พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท หากส่งมอบไม่ได้ให้ชำระราคา120,000 บาท นั้น เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกร้องทรัพย์สินมาเป็นของโจทก์ หรือให้ชดใช้ราคาแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้อง-ทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท หากส่งมอบไม่ได้ให้ชำระราคา 120,000 บาท นั้น เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกร้องทรัพย์สินมาเป็นของโจทก์ หรือให้ชดใช้ราคาแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์: ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยที่ 4เพียงประการเดียว ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังและจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหานี้จึงจะถึงที่สุด แต่ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นอย่างอื่นคดีก็ไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 4 อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 245 วรรคสอง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน อนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุลักษณะคดี จึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีเถียงกรรมสิทธิ์ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีเถียงกรรมสิทธิ์ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้สั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้จำเลยรื้อถอนหลักไม้แก่นที่ปักไว้ในที่ดินของโจทก์ออกไป ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการเถียงกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลชั้นต้นลดโทษจำเลย และการพิจารณาคดีนอกเหนือจากการอุทธรณ์
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่
ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และ 52 (2) คงให้จำคุกจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และ 52 (2) คงให้จำคุกจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดที่อ้างแต่การครอบครองปรปักษ์โดยไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งปลูกสร้างในคดี ไม่มีประโยชน์ จึงไม่ต้องรับ
คำร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบางส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงร้องขอเข้ามาเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ์ของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) จึงเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง ทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท แต่คำร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง ทั้งไม่มีคำขอบังคับมาด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีและคำร้องขอพิจารณาใหม่: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนและพิพากษาคดีได้
จำเลยขาดนัดพิจารณา ระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว จำเลยมาศาลและยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาใหม่อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง จำเลยไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนอีก ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยไม่มีพยานให้ไต่สวนให้งดการไต่สวนโดยเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรแล้วพิพากษาไปกรณีเช่นนี้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้อีก เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม (3)และมาตรา 207(3) ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้น มิใช่มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องมีส่วนได้เสียในคดีนี้ ศาลฎีกาพิพากษายืนคำสั่งไม่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นจำเลยร่วม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 เป็นการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งต้องปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีจึงจะมีสิทธิเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน ให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันเป็นการให้รับผิดตามบุคคลสิทธิปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2ให้การเกี่ยวกับผู้ร้องแต่เพียงว่า แต่เดิมจำเลยที่ 1 ติดต่อขอกู้เงินผู้ร้อง แต่ผู้ร้องไม่ให้กู้จำเลยที่ 1 จึงหลอกลวงผู้ร้องว่าจะกู้เงินโจทก์ ขอให้ผู้ร้องติดต่อจำเลยที่ 2 ให้ออกหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ โดยนำเงินฝากประจำของผู้ร้องเป็นหลักประกันแทน ไม่มีข้อความใดในคำฟ้องหรือคำให้การของจำเลยที่ 2ที่พาดพิงว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมกับบุคคลใดต่อบุคคลใด หรือแทนบุคคลใดทั้งในปัจจุบันและอนาคต หากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2ร่วมกับหรือแทนจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ คำพิพากษาก็หามีผลผูกพันไปถึงผู้ร้องหรือว่าผู้ร้องจะต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2โดยถูกยึดเงินฝากประจำที่นำมาเป็นหลักประกันแต่อย่างใดไม่จำเลยที่ 2 จะมีสิทธิยึดเงินฝากประจำของผู้ร้องหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 จะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้ร้องต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งผลแห่งคำพิพากษาหรือข้อเท็จจริงที่ศาลฟังในคดีนี้ย่อมจะไม่ผูกพันผู้ร้อง ฉะนั้น ผู้ร้องย่อมจะมีสิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ในคดีนั้น ไม่มีเหตุผลหรือความเป็นธรรมอย่างไรที่ผู้ร้องจะต้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การเปลี่ยนตัวโจทก์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับมรดก ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ.โดยโจทก์คดีนี้เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านในคดีก่อนกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลยโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)