คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและเจตนาหลีกเลี่ยงข้อบังคับ ศาลยกฟ้องละเมิด
การขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา26วรรคหนึ่งซึ่งตามมาตรา52บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยให้เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทันทีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้างถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดและต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่17851ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องกำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้(ฉบับที่2)พ.ศ.2502และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารฉบับลงวันที่5ตุลาคม2528ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479ตามประกาศดังกล่าวในข้อ2(2)กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน12เมตรให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดินทุกด้านตามสูตรร=2+เศษส่วนห้าและในเรื่องแนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479ข้อ8กำหนดว่าต้องไม่อยู่ในที่ที่เป็นทางร่วมหรือทางแยกและต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือชอบทางแยกสาธารณะมีระยะไม่น้อยกว่า20เมตรซึ่งอาคารที่โจทก์ขออนุญาตมีระยะร่นและแนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวการที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินที่จะปลูกสร้างออกเป็น2โฉนดโดยโฉนดเลขที่154651โจทก์ใช้เป็นโฉนดที่ดินที่ขออนุญาตปลูกสร้างส่วนโฉนดที่ดินเดิมซึ่งเหลือเนื้อที่7ตารางวาโจทก์โอนให้บุคคลอื่นเพื่อให้มีรอยตะเข็บกั้นมิให้ที่ดินตามโฉนดเลขที่154651มีอาณาเขตติดซอยวิทยุ1เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพประกาศกรุงเทพมหานครและกฎกระทรวงดังกล่าวการยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนที่จงใจขัดขวางการก่อสร้างและละเมิดสิทธิของผู้อื่น ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด โดยบรรยายมาในคำฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า การร้องเรียนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการจงใจทำละเมิดและกลั่นแกล้งโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีเจตนาไม่ให้โจทก์ทำการก่อสร้างอาคารได้ตามปกติทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด อีกทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และบริวารได้พูดจาข่มขู่บุคคลภายนอกที่มาติดต่อขอรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ว่า หากรับโอนสิทธิการเช่าไปก็จะมีความเดือดร้อนเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังมีข้อพิพาทกับโจทก์อยู่ ทำให้อาคารที่โจทก์สร้างขึ้น 4 หลัง มีผู้รับโอนสิทธิการเช่าเพียงหลังเดียว ส่วนอีก 3 หลัง ไม่มีผู้ใดกล้าเช่าช่วงหรือรับโอนสิทธิการเช่า ดังนี้ การกระทำตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการก่อสร้างประมาทเลินเล่อ:สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจและทางร่างกาย
จำเลยก่อสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์แล้วยังทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ต้องทุกข์ทรมานจิตใจอันเนื่องมาจากการตอกเสาเข็ม วัสดุก่อสร้างและฝุ่นละอองร่วงหล่นเข้ามาในบริเวณที่ดินและบ้านโจทก์ได้และไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ไกลเกินเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,446

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ข้อจำกัดในการฟ้องร้อง
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ มิได้อ้างเหตุว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาต จึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้ออาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้มิได้อ้างเหตุว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาตจึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนก่อสร้าง: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยและไม่ได้ผูกพันตามเงื่อนไขเดิม
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ดังนั้นฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827 เมื่อปรากฎว่าหลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จากก.แต่ก.ได้กำหนดให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขหลายประการและก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตและผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูลต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ดังนี้ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดๆได้ก็ตามและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาดแต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลยเช่นนี้สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้นเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลยและเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของก.ได้และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อยฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด, ยอมรับชำระช้า, และเจตนาเลิกสัญญาโดยความตกลง
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนดจำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมาไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใดแสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญดังนั้นแม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อนการที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน10วันจะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาและจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยวาเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหายคืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมายจ.9นั้นถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วสัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงานและสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญาผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาแต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญาและคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใดเงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่เวลาที่ได้รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับรายวันจากการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีควบคุมการก่อสร้างผิดเงื่อนไข
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 31 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2536ดังนั้น นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว วรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา 31 คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร จึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีฝ่าฝืนวิธีการก่อสร้างตามใบอนุญาต
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ที่แก้ไขแล้วมาตรา31นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแล้วยังต้องปรับรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามมาตรา65วรรคสองอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การผิดสัญญา, การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยสุจริต, และสิทธิในการปรับตามสัญญา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ข้อ 49 ได้กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้ว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา โดยจะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาการให้งดทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการละเอียดที่ผิดไปจากข้อกำหนดในสัญญาจ้าง นอกจากนี้ตามสัญญาจ้าง ข้อ 17 ก็ไม่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 กระทำเช่นนี้ได้เช่นกันเพราะกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนกิจการจ้าง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา แต่เป็นการกระทำที่มิให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าทำสัญญาจ้างกับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้าง จึงไม่มีอำนาจที่จะตกลงให้โจทก์งดเว้นทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องได้ แต่การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้รายงานจำเลยที่ 2ขออนุญาตตามลำดับชั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการก็ได้รายงานกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 1 เพื่อขออนุญาตจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่โจทก์ติดเหล็กดัดช่องแสงไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะอนุญาต จึงเป็นการกระทำที่เสี่ยงภัยของโจทก์เอง นับเป็นความผิดของโจทก์ เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้าง กำหนดให้ทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคา แต่โจทก์ยังไม่ได้ทา โจทก์จึงปฏิบัติผิดสัญญาในข้อนี้
ส่วนการใช้เหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร ซึ่งไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่116 - 2517 นั้น แม้โจทก์รับว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 เพราะขณะทำการก่อสร้าง เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวขาดตลาด แต่เหล็กที่โจทก์นำมาใช้ก็มีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะให้ฟังว่าโจทก์ไม่ผิดสัญญาจ้างในข้อนี้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เคยมีหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองว่า โครงเหล็กหลังคาถูกต้องตามแบบและเรียบร้อย และไม่ได้ทักท้วงตั้งแต่ตอนแรกว่าเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)เลขที่ 116 - 2517 เพราะตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างเหล็กโครงสร้างหลังคามีเหล็กหลายขนาด และโจทก์ได้นำหลักฐานสำเนาใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเลขที่ 116 - 2517 ตามเอกสารหมาย ปจ.9 มาแสดงต่อจำเลยที่ 3 แล้วจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อาจสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่ารวมทั้งเหล็กค้ำยันโครงหลังคาด้วยจึงได้ทำหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองให้โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบโดยละเอียดแล้วพบว่าเอกสารหมาย ปจ.9 ที่โจทก์นำมาแสดงนั้นไม่มีรายการของเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร รวมอยู่ด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงได้โต้แย้งข้อนี้ภายหลัง กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างหมาย จ.4 กำหนดให้เหล็กที่ค้ำยันโครงหลังคาต้องเป็นเหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 แต่โจทก์ใช้เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวทำเหล็กค้ำยันโครงหลังคา แม้เหล็กดังกล่าวจะมีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกัน โจทก์ก็ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างข้อนี้
โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
สัญญาจ้างข้อ 19 ระบุว่า "ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ
(1) ปรับผู้รับจ้างเป็นรายวัน วันละ 765 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์
2. ...
3. ...
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย" เห็นว่าตามข้อสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันเฉพาะกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้บอกเลิกสัญญา จนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ แต่ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อนวันบอกเลิกสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาต่อมาจึงไม่อาจใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันตามสัญญาจ้างข้อ 19 (1) ได้ คงได้แต่ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจ้างเท่านั้น
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ไม่รับมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 และจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา เช่นนี้ โจทก์ก็ไม่อาจคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันส่งมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้าง
of 31