พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งที่ดินต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากประมูลราคากันเองไม่ได้จึงขายทอดตลาด ยึดทรัพย์อื่นไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทด้วยการประมูลราคากันเอง หากตกลงประมูลราคากันเองไม่ได้ให้ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแล้วเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน การตกลงประมูลราคากันเองได้นั้น หมายความว่าโจทก์และจำเลยประมูลราคาที่ดินกันแล้วผู้ประมูลได้ ได้ปฏิบัติตามที่ประมูลได้นั้นจนเสร็จสิ้นหากผู้ประมูลได้ไม่ปฏิบัติตามที่ได้ประมูลได้นั้นจนเสร็จก็ต้องถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงประมูลราคากันเองไม่ได้ดังนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลได้ไม่นำเงินมาชำระตามที่ประมูลได้โจทก์จึงต้องบังคับคดีโดยการนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดแล้วเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วนต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินอื่นของจำเลยเพื่อบังคับคดีนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีอากรต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และมีอายุความตามที่บัญญัติ
การที่เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้รับมอบหมายให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรก็มิได้รับมอบหมายและไม่อาจรับมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรประเมินอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ได้แต่โต้แย้งการประเมินไว้ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อสงวนสิทธิในการเรียกร้องขอคืนอากร ตามมาตรา 10 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469เท่านั้น แต่ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติไว้ จึงไม่เป็นการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและที่ศาลภาษีอากรกลางรับวินิจฉัยเรื่องการเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ การเรียกเงินอากรขาเข้าที่เกินคืนตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำเข้า ปรากฏว่าระหว่างปี 2525 ถึง 2527 โจทก์นำเข้า 10 ครั้งครั้งสุดท้ายนำเข้าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2532 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินอากรขาเข้าอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความแล้วสิทธิเรียกร้องในเรื่องดอกเบี้ยอันเป็นส่วนอุปกรณ์ก็ย่อมขาดอายุความไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 190 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาลก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 311
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 เสียก่อน กล่าวคือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ เมื่อเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าวดังนั้น เมื่อบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ขอให้ออกหมายอายัด ศาลจึงไม่อนุญาตให้ออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดสืบพยานนอกสถานที่และการขาดนัดพิจารณา ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยนัดแรกจำเลยขอให้ศาลไปเผชิญสืบที่พิพาทและศาลก็ได้ไปเผชิญสืบในวันที่จำเลยขอ ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานและวันดังกล่าวเป็นวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(10) ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ร่วมไปเผชิญสืบที่พิพาทในวันดังกล่าวย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรา 197 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 จะไม่มาศาลในวันสืบพยานจำเลยนัดต่อมาก็ตามก็ไม่เป็นการขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์และการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาเห็นว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ขัดขั้นตอน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "สำเนาให้โจทก์โดยให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน ส่งศาลอุทธรณ์"เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอน โดยวินิจฉัยข้อหาที่ยุติแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่จำเลยช่วยจำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียซึ่งโคของผู้เสียหายอันเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรณีจะเป็นความผิดก็เข้าลักษณะฐานรับของโจร แม้จำเลยร่วมกับผู้อื่นยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ก็ไม่แสดงว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักโคของผู้เสียหายไป โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ ถือว่ายกฟ้องข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานลักทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์แต่มีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่จำเป็นต้องทำก่อนพิพากษา ศาลมีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอนที่เหมาะสม
การนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายอย่างหนึ่งที่ให้ศาลทำการไต่สวนตัวลูกหนี้เพื่อทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทำให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข เป็นคนละกรณีกับการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงไม่จำต้องกระทำก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกลงมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสามล้มละลายแล้วการพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนลูกหนี้ทั้งสามโดยเปิดเผยก่อนแล้วนัดฟังคำพิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสามล้มละลายภายหลัง แต่ต่อมาเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้นัดฟังคำพิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสามล้มละลายก่อน และนัดไต่สวนลูกหนี้ทั้งสามโดยเปิดเผยในภายหลัง ไม่เป็นการข้ามขั้นตอน และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6422/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการวางเงินต่อศาล แม้ผิดขั้นตอน ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้คืนเงินการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอวางเงินแทนแม้จะเป็นการเลือกขอชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยผิดขั้นตอน ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว ไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยาน: สิทธิในการเบิกความขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามขั้นตอน
จำเลยต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก จึงจะมีสิทธิเข้าเบิกความ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและการเพิกถอนมติ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนไม่ทำให้มติเป็นโมฆะ
คำว่า "กรรมการ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1172 วรรคแรก หมายถึง คณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน เมื่อกรรมการคนใดเห็นควรจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นก็ชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนและมติของกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ เมื่อผู้คัดค้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าวการนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่และการลงมติที่ได้เกิดขึ้นจริงไม่เป็นการประชุมใหญ่และการลงมติตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงต้องร้องขอภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันลงมติ