พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซึ่งมีตราสารกับการจำนำ: ข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ป.พ.พ. เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสาร จึงไม่ถือเป็นการจำนำเพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้การพนันเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้ แม้มีหนังสือรับสภาพหนี้
หนี้การพนันหรือขันต่อซึ่งหาก่อให้เกิดหนี้ที่จะมีผลบังคับต่อกันไม่ เช็คที่ออกให้แก่กันอันเกี่ยวกับการนั้นจึงไม่สมบูรณ์ แม้จะทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อกันด้วยก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองที่ถูกยึดในคดีล้มละลาย จำกัดเฉพาะจำนวนเงินจำนองและดอกเบี้ย
ผู้ร้องรับจำนองที่ดิน 2 แปลง โฉนดเลขที่ 47398 และ 26695 จากจ. เพื่อประกันหนี้เงินกู้ของ จ. เพียงรายเดียวโดยระบุจำนวนเงินจำนองสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 47398 เป็นเงิน 600,000 บาท และโฉนดเลขที่ 26695 เป็นเงิน 1,900,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 26695 เพียงแปลงเดียวเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอรับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดเลขที่ 26695 เพียงเท่าจำนวนเงินจำนองของที่ดินดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามส่วนเฉลี่ยของจำนวนเงินจำนองของที่ดินแปลงดังกล่าว แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับจำนองที่ดินทั้งสองแปลงแล้วและอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถบังคับชำระหนี้จากที่ดินทั้งสองแปลงที่รับจำนองไว้ก็ตาม แต่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ก็มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะขอใช้สิทธิจำนองบังคับเอาจากทรัพย์จำนองเกินกว่าจำนวนเงินจำนองอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้อื่นที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองส่วนที่อยู่นอกเหนือจากความรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ได้ฟ้องบังคับจำนองจนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว และยื่นคำร้องคดีนี้ขอรับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์จำนองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การยื่นคำร้องตามจำนวนทุนทรัพย์แต่เสียเพียงค่าคำร้อง 20 บาท แม้ผู้ร้องมิได้ฎีกา ก็สมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้คัดค้านการถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย เมื่อมีเหตุเชื่อว่าทรัพย์สินเป็นของลูกหนี้หรือมีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
บ.เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ ต่อมารถยนต์คันพิพาทถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง ป.เป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ได้ร้องขัดทรัพย์ ในการประชุมเจ้าหนี้คดีล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีเสียงข้างมากคัดค้านการขอถอนการยึดรถยนต์คันพิพาท เมื่อปรากฏว่า ขณะที่ทำการยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ภายในบ้านของ ป.แม้ ม.อดีตภริยาของ ป.ซึ่งพักอาศัยอยู่ภายในบ้านดังกล่าวในขณะนั้นอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท รถยนต์คันพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป. แต่ ม.ก็มิได้แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทต่อเจ้าพนักงานผู้ไปทำการยึด พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมีเหตุให้จำเลยที่ 2 เชื่อว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นของ ป. หรือ ป.มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่กับ ม.ด้วย จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะใช้สิทธิคัดค้านการขอให้ถอนการยึดรถยนต์คันพิพาทได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปเพียงเพื่อต้องการจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิคัดค้านโดยไม่สุจริตจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิคัดค้านการถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย หากมีเหตุผลเชื่อได้ว่าทรัพย์สินเป็นของลูกหนี้ ไม่ถือเป็นการละเมิด
บ.เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ ต่อมารถยนต์คันพิพาทถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง ป.เป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ได้ร้องขัดทรัพย์ ในการประชุมเจ้าหนี้คดีล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีเสียงข้างมากคัดค้านการขอถอนการยึดรถยนต์คันพิพาท เมื่อปรากฏว่า ขณะที่ทำการยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ภายในบ้านของ ป. แม้ ม.อดีตภริยาของ ป. ซึ่งพักอาศัยอยู่ภายในบ้านดังกล่าวในขณะนั้นอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท รถยนต์คันพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป. แต่ ม. ก็มิได้แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทต่อเจ้าพนักงานผู้ไปทำการยึด พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมีเหตุให้จำเลยที่ 2 เชื่อว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นของป. หรือ ป. มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่กับม.ด้วย จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะใช้สิทธิคัดค้านการขอให้ถอนการยึดรถยนต์คันพิพาทได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปเพียงเพื่อต้องการจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิคัดค้านโดยไม่สุจริตจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจศาลตั้งแต่แรกฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขตไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะยื่นคำฟ้องหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ในขณะโจทก์ยื่นคำฟ้องหรือในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนฟ้องมาแต่แรก จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ทราบภูมิลำเนาของจำเลยมาก่อน มิใช่ไม่อาจทราบภูมิลำเนาของจำเลยภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว หรือจำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปภายหลังโดยโจทก์ไม่อาจทราบที่อยู่ใหม่ ดังนั้นจึงไม่อาจใช้วิธีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบด้วยวิธีอื่นหรือโดยการประกาศหนังสือพิมพ์แทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ได้ แต่ชอบที่จะไม่รับฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้ในคดีล้มละลาย: หนี้ที่ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ปัญหาว่ามูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกา เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เกินไปโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกินจึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีขาดอายุความ เจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด จำเลยมีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตาม มาตรา 22
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน