คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการโดยผู้มีอำนาจชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นรองปลัดกระทรวงได้รับมอบอำนาจจากปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาในกองแบบแผนที่โจทก์สังกัดอยู่เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ดังนั้นการที่จำเลยสั่งลงโทษโจทก์ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ กรณีทุจริตการเบิกจ่ายเงิน การปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ
ในการจัดทำฎีกาเบิกเงิน จ่าสิบตำรวจ พ. มีหน้าที่รวบรวมใบสำคัญของผู้เบิกและใบแจ้งหนี้ของเจ้าหนี้ให้นายดาบตำรวจ ส.จำเลยที่ 2 และพันตำรวจตรี ว. สมุห์บัญชีกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดตรวจพิจารณาเพื่ออนุมัติจัดทำฎีกา เมื่อทำฎีกาและ หน้างบใบสำคัญขึ้นมาแล้วต้องเสนอให้พันตำรวจตรี ว. ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และต้องส่งหลักฐานการเบิกไปยังคลังจังหวัดพร้อมกับ การวางฎีกา เงินตามฎีกาทุกฉบับที่จ่าสิบตำรวจพ. ยักยอกไปโดย ทุจริตเมื่อรับจากคลังจังหวัดแล้วได้มีการนำมาลงบัญชีรับจ่ายของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดครบถ้วนทุกฎีกา พันตำรวจตรี ว.เป็นผู้เก็บรักษาเงินทั้งหมดไว้เพื่อรอจ่ายแก่ผู้ขอเบิกและเจ้าหนี้แต่พันตำรวจตรีว. ไม่ทำการจ่ายเงินนั้นด้วยตนเองกลับมอบหมายให้จ่าสิบตำรวจ พ. ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการจ่ายเงินดังกล่าวตามคำสั่งของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนำเงินไปจ่ายแก่ผู้ขอเบิก และเจ้าหนี้แทน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตเกี่ยวกับการ เงินรายนี้เป็นเพราะพันตำรวจตรี ว. ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจ่าสิบตำรวจพ.มอบเงินให้จ่าสิบตำรวจพ. นำไปจ่ายโดยไม่มีหน้าที่และไม่กำกับดูแลใกล้ชิด จึงเป็นช่องทางให้จ่าสิบตำรวจ พ. เบียดบังเอาเงินไปเป็นประโยชน์ของตนได้โดยง่าย ทั้งตามคำสั่งกองกำกับการดังกล่าวก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องเรียกและรวบรวมหลักฐานใบสำคัญประกอบฎีกาที่เบิกเงินแล้วส่งไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินภายใต้การตรวจตราสอดส่องควบคุมของพันตำรวจตรี ว.โดยตรงไม่ปรากฏว่าขณะที่พันตำรวจโทส.จำเลยที่ 1 ลงนามในฎีกาเบิกเงินมีใบสำคัญครบถ้วนหรือไม่ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยให้จ่าสิบตำรวจ พ. เอาเงินไปเป็นประโยชน์ของตน การที่จำเลยที่ 1ลงนามในฎีกาเบิกเงินดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นผลโดยตรงเป็นเหตุให้กรมตำรวจโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรับรู้ของผู้แทนกรมทางหลวง vs. ข้าราชการในสังกัด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยฟังว่าพนักงานของโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้องเกิน 1 ปีการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องผิดต่อกฎหมายเนื่องจากโจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ ตามประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 32 วรรคสอง อธิบดีจึงเป็นผู้แทนของกรมแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ ไม่จำต้อง ถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ผิดต่อกฎหมาย และมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การรับรองเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นความเท็จ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีมีหน้าที่ทำเอกสารรับเอกสาร รับรองเอกสารแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน เมื่อได้รับอนุมัติให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านแล้วจึงลงนามรับรองเป็นหลักฐานในเอกสารแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านของจำเลยเองว่า ตรวจสอบถูกต้องแล้ว ขอจ่ายถูกตามระเบียบเห็นควรอนุมัติ การที่จำเลยรับรองตามที่ขออนุมัติและได้รับอนุมัติแล้วเช่นนี้ จะถือว่าเป็นการรับรองข้อความอันเป็นเท็จที่เอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงมิได้ ส่วนการที่ผู้อนุมัติได้อนุมัติไปแล้วนั้นจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องของการแปลความในกฎหมาย การแปลความไปในทางใดนั้นจะถือว่าเท็จมิได้อีกเช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับทะเบียนบ้านว่าจำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน เป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้นเมื่อพยานหลักฐานอันเป็นข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นขัดแย้งกับคำพยานบุคคลที่รู้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เช่นนี้จะนำข้อสันนิษฐานในทางที่เป็นผลร้ายมาฟังเป็นความจริงไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีบ้านของตนเองและได้เช่าบ้านนาง ส. อยู่จริง การที่จำเลยมีบ้านของบิดาอยู่แต่ไม่อยู่บ้านของบิดา กลับไปเช่าบ้านอยู่ จำเลยจะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483 หรือไม่นั้น เป็นการแปลความตามกฎหมายดังกล่าว การแปลความไม่ตรงกันนั้นจะถือว่าเป็นการหลอกลวงไม่ได้ ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่ากรณีดังกล่าวได้มีระเบียบแบบแผนของทางราชการกำหนดไว้เป็นแน่นอนว่า จำเลยไม่มีสิทธิจะขอเบิกค่าเช่าบ้านได้ และจำเลยได้ทราบถึงระเบียบนั้นแล้ว การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งของข้าราชการและผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตยักยอกเงินของลูกน้อง, อายุความ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเคลือบคลุมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 จะได้ฎีกาโดยกล่าวรายละเอียดมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าพันตำรวจตรีพ.ยักยอกเงินไปในระหว่างวันใดถึงวันใดและกล่าวถึงยอดเงินที่ ยักยอกไปว่ารวมทั้งหมดเท่าใด ทั้งยังส่งรายละเอียดเงินขาดบัญชี ระบุประเภทของเงินที่ขาดบัญชีว่าพันตำรวจตรีพ. รับเงินดังกล่าวไปเมื่อใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด แนบมาท้ายฟ้องตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอเข้าใจได้แล้วไม่จำต้องแสดงหลักฐานการรับเงินแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องแต่อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีรายละเอียดว่าไม่สมบูรณ์อย่างไรแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยได้
เมื่อไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้ว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะต้องมีตราประจำตัวอธิบดีกรมตำรวจประทับไว้ด้วยแม้ใบมอบอำนาจจะ ลงชื่ออธิบดีกรมตำรวจโดยไม่มีตราประทับก็เป็นใบมอบอำนาจที่มีผลใช้บังคับได้
คดีนี้โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 แม้ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะไม่ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ใบมอบอำนาจดังกล่าวก็เป็นใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพันตำรวจตรีพ.มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชามิให้ บกพร่องหรือเกิดการทุจริตขึ้นหากจำเลยที่ 1 ตรวจสอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอจำเลยที่ 1 ก็น่าจะทราบว่าพันตำรวจตรีพ. มิได้จัดทำบัญชีตามระเบียบของทางราชการเลขภายในเวลาไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่งในกองบัญชาการศึกษาจำเลยที่ 1เข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการศึกษาในปี 2517 และเหตุทุจริตเกิดขึ้นในปี 2519 หลังจากจำเลยที่ 1 เข้ามารับงานถึง 2 ปีแสดงว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบของพันตำรวจตรีพ.มิได้ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ จึงไม่พบข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีพ. ถือโอกาสนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของพันตำรวจตรีพ. จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายหน้าที่การงานให้รับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับการเงินที่พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เมื่อไม่ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ.ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็ต้องรับผิดร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ด้วย
เมื่อมีการทราบเรื่องว่าพันตำรวจตรีพ. ยักยอกเงินในปี 2520แต่ไม่ทราบว่ามีผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งร่วมกับพันตำรวจตรีพ.หรือไม่ จึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งเมื่อปี 2522 คณะกรรมการดำเนินการเสร็จแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด และเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ผลที่สุดผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ฟ้องจำเลยทั้งสาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2524 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดกับพันตำรวจตรีพ. ใช้เงินให้โจทก์ในวันดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25 มิถุนายน 2525 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อความเสียหายจากทุจริตของลูกน้อง และอายุความฟ้องคดีแพ่ง
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเคลือบคลุมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 จะได้ฎีกาโดยกล่าวรายละเอียดมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าพันตำรวจตรีพ.ยักยอกเงินไปในระหว่างวันใดถึงวันใดและกล่าวถึงยอดเงินที่ยักยอกไปว่ารวมทั้งหมดเท่าใด ทั้งยังส่งรายละเอียดเงินขาดบัญชี ระบุประเภทของเงินที่ขาดบัญชีว่าพันตำรวจตรีพ. รับเงินดังกล่าวไปเมื่อใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด แนบมาท้ายฟ้องตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอเข้าใจได้แล้วไม่จำต้องแสดงหลักฐานการรับเงินแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องแต่อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีรายละเอียดว่าไม่สมบูรณ์อย่างไรแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยได้ เมื่อไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้ว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะต้องมีตราประจำตัวอธิบดีกรมตำรวจประทับไว้ด้วยแม้ใบมอบอำนาจจะลงชื่ออธิบดีกรมตำรวจโดยไม่มีตราประทับก็เป็นใบมอบอำนาจที่มีผลใช้บังคับได้ คดีนี้โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 แม้ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะไม่ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ใบมอบอำนาจดังกล่าวก็เป็นใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพันตำรวจตรีพ.มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชามิให้บกพร่องหรือเกิดการทุจริตขึ้นหากจำเลยที่ 1 ตรวจสอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอจำเลยที่ 1 ก็น่าจะทราบว่าพันตำรวจตรีพ. มิได้จัดทำบัญชีตามระเบียบของทางราชการเลขภายในเวลาไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่งในกองบัญชาการศึกษาจำเลยที่ 1เข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการศึกษาในปี 2517 และเหตุทุจริตเกิดขึ้นในปี 2519 หลังจากจำเลยที่ 1 เข้ามารับงานถึง 2 ปีแสดงว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบของพันตำรวจตรีพ.มิได้ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ จึงไม่พบข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีพ. ถือโอกาสนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของพันตำรวจตรีพ. จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายหน้าที่การงานให้รับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับการเงินที่พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เมื่อไม่ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ.ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็ต้องรับผิดร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ด้วย เมื่อมีการทราบเรื่องว่าพันตำรวจตรีพ. ยักยอกเงินในปี 2520แต่ไม่ทราบว่ามีผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งร่วมกับพันตำรวจตรีพ.หรือไม่ จึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งเมื่อปี 2522 คณะกรรมการดำเนินการเสร็จแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด และเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ผลที่สุดผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ฟ้องจำเลยทั้งสาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2524 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดกับพันตำรวจตรีพ. ใช้เงินให้โจทก์ในวันดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25 มิถุนายน 2525 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายเดิมตามบทเฉพาะกาล แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับ
การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และกฎ ก.พ. ฉบับที่ 60(พ.ศ. 2497) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1ทำการสอบสวนโจทก์ผู้ถูกกล่าวหา มิได้กำหนดให้คณะกรรมการต้องสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพียงแต่แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนการที่จะสอบพยานเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการที่จะงดสอบสวนพยานเมื่อจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็นหรือมิใช่ประเด็นสำคัญ การดำเนินการสอบสวนของจำเลยที่ 1ที่มิได้สรุปพยานหลักฐานแจ้งให้โจทก์ทราบและมิได้สอบพยานเพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยชอบ และจำเลยที่ 2 ก็ได้พิจารณาออกคำสั่งไปตามสำนวนการสอบสวนดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.แจ้งความเท็จเพื่อป้องกันความเสียหายของหน่วยงาน ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท หากมีเหตุเชื่อได้ว่าผู้เสียหายเรียกรับเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการประจำสำนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียผู้หนึ่ง จึงชอบที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของตนได้ การที่จำเลยแจ้งเรื่องที่ทราบมาว่าผู้เสียหายเรียกร้องเอาเงินจากผู้มาติดต่อราชการให้ ศ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งของตนและผู้เสียหายทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปนั้น เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยสุจริตเพื่อความ ชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเรื่องเพื่อสอบสวนการเรียกร้องเงินโดยมิชอบของข้าราชการ ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องส่วนได้เสีย
จำเลยและผู้เสียหายต่างทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดินแห่งเดียวกันการที่มีผู้ไปติดต่อขอรับมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินดังกล่าวโดยได้ไปติดต่อกับผู้เสียหายก่อนแล้วจึงไปสอบถามจำเลยในลักษณะที่มีมูลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายได้เรียกเอาเงินจากผู้ไปติดต่อ อันเป็นการมิชอบ จำเลยจึงแจ้งเรื่องให้ ศ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งของตนและของผู้เสียหายทราบเพื่อจะได้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปนั้น เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ 8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้
of 28