9743/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน มีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 0.110 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ศาลจะลงโทษบทใดบทหนึ่งก็ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือฐานเสพและจำหน่ายยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อขณะจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก หรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล พนักงานสอบสวนต้องนำตัวจำเลยขณะเป็นผู้ต้องหาไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด การที่พนักงานสอบสวนดำเนินการฝากขังตลอดมาและพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9366/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบ หากจำเลยฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยอื่นร่วมด้วย การดำเนินคดีกับจำเลยหลบหนีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เสียด้วย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการฎีกาในปัญหาใดต่อศาลฎีกา เป็นปัญหาเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีข้อโต้แย้งและคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ถูกต้องและผิดต่อกฎหมายอย่างใด ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชั่วคราว การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ถือว่ายังไม่ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ในศาลชั้นต้น เมื่อไม่ได้มีการยกคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขึ้นพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อจากนั้นจึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 คงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยอื่นที่ไม่ได้ถูกจำหน่ายคดี แม้หากคดีนี้จะฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 อ้าง ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย
ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชั่วคราว การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ถือว่ายังไม่ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ในศาลชั้นต้น เมื่อไม่ได้มีการยกคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขึ้นพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อจากนั้นจึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 คงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยอื่นที่ไม่ได้ถูกจำหน่ายคดี แม้หากคดีนี้จะฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 อ้าง ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีความผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องล้มละลายหลังโอนสิทธิเรียกร้อง: โจทก์ยังสามารถดำเนินคดีได้จนกว่าจะมีการสวมสิทธิ
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 10 แม้ภายหลังยื่นคำฟ้องโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางก็ตาม แต่ตราบใดที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ยังมิได้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน โจทก์ซึ่งยังอยู่ในฐานะคู่ความ ก็ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ต่อไปเท่าที่จำเป็นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน และแม้โจทก์จะมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ตาม ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ อนึ่ง หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ศาลล้มละลายกลางก็ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริษัททรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ย่อมมีฐานะเป็นคู่ความชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อไปได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ถูกฟ้องคดี และผลกระทบต่อการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
เดิมขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 37 ต่อมาในปี 2540 โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาในปี 2545 จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 43 การติดต่อยื่นคำร้องและคำแถลงต่อศาลหลังจากนั้นจำเลยระบุภูมิลำเนาคือบ้านเลขที่ 43 ทั้งสิ้น การที่ต่อมาเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องได้กระทำในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเกือบ 10 ปี เจ้าพนักงานศาลน่าจะตรวจสอบที่อยู่ของจำเลยในสายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยปิดหมายตามภูมิลำเนาเดิมคือบ้านเลขที่ 37 ซึ่งจำเลยย้ายที่อยู่ออกไปแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบนัดแล้ว การที่จำเลยมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลเพิ่มตามนัด จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด