พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน - การยินยอมให้มีการกันส่วนของสินสมรสไม่ปลดเปลื้องความรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เงิน ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ภายในวงเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ ซึ่งตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า "...นอกจากนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่พ้นจากความรับผิดเพราะเหตุธนาคารอาจกระทำการใด ๆ ไปเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนในสิทธิใด ๆ ก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธิซึ่งลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ตามได้ให้ไว้แก่ธนาคารแต่ก่อน หรือในขณะหรือหลังจากวันทำสัญญาค้ำประกันนี้" และข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญา ดังนี้ แม้โจทก์ผู้รับจำนองเพิกเฉยไม่คัดค้านการร้องขอกันส่วนของจำเลยที่ 4 สามีจำเลยที่ 1 ในฐานะสินสมรส ทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับเงินส่วนที่ขอกันไว้ 750,000 บาท จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องเสียหายก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและขอบเขตการจับกุม
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้
ตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าเสียหายในคดีละเมิด: ศาลแก้ไขค่าเสียหายให้ตรงตามที่ฟ้องได้ แม้ไม่มีการฎีกา
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง 30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535 เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง 30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535 เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลอื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องคดีอาญา: โจทก์ต้องขอลงโทษจำเลยในความผิดที่ฟ้องเท่านั้น
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประเด็นข้อพิพาทและค่าฤชาธรรมเนียม: การคำนวณทุนทรัพย์ที่ใช้บังคับกับค่าขึ้นศาลเฉพาะดอกเบี้ย
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์แถลงรับว่าได้รับเงินตามเช็คจำนวน 4 ฉบับ ที่พิพาทกันแล้วปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉะนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยจึงมีเพียงว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์เพียงใดหรือไม่เท่านั้นส่วนหนี้ตามเช็คพิพาท 4 ฉบับ ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทต่อไป
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ และกำหนดในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงหมายถึงเฉพาะจำนวนดอกเบี้ยที่เป็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยเท่านั้น เพราะหากศาลชั้นต้นต้องการให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ทั้งหมด ก็ไม่จำต้องระบุว่าเฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลในส่วนที่เป็นทุนทรัพย์ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ที่ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ และกำหนดในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงหมายถึงเฉพาะจำนวนดอกเบี้ยที่เป็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยเท่านั้น เพราะหากศาลชั้นต้นต้องการให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ทั้งหมด ก็ไม่จำต้องระบุว่าเฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลในส่วนที่เป็นทุนทรัพย์ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ที่ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าขึ้นศาลในคดีเช็ค: ศาลจำกัดเฉพาะดอกเบี้ยที่เป็นประเด็นพิพาท ไม่รวมทุนทรัพย์เช็ค
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์แถลงรับว่าได้รับเงินตามเช็คจำนวน4 ฉบับ ที่พิพาทกันแล้วปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉะนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยจึงมีเพียงว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์เพียงใดหรือไม่เท่านั้น ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาท 4 ฉบับ ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทต่อไป
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ และกำหนดในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงหมายถึงเฉพาะจำนวนดอกเบี้ยที่เป็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยเท่านั้น เพราะหากศาลชั้นต้นต้องการให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ทั้งหมด ก็ไม่จำต้องระบุว่าเฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลในส่วนที่เป็นทุนทรัพย์ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ที่ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ และกำหนดในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงหมายถึงเฉพาะจำนวนดอกเบี้ยที่เป็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยเท่านั้น เพราะหากศาลชั้นต้นต้องการให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ทั้งหมด ก็ไม่จำต้องระบุว่าเฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลในส่วนที่เป็นทุนทรัพย์ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ที่ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าขึ้นศาลในคดีเช็ค: คำพิพากษาจำกัดเฉพาะดอกเบี้ยที่พิพาท ไม่รวมทุนทรัพย์เช็ค
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์แถลงรับว่าได้รับเงินตามเช็คจำนวน4 ฉบับ ที่พิพาทกันแล้วปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉะนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยจึงมีเพียงว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์เพียงใดหรือไม่เท่านั้น ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาท 4 ฉบับ ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทต่อไป
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ และกำหนดในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงหมายถึงเฉพาะจำนวนดอกเบี้ยที่เป็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยเท่านั้น เพราะหากศาลชั้นต้นต้องการให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ทั้งหมด ก็ไม่จำต้องระบุว่าเฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลในส่วนที่เป็นทุนทรัพย์ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ที่ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ และกำหนดในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงหมายถึงเฉพาะจำนวนดอกเบี้ยที่เป็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยเท่านั้น เพราะหากศาลชั้นต้นต้องการให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขึ้นศาลแทนโจทก์ทั้งหมด ก็ไม่จำต้องระบุว่าเฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลในส่วนที่เป็นทุนทรัพย์ตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ที่ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีทางสาธารณะถูกปิดกั้น: ความเสียหายพิเศษและขอบเขตของทางพิพาท
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดีแต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดีแต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความยินยอมปักเสาพาดสายไฟฟ้า: การเปลี่ยนแปลงต่อเติมและการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ความยินยอมของโจทก์ตามคำขอปักเสาพาดสายในที่ดินจัดสรรข้อ 9 วรรคแรก มีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อบังคับการใช้ไฟฟ้าและบริการของการไฟฟ้านครหลวง (จำเลยที่ 1) รวมทั้งที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไปทุกประการและข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้วว่า เสาสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายนอกเครื่องวัดฯ เป็นสมบัติของการไฟฟ้านครหลวง และยินยอมให้การไฟฟ้านครหลวงเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้เพียงพอกับผู้ใช้ภายในและภายนอกที่ดินจัดสรรด้วย คำว่า "เปลี่ยนแปลงต่อเติม" ในข้อความดังกล่าวหมายความว่า เปลี่ยนหรือเพิ่มเติมใหม่ หรือแปลงหรือต่อเติมจากของเดิมเพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไม่ว่าในหรือนอกที่ดินจัดสรรของโจทก์ให้ได้เพียงพอตามที่จำเลยที่ 1 จะเห็นสมควรตามความจำเป็น หาได้หมายความว่าจะทำได้เฉพาะเสาและสายไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายนอกเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้มีขนาดที่จะจ่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ให้เพียงพอเท่านั้นไม่ ส่วนข้อความในวรรคสองว่า นอกจากนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงแบบหรือแผนผังการปักเสาพาดสายไปจากแบบแผนผังที่ข้าพเจ้ายื่นไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง ไม่ว่าจะเป็นด้วยกรณีใดก็ตามทำให้การไฟฟ้านครหลวงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ข้าพเจ้า (โจทก์) ขอให้สัญญาว่าจะรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนค่าเสียหายให้แก่การไฟฟ้านครหลวงโดยไม่มีข้อโต้แย้งแต่ประการใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงยอมรับผิดที่จะชำระค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 1 หากแบบหรือแผนผังที่โจทก์ยื่นขอไว้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่อเติมเพื่อจ่ายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ให้เพียงพอตามวรรคหนึ่งแต่อย่างใด ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะปักเสาพาดสายไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าผ่านที่ดินของโจทก์ก็ถือว่าได้รับความยินยอมจากโจทก์แล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ขอให้จำเลยที่ 1 กระทำให้ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ย่อมไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ด้วย