พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบที่มาของเช็คเพื่อพิสูจน์หนี้ ไม่เป็นการนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าตะปูแก่โจทก์แต่โจทก์นำสืบว่า พ. เป็นผู้เอาเช็คของจำเลยมาชำระหนี้ค่าตะปูที่ พ. ซื้อจากโจทก์ เป็นการนำสืบในรายละเอียดถึงที่มาแห่งเช็คจึงไม่นอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เดิมแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้ แม้ไม่ปรากฏในฟ้อง หากมีการนำสืบถึงความเป็นมาของหนี้ได้อย่างชัดเจน
จำเลยเป็นหนี้ค่าไม้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงเอาหนี้ค่าไม้จำนวนนี้มาทำเป็นสัญญากู้ตามฟ้อง ย่อมผูกพันบังคับกันได้อย่างหนี้เงินกู้ และการที่โจทก์นำสืบว่า สัญญากู้รายนี้เกิดจากการซื้อขายไม้ซึ่งจำเลยค้างชำระราคาอยู่ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ดังนี้ เป็นการนำสืบให้เห็นความเป็นมาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง หาใช่นอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ค่าไม้เป็นหนี้เงินกู้: การนำสืบความเป็นมาของมูลหนี้ไม่นอกฟ้อง
จำเลยเป็นหนี้ค่าไม้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงเอาหนี้ค่าไม้จำนวนนี้มาทำเป็นสัญญากู้ตามฟ้อง ย่อมผูกพันบังคับกันได้อย่างหนี้เงินกู้ และการที่โจทก์นำสืบว่า สัญญากู้รายนี้เกิดจากการซื้อขายไม้ซึ่งจำเลยค้างชำระราคาอยู่ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เป็นการนำสืบให้เห็นความเป็นมาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง หาใช่นอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเพื่ออธิบายข้อความในเอกสารสัญญาเช่า ไม่ขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ ท. ตัวแทนโจทก์ทำบันทึกเอกสารหมาย ล.1 มอบให้จำเลยมีข้อความว่าได้รับฝากเงินค่าต่อสัญญาหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยบาท ดังนี้ จำเลยนำสืบได้ว่า เหตุ ที่ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็เพราะโจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีก 3 ปี อันเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารให้ชัดเจน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังฝ่ายตรงข้ามสืบพยานเสร็จสิ้น และผลกระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน จำเลยนำเอกสารหมาย ล.1(หนังสือโจทก์ยกที่พิพาทให้จำเลย) มาอ้างภายหลังจากที่โจทก์ได้สืบพยานบุคคลเสร็จสิ้นไปแล้ว ในขณะที่โจทก์เบิกความจำเลยก็มิได้ถามค้านถึงเอกสารหมาย ล.1 และโจทก์ได้คัดค้านไว้แล้วฉะนั้นเอกสารหมาย ล.1 จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลทำละเมิด: ฟ้องจำเลยโดยตรงได้ แม้ไม่ได้ระบุตัวผู้กระทำละเมิดเฉพาะเจาะจง การนำสืบไม่ถือว่านอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลว่าทำละเมิดต่อโจทก์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การแบ่งแยกที่ดิน - หลักฐานการซื้อขาย - การนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ทั้งแปลง จำเลยให้การว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์เพียงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้น แม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้าง คดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับ ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
ที่จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินตามโฉนดกันคนละครึ่งโดยให้ทิศเหนือเป็นของจำเลย ทิศใต้เป็นของโจทก์นั้น แม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์นำสืบมิได้ตามที่กล่าวอ้าง คดีก็จะต้องฟังว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์และจำเลยคนละครึ่งตามที่จำเลยยอมรับ ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีสิทธินำสืบถึงข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: ศาลฎีกายกฟ้องนอกประเด็น แล้วพิพากษาตามข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกตัดฟันต้นไม้และล้อมรั้วในที่ดินโฉนดของโจทก์ ขอให้ห้ามและรื้อรั้ว จำเลยให้การว่าว่าจำเลยทำในที่ดินโฉนดของจำเลย ซึ่งได้กรรมสิทธิ์ด้วยการซื้อโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตโจทก์ไม่เคยครอบครองที่พิพาท มิได้ต่อสู้ว่าโฉนดที่ดินของโจทก์ออกทับโฉนดที่ดินของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าจำเลยได้ล้อมรั้วบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์จริงหรือไม่ส่วนปัญหาเรื่องออกโฉนดทับกันหรือไม่นั้น จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการออกโฉนดเป็นอีกคดีหนึ่ง และศาลชั้นต้นไม่อนุญาตตามคำร้องของโจทก์ที่ให้รอคดีนี้ไว้ฟังผลคดีดังกล่าวดังนี้ การที่ศาลล่างกลับวินิจฉัยว่าโฉนดที่ดินทั้งแปลงของโจทก์ออกทับส่วนหนึ่งของที่ดินของจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยและพิพากษาคดีนอกเหนือประเด็นพิพาท ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีชอบที่ศาลฎีกาจะยกเสีย แต่เมื่อคู่ความได้นำสืบตามประเด็นแห่งคดีไว้แล้วศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยพิพากษาคดีไปได้ ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทตลอดมา จำเลยบุกรุกเข้าไปล้อมรั้วในที่พิพาท ศาลฎีกาก็ย่อมพิพาทให้จำเลยรื้อรั้วออกจากที่ดินพิพาทและห้ามเกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การครอบครองทรัพย์สิน, การนำสืบพยาน, และผลของพินัยกรรม
เมื่อที่ดินเป็นสินสมรส ตึกแถวซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นสินสมรสด้วย
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466วรรคท้ายใช้เฉพาะกรณีที่โต้เถียงกันว่าทรัพย์นั้นเป็นสินเดิม สินส่วนตัว หรือสินสมรสเท่านั้น จะนำมาใช้ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่นไม่ได้
โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดเมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นจึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อน
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466วรรคท้ายใช้เฉพาะกรณีที่โต้เถียงกันว่าทรัพย์นั้นเป็นสินเดิม สินส่วนตัว หรือสินสมรสเท่านั้น จะนำมาใช้ในกรณีที่มีข้อโต้เถียงว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่นไม่ได้
โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดเมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นจึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดหนี้สินล้นพ้นตัวในคำฟ้อง เพียงแต่ระบุตามกฎหมาย
ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายนั้น เจ้าหนี้เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(1) และระบุข้อความอื่นตามมาตรา 9(2) และ 9(3) ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว เจ้าหนี้ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างไร ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพันตัว