คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้ยืม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการชำระหนี้: การใช้เงินตามสัญญากู้ยืมแยกการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้
การนำสืบการใช้เงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงหรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมหรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองหมายถึงการนำสืบถึงการชำระเงินต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อในเอกกู้ยืม: ชื่อเล่นใช้ได้ตามกฎหมาย หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการกู้ยืมเงินและสละการครอบครองโดยผู้กู้
สัญญากู้ระบุว่าเมื่อครบ 6 เดือนนับแต่วันกู้เงิน หากผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระ ผู้กู้ยอมให้ที่นา ส.ค. 1 ตกเป็นของผู้ให้กู้ โดยเหตุนี้เมื่อสัญญากู้ครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยเหตุนี้เมื่อสัญญากู้ครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้กู้ไม่นำเงินกู้มาชำระ การครอบครองที่นาของผู้ให้กู้จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ โดยถือว่าผู้กู้เจ้าของเดิมสละการครอบครองแล้ว ผู้ให้กู้ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่นาดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสองครอบครองที่นานั้นต่อมาจากผู้ให้กู้ซึ่งถึงแก่กรรม โจทก์ทั้งสองย่อมได้สิทธิครอบครองในที่นาด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์บัญชีเดินสะพัด แม้ฟ้องเป็นการกู้ยืม ศาลปรับบทกฎหมายได้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรื่องกู้ยืมเงิน แต่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับโควต้าเป็นผู้ส่งอ้อยให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นลูกไร่ส่งอ้อยให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกทุนให้จำเลยทั้งสองก่อนโดยจ่ายเป็นเงินสดบ้างเป็นเช็คบ้าง ทั้งได้จ่ายค่าไถ่ที่ดินค่าปุ๋ย และของอื่น ๆ เพื่อให้จำเลย ใช้ในการทำไร่อ้อย โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับหนี้ทุกรายการเมื่อตัดอ้อยแล้วจำเลยทั้งสองส่งให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จะนำอ้อยดังกล่าวไปขายให้โรงงานน้ำตาล ครั้นโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าขายอ้อย จากโรงงานจึงมาคิดหักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองหากค่าอ้อยที่ จำเลยทั้งสองได้รับไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเบิกไปก็ยกยอดไป ในปีต่อไปและโจทก์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งจำเลยทั้งสองรับว่า เป็นผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในโควต้าของโจทก์ โจทก์จ่ายค่าปุ๋ย ให้จำเลยเมื่อโจทก์นำอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลและได้รับเงินมาแล้วก็มาคิดบัญชีกันเป็นรายปี แต่หลังจากจำเลยเลิกเป็นลูกไร่ของโจทก์แล้ว ไม่ได้คิดเงินกัน โจทก์จำเลยจะเป็นหนี้ลูกหนี้กันเท่าใดจึงไม่ทราบ กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยจึงเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืม แต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะ บัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่จำเลยลงลายมือชื่อและจำนวนเงินกู้ ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้โจทก์แก้ไขภายหลัง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 16,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงกู้เพียง 6,000 บาท ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้เดิมเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยเขียนเลข '6,000' ในช่องจำนวนเงินที่กู้ยืมและเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ยืม และได้ความว่าจำเลยยืมเงินของผู้อื่นไป 6,000 บาท ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะลงวันที่กู้ยืมผิดไปจากวันกู้ที่แท้จริงและเพิ่มเติมจำนวนเงินกู้ให้สูงขึ้น โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมซึ่งทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่จำเลยลงลายมือชื่อ แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยโจทก์ ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 16,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงกู้เพียง 6,000 บาท ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้เดิมเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยเขียนเลข '6,000' ในช่องจำนวนเงินที่กู้ยืมและเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ยืม และได้ความว่าจำเลยยืมเงินของผู้อื่นไป6,000 บาท ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะลงวันที่กู้ยืมผิดไปจากวันกู้ที่แท้จริงและเพิ่มเติมจำนวนเงินกู้ให้สูงขึ้น โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมซึ่งทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร 'เอาเงิน' ไม่เป็นหลักฐานการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ตอนบนของเอกสารมีชื่อและนามสกุลของจำเลย ถัดไปเป็นรายการลงวันเดือนปีและข้อความว่า "เอาเงิน" กับจำนวนเงินต่างๆ กัน รวม 12 รายการ อีก 5 รายการ มีข้อความว่า "ข้าวสาร" และลงจำนวนไว้ว่า 1 กส.บ้าง 1 ถังบ้าง 3 ถังบ้าง และทุกรายการมีชื่อจำเลยลงกำกับไว้ เอกสารดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร 'เอาเงิน' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามกฎหมาย
ตอนบนของเอกสารมีชื่อและนามสกุลของจำเลย ถัดไปเป็นรายการลงวันเดือนปีและข้อความว่า 'เอาเงิน'กับจำนวนเงินต่างๆ กัน รวม 12 รายการ อีก 5 รายการ มีข้อความว่า 'ข้าวสาร' และลงจำนวนไว้ว่า 1 กส.บ้าง 1 ถังบ้าง 3 ถังบ้าง และทุกรายการมีชื่อจำเลยลงกำกับไว้เอกสารดังกล่าวไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และข้อตกลงที่แตกต่างกัน: สิทธิเรียกร้องจากการกู้ยืมและค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป 70,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แต่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันโดยไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ไว้ ต่อมาฝ่ายโจทก์ได้เขียนกรอกข้อความในสัญญาและเขียนจำนวนเงินกู้เป็น 136,770 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้กู้ยืมเงินหรือค้ำประกันตามจำนวนเงินที่ปรากฏในสัญญานั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีโดยอาศัยหลักฐานสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอาศัยสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันฉบับระบุจำนวนเงินกู้ 136,770 บาท ไม่ได้ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจำนวน 70,000 บาท ตามที่จำเลยยอมรับ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 70,000 บาทตามที่จำเลยยอมรับไม่ได้ เพราะสัญญาฉบับที่โจทก์ฟ้องกับสัญญาที่จำเลยยอมรับเป็นคนละฉบับกัน และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินให้ตามสัญญาที่จำเลยยอมรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืม - สัญญาขายฝากไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม แม้จะอ้างเป็นเจตนาเดิม ศาลไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกประเด็นในชั้นต้น
ฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญาขายฝากตามฟ้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นอำพรางสัญญากู้เงินจึงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามเจตนาเดิมได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นบรรยายเป็นประเด็นไว้ในฟ้อง และศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นวินิจฉัยมา จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดิน หาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่ โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาม 653 ไม่ได้
of 19