คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดแย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การต่อสู้คดีที่ขัดแย้งกันเองทำให้สิทธิการอ้างความคุ้มครองตามกฎหมายสูญเสีย
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่โจทก์ขอให้ขับไล่ ครั้งแรกจำเลยให้การว่าซื้อไม่ได้เช่า แม้ต่อมาจะร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าที่ที่โจทก์ขับไล่นั้นจำเลยได้อาศัยอยู่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่ในคำร้องนั้นจำเลยก็ไม่ได้ถือว่าได้เช่าที่ดินมาเพื่อใช้เป็นเคหะ จำเลยอ้างแต่เพียงว่าได้ปลูกห้องแถวอยู่อาศัยการซื้อที่ดินปลูกห้องแถวอยู่อาศัยมิได้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯแต่อย่างใด ประเด็นมีแต่เพียงว่าจำเลยซื้อหรือเช่าการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่มีใครอ้าง ที่จำเลยว่าปลูกห้องแถวอยู่อาศัยก็มิได้ว่าปลูกโดยอาศัยสัญญาเช่า จึงไม่มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารประกอบฟ้องขัดแย้งกับข้อกล่าวหา ศาลยกฟ้อง แม้จำเลยรับสารภาพ
เอกสารที่โจทก์ส่งติดมาพร้อมกับฟ้องนั้น เป็นส่วนหนึ่งของฟ้องหมดทั้งฉะนั้น
ฟ้องหาว่า
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเมื่อวันที่ 8 แต่ตามรายงานชัณสูตรบาดแผลทีโจทก์ส่งพร้อมกับฟ้องปรากฏว่า ผู้บาดเจ็บมีบาดแผลวันที่ 5 ดังนี้ย่อมขัดกันเอง ฟังไม่ได้ว่า จำเลยทำผิดตามวันที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะรับสารภาพตามฟ้อง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาขัดแย้ง: จำเลยไม่เข้าใจข้อหาฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.158(5)
ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์โดยบรรยายฟ้องในตอนต้นกล่าวหาว่า จำเลยรับมอบทรัพย์แล้ยักยอกทรัพย์ แต่ตอนหลังกลับกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์แล้วอ้างบทมาตราขอให้ลงโทษทั้งความผิดฐานลักทรัพย์แลยักยอก ดังนี้ เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องเป็นอย่างไรแน่ และจำเลยต้องหาว่าได้กระทำการอย่างใดแน่ อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ คำฟ้องเช่นนี้จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158( 5 ) วรรคแรก ศาลจะรับไว้พิจารณาเอาโทษจำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องคดีอาญาขัดแย้งในตัว ระบุความผิดยักยอกและลักทรัพย์ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา
ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์โดยบรรยายฟ้องในตอนต้นกล่าวหาว่า จำเลยรับมอบหมายทรัพย์แล้วยักยอกทรัพย์ แต่ตอนหลังกลับกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์แล้วอ้างบทมาตราขอให้ลงโทษทั้งความผิดฐานลักทรัพย์และยักยอกดังนี้ เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องเป็นอย่างไรแน่ และจำเลยต้องหาว่าได้กระทำการอย่างใดแน่ อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์คำฟ้องเช่นนี้จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) วรรคแรก ศาลจะรับไว้พิจารณาเอาโทษจำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องต้องไม่ขัดแย้งกับฟ้องเดิม หากขัดแย้งถือเป็นการเลิกฟ้องเดิมแล้วฟ้องใหม่ ศาลไม่ควรอนุญาต
เดิมโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทุจริตแสดงตัวเป็นโจทก์ขอรับโอนมฤดกที่ดินแล้วโอนขายให้จำเลยขอให้เพิกถอนการรับโอนมฤดกและการซื้อขาย ภายหลังขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยทำสัญญายอมความ โดยจำเลยยอมโอนคืนที่พิพาทให้โจทก์ ๆ ชำระเงินที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้ จำเลยให้จำเลย 200 บาท เมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิที่ดินรายนี้ให้โจทก์แล้ว จึงขอให้ศาลพิพากษาตามสัญญายอมความนี้ถือว่าเป็นคนละลักษณะกับฟ้องเดิมคำขอบังคับก็ขัดกันเท่ากับขอเลิก ฟ้องเดิมแล้วเอาใหม่ไม่ใช่เพิ่มเติมฟ้องกรณีต้องตาม ป.วิ.แพ่ง ม. 179 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติห้ามไว้ไม่ให้กระทำศาลชอบที่จะยกเสียตาม ม. 180 โจทก์จะได้ไปฟ้องเป็นคดีใหม่
ทำสัญญาปรานีประนอมยอมความกันไว้โดยลงชื่อรับผิดไว้แก่เขาแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเขาย่อมฟ้องให้รับผิดตามสัญญาที่ตนลงลายมือชื่อไว้ได้ โดยไม่เป็นปัญหาว่าเขาได้ตั้งตัวแทนให้ทำสัญญากับจำเลยหรือไม่ ซึ่งต่อมาเขาได้รับรองสัญญานั้นแล้วด้วย
ศาลชั้นต้นชอบที่ที่จะสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ถ้าศาลชั้นต้นไม่สั่งแต่ในชั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องขัดแย้งกับคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หรือไม่ และผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เดิมโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทุจริตแสดงตัวเป็นโจทก์ขอรับโอนมรดกที่ดินแล้วโอนขายให้จำเลย ขอให้เพิกถอนการรับโอนมรดกและการซื้อขายภายหลังขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยทำสัญญายอมความ โดยจำเลยยอมโอนคืนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้จำเลยให้จำเลย 200บาทเมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้ให้โจทก์แล้วจึงขอให้ศาลพิพากษาตามสัญญายอมความนี้ ถือว่าเป็นคนละลักษณะกับฟ้องเดิมคำขอบังคับก็ขัดกันเท่ากับขอเลิกฟ้องเดิมแล้วเอาใหม่ไม่ใช่เพิ่มเติมฟ้องกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติห้ามไว้ไม่ให้กระทำ ศาลชอบที่จะยกเสียตาม มาตรา 180โจทก์จะได้ไปฟ้องเป็นคดีใหม่
ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้โดยลงชื่อรับผิดไว้แก่เขาแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเขาย่อมฟ้องให้รับผิดตามสัญญาที่ตนลงลายมือชื่อไว้ได้ โดยไม่เป็นปัญหาว่าเขาได้ตั้งตัวแทนให้ทำสัญญากับจำเลยหรือไม่ ซึ่งต่อมาเขาได้รับรองสัญญานั้นแล้วด้วย
ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ถ้าศาลชั้นต้นไม่สั่งแต่มาในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นพิพากษาให้ แสดงว่าได้อนุญาตให้เพิ่มเติมคำฟ้องนี้ เรื่องได้ผ่านมาจนเช่นนี้และไม่มีฝ่ายใด ร้องฎีกาขึ้นมาจึงไม่สมควรที่ศาลฎีกาจะรื้อฟื้นแก้เป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์ขอดำเนินการทางสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะให้จำเลยรับผิดตามสัญญานั้น ไม่ติดใจที่จะเอาตามมูลคดีเดิมที่ฟ้องไว้ จำเลยไม่ได้ฎีกาเถียงสัญญานี้ว่าใช้ไม่ได้ด้วยประการใด เป็นแต่ว่าทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญานั้น ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าทนายโจทก์ทำได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญานั้นหรือไม่จึงพิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิม แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็มีผลตามกฎหมาย
ชายหญิงเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 ตลอดมาจนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 แล้ว แม้จะมิได้จทะเบียนสมรสก็นับว่าชายหญิงนั้นเป็นคู่สมรสกันตาม ก.ม.ฉะนั้นชายจึงไม่มีสิทธิจะทำการสมรสกับหญิงอื่นอีก เพราะตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1445(3) บัญญัติห้ามมิให้ชายหญิงทำการสมรสเมื่อยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ภริยาเดิมขอให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่ชายไปจดใหม่นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง
ชายหญิง เป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ตลอดมาจนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรส ก็นับว่า ชายหญิงนั้นเป็นคู่สมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้นชายจึงไม่มีสิทธิจะทำการสมรสกับหญิงอื่นอีก เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3)บัญญัติห้ามมิให้ชายหญิงทำการสมรส เมื่อยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ภริยาเดิมขอให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่ชายไปจดใหม่นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องฉ้อโกง/ยักยอกขัดแย้งในตัวเอง ขาดองค์ความผิด
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยเอาความเท็จ มาหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะเอารถยนต์ซึ่งจำเลยเอามามอบให้ผู้เสียหายไว้เป็นประกันกู้ไปบรรทุกผลไม้เจ้าทุกข์หลงเชื่อ จึงมอบรถให้ไปหรือเจ้าทุกข์มอบรถยนต์ให้จำเลยโดยจำเลยยืมเอาไปรับจ้างบรรทุกผลไม้แล้วจะส่งคืน แล้วจำเลยจึงเอาไปขายเสีย ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 304, 314 ดังนี้เป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำของจำเลยขัดกันอยู่ในตัวและขาดองค์ความผิดฐานฉ้อฏดงและยักยอกเป็นฟ้อง ไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแสวงหาประโยชน์จากการเป็นความขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าโจทก์จ่ายเงินให้จำเลยในการที่จำเลยจะหาทนายฟ้องนายหมะ เรื่องแย่งกรรมสิทธิที่ดิน 6 แปลง ถ้าแพ้คดีนายหมะ เงินที่โจทก์จ่ายไปเป็นพับ ถ้าคดีชนะจำเลยยอมมอบกรรมสิทธิที่ดิน 6 แปลงให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ต้องเลี้ยงดูจำเลยจนตลอดชีวิตร ดังนี้ เป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยตกลงให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ ซึ่งคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนในมูลคดีนั้น ๆ ย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น อันเป็นความกัน นับว่าเป็นการขัดแก่ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.ม.แพ่ง มาตรา 113
(อ้างฎีกา 510 / 2468)
of 12