คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข่มขืนใจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจและบุกรุก: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการกระทำและเจตนาของผู้กระทำ
ความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่นเมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงบรรยายมาว่า จำเลยคนใดทำให้โจทก์กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อเสรีภาพของโจทก์อย่างไรบ้าง ศาลย่อมสั่งยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำบุกรุกอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 83 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ร่วมกระทำบุกรุกกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1 อย่างไรศาลย่อมสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหานี้ไปเสียได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจด้วยอาวุธ ทำให้ผู้อื่นจำยอมมอบทรัพย์สิน ความผิดมาตรา 309 อาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำคุก 1 ปี กับให้คืนและใช้ราคาทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทลงโทษเป็นผิดตามมาตรา 309 จำคุก 1 ปี ข้อคืนหรือใช้ราคายก เช่นนี้ เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
การที่จำเลยขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายพูดขู่และล้วงเอาลูกระเบิดออกมาทำท่าจะขว้างก่อนที่จะหยิบเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่บนบ้านนั้นไป ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย เป็นความผิดตามมาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ การขู่เข็ญจัดเป็นส่วนหนึ่งในความผิดฐานชิงทรัพย์ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ ก็ลงโทษตามมาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายอาญาฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเอาทรัพย์ - เจตนาทุจริต - ความผิดฐานชิงทรัพย์ vs. ทำให้เสรีภาพถูกข่มขืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำคุก 1 ปี กับให้คืนและใช้ราคาทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทลงโทษเป็นผิดตามมาตรา 309 จำคุก 1 ปี ข้อคืนหรือใช้ราคายกเช่นนี้เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
การที่จำเลยขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายพูดขู่และล้วงเอาลูกระเบิดออกมาทำท่าจะขว้างก่อนที่จะหยิบเอาทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่บนบ้านนั้นไป ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายเป็นความผิดตามมาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ การขู่เข็ญจัดเป็นส่วนหนึ่งในความผิดฐานชิงทรัพย์ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ ก็ลงโทษตามมาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายอาญาฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222-223/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกจับกุม การฟ้องซ้ำ และการพิจารณารวมสำนวน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน(ตำรวจ) ไปจับผู้เสียหายทั้งสอง (ในข้อหาว่า ขายสลากกินรวบ) และยึดเอาเงินในตัวผู้เสียหายทั้งสอง โดยปราศจากหลักฐานหรือเหตุผลที่ควรจะจับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และได้จูงใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินที่จำเลยยึดไว้แก่จำเลย แล้วจำเลยปล่อยผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และการที่จำเลยจับผู้เสียหายแต่ละสำนวนมาคนละที(โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น 2 สำนวน)ในเวลาห่างกัน สถานที่ที่จับก็เป็นคนละแห่ง ข้อหาที่จับแม้จะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็มิได้เกี่ยวเนื่องเป็นกรณีเดียวกัน จะฟังว่าคดีที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้ง 2 สำนวนเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีทั้ง 2 สำนวน ศาลพิจารณารวมกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยไปจับผู้เสียหายทั้งสองแล้วนำไปส่งสถานีตำรวจ แล้วเรียกให้ผู้เสียหายยอมให้เงินในเวลาที่พาไป ศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองจริงตามฟ้อง จึงไม่มีข้อเท็จจริงอะไรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฉะนั้น เมื่อ(ศาลชั้นต้นยกฟ้องสำนวนหลังสำนวนเดียวเห็นว่าเป็นฟ้องซ้อน) ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และจำเลยกระทำผิดจริง ก็ชอบเพียงแต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามลำดับศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222-223/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเรียกรับเงินจากผู้ถูกจับ แม้จับต่างวาระและสถานที่ ก็ถือเป็นความผิดเดียวกันได้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน(ตำรวจ) ไปจับผู้เสียหายทั้งสอง (ในข้อหาว่า ขายสลากกินรวบ) และยึดเอาเงินในตัวผู้เสียหายทั้งสอง โดยปราศจากหลักฐานหรือเหตุผลที่ควรจะจับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และได้จูงใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินที่จำเลยยึดไว้แก่จำเลย แล้วจำเลยปล่อยผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และการที่จำเลยจับผู้เสียหายแต่ละสำนวนมาคนละที(โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น 2 สำนวน) ในเวลาห่างกันสถานที่ที่จับก็เป็นคนละแห่ง ข้อหาที่จับแม้จะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็มิได้เกี่ยวเนื่องเป็นกรณีเดียวกันจะฟังว่าคดีที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้ง 2 สำนวนเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีทั้ง 2 สำนวนศาลพิจารณารวมกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยไปจับผู้เสียหายทั้งสองแล้วนำไปส่งสถานีตำรวจ แล้วเรียกให้ผู้เสียหายยอมให้เงินในเวลาที่พาไป ศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองจริงตามฟ้อง จึงไม่มีข้อเท็จจริงอะไรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฉะนั้นเมื่อ(ศาลชั้นต้นยกฟ้องสำนวนหลังสำนวนเดียวเห็นว่าเป็นฟ้องซ้อน)
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และจำเลยกระทำผิดจริงก็ชอบเพียงแต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้นเพื่อให้เป็นไปตามลำดับศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเรียกทรัพย์ - การกระทำเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 337 ประมวลกฎหมายอาญา
ศาลเชื่อว่า จำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมง ๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
โจทก์ไม่ทราบว่ามีเอกสาร ล.1ที่จำเลยอ้างเมื่อจำเลยนำมาแสดงชั้นพิจารณา โจทก์เห็นว่าน่าจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ย่อมมีสิทธิขออนุญาตศาลส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ได้ตามมาตรา 125 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยอ้างสำนวนความของศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อแสดงว่าจำเลยมีฐานที่อยู่ เพราะจำเลยปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้น การที่ศาลจับพิรุธที่ปรากฏได้ในบางสำนวนแล้วไม่เชื่อว่าเป็นความจริงว่าจำเลยได้อยู่ปฏิบัติงานในวันนั้น ๆ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะชั่งน้ำหนักคำพยาน หาใช่ทำการพิสูจน์โต้แย้งแทนโจทก์ไม่
จำเลยนำเอกสารมาซักค้านพยานโจทก์ก่อนเวลาที่จำเลยอ้างและนำสืบ เพื่อสะดวกแก่การจด ศาลให้จำเลยส่งเอกสารนั้นทั้งหมดโดยศาลจดรายงานไม่ให้โจทก์คัดจนกว่าจำเลยจะอ้าง ก็เห็นได้ชัดว่าไม่เสียความยุติธรรมแต่อย่างใด
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีกจนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลยเพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ของโจทก์ร่วม เป็นความผิดตามมาตรา 337.
(ปัญหาสุดท้ายพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วยกฎหมาย และการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ฟ้องหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136 ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่เกิดเหตุ พนักงานสอบสวนกำลังกินอาหารอยู่กับภรรยาที่บ้านพัก ไม่ใช่เวลาปฏิบัติราชการตามหน้าที่จำเลยไปพูดขอประกันผู้ต้องหาเป็นการส่วนตัว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136
เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ยอมสั่งอนุญาตให้จำเลยประกันตัวผู้ต้องหาเพราะผิดระเบียบ จำเลยพูดขู่เข็ญว่าถ้าไม่สั่งให้ประกัน จำเลยจะจัดการให้พนักงานสอบสวนถูกย้ายไปที่อื่น เช่นที่เคยกระทำได้ผลมาแล้วแก่ผู้บังคับกอบคนหนึ่ง แต่โดยที่เรื่องย้ายไม่แน่ ถ้าไม่ให้ประกันจะต้องเอาพนักงานสอบสวนลงหลุมฝังศพเสีย เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจ ขู่เข็ญ เจ้าพนักงานให้ถึงแก่ชีวิตด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายของถ้อยคำ เพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการสั่งประกันเสียเอง อันมิชอบด้วยหน้าที่ การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 139.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการขู่เข็ญถึงชีวิต
ฟ้องหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา136 ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่เกิดเหตุพนักงานสอบสวนกำลังกินอาหารอยู่กับภรรยาที่บ้านพักไม่ใช่เวลาปฏิบัติราชการตามหน้าที่จำเลยพูดขอประกันผู้ต้องหาเป็นการส่วนตัว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยดูหมิ่นเจ้าพนักงาน เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ยอมสั่งอนุญาตให้จำเลยประกันตัวผู้ต้องหาเพราะผิดระเบียบ จำเลยพูดขู่เข็ญว่าถ้าไม่สั่งให้ประกันจำเลยจะจัดการให้พนักงานสอบสวนถูกย้ายไปที่อื่น เช่นที่เคยกระทำได้ผลมาแล้วแก่ผู้บังคับกองคนหนึ่ง แต่โดยที่เรื่องย้ายไม่แน่ถ้าไม่ให้ประกันจะต้องเอาพนักงานสอบสวนลงหลุมฝังศพเสีย เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจ ขู่เข็ญ เจ้าพนักงานให้ถึงแก่ชีวิตด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายของถ้อยคำเพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการสั่งประกันเสียเอง อันมิชอบด้วยหน้าที่การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดของเจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเอาทรัพย์สินจากประชาชน
จำเลยเป็นตำรวจประจำอยู่ในกรุงเทพ ฯ พากันไปแกล้งจับผู้เสียหายที่จังหวัดนครนายก หาว่าเล่นสลากกินรวบ ขอค้นบ้าน แล้วงัดลิ้นชักโต๊ะหยิบเอาเงินและปืนไปเพื่อประโยชน์แก่ตนดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14+ แล้ว แม้จำเลยจะหยิบเอาเงินและปืนนั้นไปเองก็ดี แต่เมื่อเป็นเพราะเหตุที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ผู้เสียหายจึงไม่กล้าแย่งคืน หรือเพราะผู้เสียหายอาจจะเข้าใจว่าจำเลยเอาไปเป็นวัตถุพยาน ดังนั้น จึงถือได้ว่า ผู้เสียหายได้มอบให้แก่จำเลยตามความหมายของมาตรานี้แล้ว และเมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงมาตรา 157 อันเป็นบทลงโทษทั่วไปซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่าอีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506 เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 148)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำรวจใช้อำนาจในตำแหน่งข่มขืนใจเอาทรัพย์สินจากประชาชน โดยอ้างการจับกุมแต่ไม่เป็นความจริง
จำเลยเป็นตำรวจประจำอยู่ในกรุงเทพฯ พากันไปแกล้งจับผู้เสียหายที่จังหวัดนครนายก หาว่าเล่นสลากกินรวบขอค้นบ้าน แล้วงัดลิ้นชักโต๊ะหยิบเอาเงินและปืนไปเพื่อประโยชน์แก่ตน ดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แล้ว แม้จำเลยจะหยิบเอาเงินและปืนนั้นไปเองก็ดี แต่เมื่อเป็นเพราะเหตุที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้เสียหายจึงไม่กล้าแย่งคืน หรือเพราะผู้เสียหายอาจจะเข้าใจว่าจำเลยเอาไปเป็นวัตถุพยาน ดังนั้น จึงถือได้ว่าผู้เสียหายได้มอบให้แก่จำเลยตามความหมายของมาตรานี้แล้ว และเมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงมาตรา 157 อันเป็นบทลงโทษทั่วไปซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่าอีก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506 เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 148)
of 14