คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรง หากไม่ได้ต่อสู้ว่าการโอนเช็คเป็นการฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แต่มิได้ต่อสู้ว่าผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย ฉะนั้น จำเลยจะอ้างเรื่องการเล่นแชร์ระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนและโจทก์มาใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้โดยยังมิได้จดทะเบียน: สิทธิในมรดก
การที่เจ้าของที่ดินได้มายื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อทางอำเภอยกที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดินประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบครองไม่ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 4ทวิ เมื่อการให้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เนื่องจากเจ้าของที่ดินถึงแก่กรรมเสียก่อนนิติกรรมการให้ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินดังกล่าวจึงยังเป็นมรดกของเจ้าของที่ดินอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และการซื้อโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาเป็นบันทึกข้อตกลงในเรื่องบุตรและทรัพย์สินมีใจความว่า บุตรอยู่ในความอุปการะทั้งสองฝ่าย โจทก์ที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ 3 แปลงยอมยกให้แก่บุตรทั้ง 7 คน จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ 2 แปลง ที่ดินแปลงที่ 1 เป็นสวนยกให้แก่บุตรที่ชื่อ ร. ที่ดินที่เป็นที่นาพร้อมบ้าน 1 หลัง ยกให้แก่บุตรทั้ง 7 คน ห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอน ทั้งสองฝ่ายจะไปโอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรในวันที่ 22มกราคม 2517 ดังนี้ เห็นได้ว่าบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 นั้น ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะเกิดมีขึ้นภายหน้าให้เสร็จสิ้นไป ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา และได้โอนขายที่ดิน (ที่นา) ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ทราบข้อตกลง ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ในการแบ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการยกที่พิพาทให้บุตรตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังรับซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบและเป็นการรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์หลังการซื้อที่จากการบังคับคดี: การครอบครองเดิมต่อเนื่องและการไม่โต้แย้งสิทธิ
โจทก์แพ้คดีถูกยึดที่พิพาทขายทอดตลาด จำเลยเป็นผู้ซื้อได้แล้วมิได้ปล่อยปละละเลยที่พิพาทแต่อย่างใด ได้จัดการให้มีการออก น.ส.3 และจดทะเบียนรับโอนมาจากโจทก์ แม้โจทก์จะยึดถือที่พิพาทตลอดมาเกินกว่า 1 ปี แต่เป็นการยึดถือเพราะเป็นเจ้าของเดิมทำกินในที่พิพาทต่อเนื่องกันมา โดยจำเลยยังไม่ประสงค์จะขับไล่ให้ออกไปในระหว่างที่ยังดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียน ดังนี้เมื่อไม่มีพฤติการณ์ใดๆ ขึ้นใหม่อันแสดงให้เห็นว่าเป็นการแย่งการครอบครองแล้ว ย่อมจะนำกำหนดเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ทายาทผู้ให้ยินยอมยังไม่เป็นเจ้าของ
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยครอบครองมา 40 ปี ตามที่ทายาทของเจ้ามรดกยินยอมยกให้ แต่จำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดกยังไม่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด จึงบังคับให้จำเลยจัดการโอนที่พิพาทแก่โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมที่ดิน: สิทธิครอบครองร่วมกันและผลกระทบต่อการโอน
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และน.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อน.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไปๆ มาๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดิน ถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่นๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่ได้รับการรับรองการทำประโยชน์ตามกฎหมายที่ดิน สิทธิที่โอนได้คือสิทธิครอบครองเท่านั้น
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้จะได้แจ้งการครอบครองแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ย่อมไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายอสังหาริมทรัพย์ไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียน ทำให้การโอนเป็นโมฆะ แม้ผู้ซื้อจะสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การโอนขายห้องพิพาทโดยผู้รับโอนจะใช้เป็นที่ค้าขาย มิใช่เพื่อรื้อเอาไป ห้องพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อการโอนขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ แม้การโอนไม่จดทะเบียน หากเข้าเงื่อนไขมาตรา 1382
การยกกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดให้แก่กัน แม้จะไม่ได้จดทะเบียนการโอนก็ตาม. แต่ถ้าผู้รับให้ได้เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของโดยความสงบและเปิดเผยตลอดมาเมื่อผู้รับให้ถึงแก่กรรม บุตรของผู้รับให้ได้สืบสิทธิครอบครองต่อมาติดต่อรวมกันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว บุตรของผู้รับให้ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงตรวจสอบที่ดินมรดกก่อนโอน การปฏิบัติตามข้อตกลงและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คู่ความตกลงกันว่า จำเลยยินดีโอนห้องแถวพร้อมกับที่ดิน 2 ห้องที่เหลือตามพินัยกรรมดังโจทก์ฟ้องให้โจทก์ ในเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปสำรวจแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินแยกออกมาว่าห้องทั้งสองอยู่ที่ใด ถ้าหากเจ้าพนักงานที่ดินตรวจแล้วว่าที่ดินและห้องแถวตามพินัยกรรมไม่มีอยู่เลย โจทก์ก็ยินดีถอนฟ้องแต่ถ้าปรากฏว่ามีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากกว่า 2 ห้อง โจทก์ยอมรับเพียง 2 ห้อง จำเลยยินดีโอนให้โจทก์ การตรวจสอบนี้ให้ถือเอาพินัยกรรมตามฟ้องและตราจองเลขที่ 5 เป็นหลัก ดังนี้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วได้ความว่าห้องแถวดังกล่าวอยู่ในตราจองเลขที่ 2172 โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบรูปแผนที่ในพินัยกรรมแล้ว แสดงว่าที่ดินพร้อมด้วยห้องแถวที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม คือ ที่ดินตราจองเลขที่ดังกล่าว จำเลยต้องโอนให้โจทก์ตามข้อตกลง และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินตรวจพบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบที่ดินมรดกรายนี้ทั้งหมดต่อไปอีก
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นว่านี้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 และไม่เป็นการที่ศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
ปัญหาเรื่องข้อตกลงขัดต่อ มาตรา 138 หรือไม่ และศาลพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ จำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 มิได้ไปศาลตามนัด แต่ศาลได้สืบพยานไปโดยมิได้มี การสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 จะฎีกาแทนไม่ได้
of 15