พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามสัญญายอมความต้องเป็นไปโดยความยินยอมของผู้เช่า หากไม่ยินยอม สัญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพัน
การที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าเคหะทำยอมกันว่า ผู้เช่ายอมออกไปภายในกำหนดวันแน่นอน ฝ่ายผู้ให้เช่ายอมจะชำระเงินให้หนึ่งหมื่นบาทและยอมให้ผู้เช่ารื้อสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าทำไว้ไป แต่แล้วผู้เช่ากลับไม่ยอมออกไป จนต้องศาลมีหมายจับมาขัง จึงยอมออกไปและเป็นเวลาล่วงเลยมา ถึง 1 ปี 4 เดือน นับจากวันยอม ดังนี้ ถือว่าผู้เช่าและบริวารมิได้ออกจากที่เช่าไปโดยความยินยอม หรือสมัครใจ ผู้เช่าจะมาขอให้ศาลบังคับผู้ให้เช่าให้ปฏิบัติศาลยอมมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457-458/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อมีคดีอื่นเกี่ยวข้อง
มาตรา 293 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติไว้สำหรับงดการบังคับคดีในเรื่องขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในเมื่อลูกหนี้นั้นอาจกลับชนะคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเรื่องอื่น อันจะก่อให้เกิดหนี้มาหักกลบลบกับหนี้ตามคำพิพากษาที่กำลังมีการบังคับคดีนั้นเท่านั้น
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าคดีถึงที่สุดแล้วจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าจำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งขอให้เพิกถอนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณานั้น ศาลชั้นต้นหาอาจเอามาตรา 293 อนุโลมมาใช้ในกรณีเช่นคดีนี้ไม่ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีในคดีนี้นั้น จึงต้องถือว่าเป็นคำสั่งตามดุลพินิจดังบัญญัติไว้ในมาตรา 292(2) ซึ่งคำสั่งโดยทั่วไปเช่นนี้คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ และในกรณีดังกล่าวข้างต้นยังไม่เป็นเหตุเพียงพอให้ศาลงดการบังคับคดี
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าคดีถึงที่สุดแล้วจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าจำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งขอให้เพิกถอนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณานั้น ศาลชั้นต้นหาอาจเอามาตรา 293 อนุโลมมาใช้ในกรณีเช่นคดีนี้ไม่ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีในคดีนี้นั้น จึงต้องถือว่าเป็นคำสั่งตามดุลพินิจดังบัญญัติไว้ในมาตรา 292(2) ซึ่งคำสั่งโดยทั่วไปเช่นนี้คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ และในกรณีดังกล่าวข้างต้นยังไม่เป็นเหตุเพียงพอให้ศาลงดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ดีความได้
คำสั่งไห้ทุเลาการบังคับของสาลอุธรน์นั้น คู่ความดีกาไม่ได้เพราะเปนคำสั่งระหว่างพิจารนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทุเลาการบังคับคดี: ใช้ได้ทั้งก่อนและหลังบังคับคดี ไม่ขัดแย้งอำนาจอธิบดีราชทัณฑ์
อำนาจการให้ทุเลาบังคับคดีตามประมวลวิธีพิจารณาอาญามาตรา 246 นั้น ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับได้ไม่ว่าก่อนหรือหลังจากที่ได้สั่งให้บังคับคดีไปแล้ว อำนาจศาลสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีได้ตามประมาวลวิธีพิจารณาอาญา ม.246 หาได้ก้าวก่ายลบล้างกันกับอำนาจของอธิบดีราชทัณฑ์ 2479 นั้นไม่ โดยเป็นคนละส่วนต่างหากจากกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถูกยึดทรัพย์และการร้องคัดค้านการยึดทรัพย์
ยึดทรัพย์ ร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่มีค่าตอบแทนในคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินนอกเหนือการบังคับคดี
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนจำนวน 400,000 บาท กันแต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่กองทรัพย์สินของจำเลย และการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ดังกล่าวเป็นนิติกรรมการจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยมิได้มีการกระทำของจำเลยเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (2) และมาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสร้างบ้าน ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินจากการบังคับคดีได้
ผู้ร้องประกอบธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ปี 2546 เมื่อผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 แล้วได้สร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวซึ่งมีรูปแบบเดียวกันกับบ้านหลังอื่นที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านจัดสรรของผู้ร้อง และประกาศขายแก่บุคคลทั่วไป หากผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็คงไม่สร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวเพราะต้องใช้เงินลงทุนมาก และที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นของตนเนื่องจากต้องการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อผู้ซื้อเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียมในการโอนนั้น ก็เป็นเหตุผลทางด้านการประกอบธุรกิจที่รับฟังได้ไม่ถึงกับเป็นข้อพิรุธแต่อย่างใด
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 และชำระราคาครบถ้วนแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของตน ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินที่ยึดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยึดไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง ขอให้ถอนการยึดจึงเป็นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ศาลชั้นต้นชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องได้ ส่วนค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้น ก็เป็นจำนวนที่อยู่ระหว่างอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อคำนึงถึงเหตุสมควรและการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแล้ว ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 และชำระราคาครบถ้วนแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของตน ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินที่ยึดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยึดไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง ขอให้ถอนการยึดจึงเป็นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ศาลชั้นต้นชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องได้ ส่วนค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้น ก็เป็นจำนวนที่อยู่ระหว่างอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อคำนึงถึงเหตุสมควรและการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแล้ว ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งอายัดเงินและการใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการทำละเมิด
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัท พ. และโจทก์บังคับคดีโดยขออายัดเงินฝากที่บริษัท พ. ฝากไว้กับจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าบริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลยและจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย แต่การที่จำเลยปฏิเสธไม่ส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดโดยให้เหตุผลว่า บริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลย ทั้งยังจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย เป็นการใช้สิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง การปฏิเสธของจำเลยจะฟังได้หรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นในคดีที่ได้มีคำสั่งอายัดเป็นผู้ไต่สวนและวินิจฉัย หากการปฏิเสธของจำเลยฟังไม่ได้ ศาลในคดีดังกล่าวก็ต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลย และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง แต่มิได้หมายความว่าหากศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยเป็นประการใดแล้วให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในคดีที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงิน จำเลยวางหลักประกันจนเป็นที่พอใจแก่ศาลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่า การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเป็นการอุทธรณ์เพื่อประวิงคดีไม่ให้โจทก์ได้รับเงินตามคำพิพากษา การที่จำเลยใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งอายัดของศาลโดยการปฏิเสธไม่ยอมส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดีทำไม่ได้หลังการขายทอดตลาดเสร็จสิ้น แม้มีคดีพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทให้แก่ ช. ผู้ซื้อทรัพย์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2553 ก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีที่ดินพิพาท เมื่อการงดการบังคับคดีจะดำเนินการได้เฉพาะกรณีที่การบังคับคดียังไม่ได้กระทำหรือที่จะกระทำต่อไปเท่านั้น จะงดการบังคับคดีที่ปฏิบัติมาแล้วหาได้ไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยขายทอดตลาดทรัพย์สินเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอยู่ระหว่างดำเนินคดีเพื่อขออนุญาต
คดีนี้โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุด ต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา จะมาโต้เถียงในชั้นบังคับคดีว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดและศาลชั้นต้นลงโทษปรับหนักเกินไปหาได้ไม่ หากศาลฟังข้ออ้างของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190
ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับอีกวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น หมายความว่า จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 21 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ" มาตรา 65 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และในวรรคสองบัญญัติว่า "นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง" ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 21 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือใบรับแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้การชำระค่าปรับรายวันสะดุดหยุดอยู่หรือให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจมีคำสั่งทุเลาหรืองดการบังคับชำระค่าปรับไว้ชั่วคราวในระหว่างที่จำเลยทั้งสองกำลังดำเนินคดีเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารอันเป็นหลักฐานในการยื่นขอใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงมีแต่เพียงบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับโทษจำคุกไว้ก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 246 เท่านั้น
ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับอีกวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น หมายความว่า จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 21 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ" มาตรา 65 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และในวรรคสองบัญญัติว่า "นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21... ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง" ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 21 กล่าวคือ จนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือใบรับแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ แล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้การชำระค่าปรับรายวันสะดุดหยุดอยู่หรือให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจมีคำสั่งทุเลาหรืองดการบังคับชำระค่าปรับไว้ชั่วคราวในระหว่างที่จำเลยทั้งสองกำลังดำเนินคดีเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารอันเป็นหลักฐานในการยื่นขอใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงมีแต่เพียงบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับโทษจำคุกไว้ก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 246 เท่านั้น